backup og meta

งีบ ระหว่างวัน เป็นเรื่องดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพกันแน่...หาคำตอบได้ที่นี่

งีบ ระหว่างวัน เป็นเรื่องดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพกันแน่...หาคำตอบได้ที่นี่

งีบ ระหว่างวัน ถือเป็นทางเลือกที่ดี ถ้าคุณรู้สึกนอนไม่เต็มอิ่ม หรือกำลังมองหาวิธีดีๆ ในการผ่อนคลายความตึงเครียด แต่การงีบในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม หรืองีบนานเกินไป ก็อาจส่งผลในทางตรงกันข้ามได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะมานำเสนอเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการงีบดังต่อไปนี้

ประโยชน์ของการ งีบ

การงีบนั้นส่งผลที่ดีต่อสุขภาพของผู้ใหญ่หลากหลายอย่าง ซึ่งก็ได้แก่…

  • การผ่อนคลายความตึงเครียด
  • ลดความอ่อนเพลีย
  • เพิ่มความรู้สึกตื่นตัว
  • อารมณ์ดีขึ้น
  • มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งรวมถึงการตอบโต้ที่รวดเร็วขึ้น และมีความจำที่ดีขึ้นด้วย

ผลเสียของการงีบ

การงีบไม่ใช่ใครๆ ก็สามารถทำได้นะ คนบางคนก็ไม่สามารถงีบหลับในช่วงกลางวันได้ หรือมีปัญหาการนอนเวลาที่ต้องไปนอนในสถานที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่เตียงนอนของตัวเอง บางครั้งก็เลยต้องชดเชยด้วยการงีบหลับเหมือนกัน ซึ่งการงีบอาจส่งผลทางด้านลบได้ อย่างเช่น…

  • อาการตื่นไม่เต็มที่ คุณอาจรู้สึกงัวเงียหรือเบลอหลังตื่นจากการงีบหลับ
  • มีปัญหาการนอนในตอนกลางคืน การงีบหลับในช่วงเวลาสั้นๆ จะไม่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนในช่วงกลางคืนของคนโดยส่วนใหญ่ แต่ถ้าคุณเกิดอาการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่เต็มอิ่มในช่วงกลางคืนล่ะก็ สาเหตุอาจมาจากการงีบในช่วงกลางวันก็ได้ การงีบเป็นเวลานานๆ หรืองีบบ่อยๆ อาจรบกวนการนอนในตอนกลางคืนก็ได้

เราควรจะงีบตอนไหนดี

คุณอาจหาเวลางีบหลับในช่วงกลางวันได้ ถ้าคุณมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีอาการอ่อนเพลียแบบไม่เคยเป็นมาก่อน หรือจู่ๆ ก็รู้สึกง่วงขึ้นมา
  • มีแนวโน้มจะอดนอนในระยะเวลาอันใกล้ เช่น จะต้องเข้าเวรทำงานที่มีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน

จู่ๆ ก็รู้สึกอยากจะงีบ…บอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพหรือเปล่า?

ถ้าคุณรู้สึกอยากงีบหลับในช่วงกลางวันมากขึ้น และหาสาเหตุของอาการอ่อนเพลียนี้ไม่เจอ ก็ควรปรึกษากับคุณหมอในเรื่องนี้ดู คุณอาจจะใช้ยาบางอย่าง มีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ หรือมีอาการป่วยอย่างอื่นที่รบกวนการนอนหลับในตอนกลางคืนก็ได้

วิธีการงีบที่ดีที่สุด

ในการงีบหลับให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้น คุณก็ควรปฎิบัติตามเคล็ดลับต่อไปนี้

  • งีบเป็นช่วงเวลาสั้นๆ โดยตั้งเป้าในการงีบอย่าให้เกิน 10 ถึง 30 นาที ยิ่งคุณงีบนานเท่าไหร่ คุณก็มีแนวโน้มจะรู้สึกงัวเงียหลังตื่นได้มากขึ้นเท่านั้น
  • งีบในช่วงบ่าย ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการงีบก็คือช่วงราวๆ บ่ายสองหรือบ่ายสาม ซึ่งมักเป็นช่วงที่เรารู้สึกง่วงหลังกินอาหารกลางวัน หรืออยู่ในช่วงที่มีความตื่นตัวน้อย นอกจากนี้ การงีบหลับในช่วงเวลานี้ยังไม่เป็นการรบกวนการนอนในช่วงกลางคืนด้วย แต่จงจำเอาไว้ด้วยว่า ปัจจัยส่วนบุคคล อย่างเช่น ความต้องการในการนอน และตารางการนอนของคุณ คือตัวตัดสินช่วงเวลางีบหลับให้คุณได้ดีที่สุด
  • สร้างบรรยากาสที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย คุณควรงีบหลับในสถานที่เงียบๆ มืดๆ มีอุณภูมิที่กำลังสบาย และไม่มีอะไรมารบกวนการนอนหลับของคุณ

หลังจากงีบหลับเสร็จแล้ว ก็ควรให้เวลาตัวเองในการตื่น ก่อนก็กลับไปทำกิจกรรมอะไรที่ทำค้างอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำ

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือระยะเวลา

การงีบจะส่งผลดีหรือผลเสียในระดับไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและระยะเวลาในการงีบหลับ การงีบหลับเป็นเวลานานๆ (สองชั่วโมงขึ้นไป) จะช่วยให้มีประสิทธิภาพในการทำงานที่ยาวนานขึ้น รวมทั้งช่วยลดอาการง่วงได้ดีกว่าการงีบหลับในเวลาสั้นๆ (น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง) หรือการงีบหลับแบบแป๊บเดียว (น้อยกว่าสิบนาที) แต่อย่างไรก็ตามการงีบหลับเป็นเวลานานๆ ก็มักจะทำให้เกิดการตื่นไม่เต็มที่ได้ง่ายกว่าด้วย ซึ่งจะทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานหลังตื่นนอนแย่ลง ซึ่งการงีบหลับแบบแป๊บเดียวจะส่งผลดีได้ทันที โดยไม่มีอาการข้างเคียงของการตื่นไม่เต็มที่ด้วย

นอกจากนี้การงีบหลับเป็นเวลานานๆ จะส่งผลกระทบต่อช่วงเวลาการนอนที่ตามมา ได้มากกว่าการงีบหลับเป็นเวลาสั้นๆ โดยจะทำให้ ความรู้สึกอยากนอนลดลง ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกง่วงหรือนอนหลับอย่างเต็มอิ่มได้ยาก

ช่วงเวลาในการงีบหลับในตอนกลางวันก็นับว่าเป็นเรื่องสำคัญมากด้วยเช่นกัน เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อคุณประโยชน์ของการงีบหลับได้ การงีบหลับในช่วงเช้าตรู่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เราต้องตื่นตัวโดยธรรมชาตินั้น อาจส่งผลให้อาการตื่นไม่เต็มที่ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ และไม่อาจทำให้ฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้อย่างที่ต้องการ เมื่อเปรียบเทียบกับการงีบหลับในช่วงบ่าย

แต่อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาวิจัยพบว่าการงีบหลับในช่วงกลางวันเป็นประจำ จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจ และการเสียชีวิตได้ นอกจากนี้งานศึกษาวิจัยเมื่อปี 2014 ยังพบด้วยว่า การงีบเกินวันละหนึ่งชั่วโมง มีแนวโน้มจะทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ถึง 32 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นงีบเฉพาะในเวลาที่จำเป็นจะส่งผลดีต่อสุขภาพมากกว่านะ

 

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Health Check: are naps good for us?

https://theconversation.com/health-check-are-naps-good-for-us-72268

Accessed on August 7, 2018

Is Napping Good Or Bad For You?

https://www.menshealth.com/health/a19533090/is-napping-healthy-or-am-i-too-tired/

Accessed on August 7, 2018

Napping.

https://www.sleepfoundation.org/articles/napping.

Accessed 3 September 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/07/2020

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

เซโรโทนินกับโรคซึมเศร้า สารสำคัญที่อาจช่วยคุณได้

โดพามีน สารเคมีแห่งความสุขและความฮึมเหิมที่ร่างกายขาดไม่ได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 15/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา