backup og meta

วัคซีนบาดทะยัก ผู้ใหญ่ กี่เข็ม และเมื่อไหร่ถึงควรฉีด

วัคซีนบาดทะยัก ผู้ใหญ่ กี่เข็ม และเมื่อไหร่ถึงควรฉีด

เมื่อเกิดแผลบนร่างกายจนเลือดออก หลายคนจะนึกถึง โรคบาดทะยัก โดยเฉพาะตอนที่ถูกของมีคมซึ่งขึ้นสนิมบาดร่างกาย จริง ๆ แล้วโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ป้องกันได้หรือไม่ วัคซีนบาดทะยัก เมื่อฉีดให้ผู้ใหญ่ ต้องฉีดวัคซีนกี่เข็ม 

[embed-health-tool-bmi]

โรคบาดทะยัก คืออะไร

โรคบาดทะยัก (Tetanus) จัดว่าเป็นโรคติดเชื้อที่อยู่ในกลุ่มของโรคทางประสาทและกล้ามเนื้อ สาเหตุของโรคบาดทะยัก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า Clostidium tetani ซึ่งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะผลิต Exotoxin มีพิษต่อเส้นประสาทซึ่งควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ เกิดเป็นอาการหดเกร็งตัวอยู่ตลอดเวลา อาการเริ่มแรกของโรคบาดทะยัก กล้ามเนื้อขากรรไกรจะเกร็ง จนอ้าปากไม่ได้ โรคบาดทะยัก จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า โรคขากรรไกรแข็ง (Lockjaw) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคอแข็ง หลังแข็ง จากนั้นจะเกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วทั้งตัว และเสี่ยงต่ออาการชัก

เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ในรูปแบบของสปอร์ พบได้ในดินตามพื้นหญ้า ในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยมูลสัตว์ และพบได้ในลำไส้ของคนและสัตว์ โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล แบ่งตัวและขับ Exotoxin ออกมา โดยเฉพาะในแผลลึกที่เชื้อจะเจริญแบ่งตัวได้ดี  เช่น 

  • บาดแผลจากตะปูตำ 
  • แผลไฟไหม้ 
  • แผลจากน้ำร้อนลวก 
  • เกิดผิวหนังถลอกเป็นบริเวณกว้าง 
  • เกิดบาดแผลในปาก ฟันผุ 
  • เชื้อแบคทีเรียเข้าทางหูที่อักเสบ จากการใช้เศษไม้หรือต้นหญ้าที่มีเชื้อ มาแคะฟันหรือแยงในใบหู

อาการของโรคบาดทะยัก

  1. ระยะจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีอาการขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ มีอาการคอแข็ง 
  2. หลังจากอาการแรก 1-2 วัน จะเริ่มมีอาการเกร็งแข็งในส่วนอื่น เช่น หลัง แขน ขา ลักษณะอาการจะทำให้การยืนและเดินผิดปกติ หลังแข็ง แขนเหยียดเกร็ง ก้มหลังลงไม่ได้ และใบหน้าจะมีลักษณะเฉพาะคล้ายยิ้มแสยะ 
  3. ระยะต่อไปอาจเกิดการกระตุก หากเกิดเสียงดังหรือสัมผัสร่างกายของผู้ติดเชื้อ ตัวจะเกร็ง อาการกระตุกจะหนักขึ้น ลักษณะหลังแอ่น ใบหน้าจะออกสีเขียว 
  4. เมื่อเกิดอาการรุนแรงมาก ผู้ป่วยจะหายใจลำบากถึงขั้นเสียชีวิตได้

การดูแลร่างกายเมื่อเกิดแผล

  1. ทำความสะอาดแผลทันที ด้วยการฟอกด้วยสบู่ ล้างด้วยน้ำสะอาด เช็ดด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70% หรือทิงเจอร์ใส่แผลสด พร้อมทั้งให้ยารักษาการติดเชื้อ
  2. ผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน แพทย์หรือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล อาจได้รับวัคซีนบาดทะยัก 
  3. หากเคยได้รับวัคซีนบาดทะยักมานานเกิน 10 ปี แพทย์จะพิจารณาให้วัคซีนบาดทะยักสำหรับผู้ใหญ่ ในปริมาณที่เหมาะสม
  4. ผู้ป่วยที่หายจากโรคบาดทะยัก ต้องให้วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักครบชุด

วัคซีนบาดทะยัก ผู้ใหญ่ กี่เข็ม

โรคคอตีบและบาดทะยัก สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ – บาดทะยัก (dT) ซึ่งเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก สร้างขึ้นจากพิษของเชื้อที่ทำให้หมดความสามารถในการก่อโรค ผ่านขบวนการผลิตที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย ไม่มีเชื้อโรคที่มีชีวิตหลงเหลืออยู่ โดยวัคซีนบาดทะยักจะให้กับเด็กและผู้ใหญ่ แตกต่างกัน ดังนี้

  • เด็กที่มีอายุ7 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ต้องได้รับวัคซีน ป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ทุกคน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  • บุคคลที่ได้รับวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ครบ 5 ครั้ง เมื่อวัยเด็กและได้รับวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก 1 ครั้ง เมื่อเรียนชั้นประถามศึกษา ปีที่ 6 (12 ปี) ให้วัคซีน 1 ครั้ง เมื่ออายุ 20 ปี จากนั้นกระตุ้นซ้ำ 1 ครั้ง ทุก 10 ปี
  • บุคคลที่ไม่ได้รับวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก มาก่อน หรือไม่ครบ 3 ครั้งต้องให้วัคซีนจนครบ 3 ครั้ง โดยมีระยะห่าง 0, 1, 6 เดือน เป็นชุดแรก หลังจากนั้นกระตุ้นซ้ำ 1 ครั้ง ทุก 10 ปี

บุคคลที่ไม่ทราบประวัติ/จำประวัติการได้รับวัคซีนคอตีบไม่ได้ควรให้วัคซีนจนครบ 3 ครั้ง โดยมีระยะห่าง 0, 1, 6 เดือน หลังจากนั้นกระตุ้นซ้ำ 1 ครั้ง ทุก 10 ปี ในกรณีที่มีอาการปวดบวมที่แขน บริเวณที่ฉีดลามไปถึงบริเวณหัวไหล่ ข้อศอก หรือทั้งแขน ให้ยุติการให้วัคซีนครั้งต่อไปและกระตุ้นซ้ำทุก 10 ปี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

คอตีบ – บาดทะยัก โรคร้ายที่ป้องกันได้ ด้วยวัคซีน

https://ddc.moph.go.th/uploads/files/41c41b909e9a6f56dcaec31ecad8e143.pdf 

accessed June 21, 2023

แนวทางการให้บริการในคลินิกวัคซีนผู้ใหญ่

https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/c20ad4d76fe97759aa27a0c99bff6710/files/Guideline_AVC_62_01022019.pdf 

accessed June 21, 2023

รายละเอียดโรค บาดทะยัก (Tetanus, Lockjaw )

https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=86 

accessed June 21, 2023

บาดทะยักภัยใกล้ตัวพบมากในผู้สูงอายุ

https://www.rama.mahidol.ac.th/th/knowledge_awareness_health/07162015-1236-th 

accessed June 21, 2023

โรคบาดทะยัก (Tetanus) 

http://dcd.ddc.moph.go.th/knowledges/view/16 

accessed June 21, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/05/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อะมีบากินสมอง เชื้ออันตรายที่กำลังระบาดในเท็กซัส ปะปนอยู่ในน้ำประปา!

ไซยาไนด์ คือ อะไร อันตรายแค่ไหน มีผลต่อร่างกายอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 06/05/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา