backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

การรักษาเบื้องต้น: ดูแลรักษาอาการแพ้อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

การรักษาเบื้องต้น: ดูแลรักษาอาการแพ้อย่างไร

การดูแลรักษาอาการแพ้

ภูมิคุ้มกันของร่างกายมีหน้าที่สร้างแอนตี้บอดี้ขึ้นมาเพื่อกำจัดสารแปลกปลอมเพื่อให้คุณไม่ป่วย แต่บางครั้งเมื่อร่างกายรับสารแปลกปลอมที่ไม่เป็นอันตรายเข้ามาแต่ภูมิคุ้มกันยังสร้างแอนตี้บอดี้ขึ้นมาเพื่อปกป้องจึงก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ สำหรับบางคนระดับความรุนแรงของอาการแพ้จะแตกต่างกันไป วันนี้เราจึงรวบรวม การดูแลรักษาอาการแพ้ เบื้องต้นสำหรับอาการมาให้ดูกัน

เพราะสารแปลกปลอมสามารถมาได้จากแหล่งที่มาต่างกัน ไม่ว่จะเป็น อาหาร ยา หรือสภาพแวดล้อม ดังนั้นการปฐมพยาบาลจึงต่างกันไป

เมื่อไหร่ที่ผู้ป่วยต้องการการปฐมพยาบาล?

อาการดังต่อไปนี้บ่งบอกว่าคุณต้องเริ่มทำการปฐมพยาบาล

หายใจติดขัดหรือมีเสียงหอบเวลาหายใจ

เสียงแหบหรือเริ่มมีปัญหาในการพูด

ลำคอตีบตันหรือเริ่มรู้สึกว่าช่องทางเดินหายใจตีบตัน

ปาก ลิ้น และลำคอบวม

หัวใจและชีพจรเต้นเร็ว

รู้สึกคลื่นไส้ ปวดท้อง และอาเจียน

หมดสติ

รู้สึกวิงเวียน

อาการแพ้อื่นๆ

หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่มีอาการแพ้อย่างหนักควรมี ยาเอพิเนฟรีน พกติดตัวไว้สองหลอดเพื่อทำการฉีดเมื่อมีอาการแพ้อย่างหนักโดยทันที

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการแพ้เฉียบพลัน

ปฏิกริยาภูมิแพ้เฉียบพลันมักจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงเสมอ โดยมักจะเกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่นาทีหลังจากได้รับสารแปลกปลอมเข้าร่างกาย และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที  ผู้ป่วยอาจมีโอกาสหมดสติ หัวใจหยุดเต้น หรือภาวะการหายใจลำบากได้

ซึ่งผู้ปฐมพยาบาลสามารถดูอาการได้ดังต่อไปนี้

ผิวหนังเกิดโรคลมพิษ คัน หรือผิวซีด

เวียนหัวหรือเป็นลม

หน้าบวม

หายใจหอบ

คลื่นไส้

ชีพจรเต้นแรงหรือเต้นอ่อน

หากคนใกล้ตัวมีอาการแพ้เฉียบพลันคุณควรทำอย่างไร

ตั้งสติ และควรโทรเรียกรถพยาบาลก่อน

จากนั้นหากมียาฉีด ให้รีบฉีดยาเมื่อเห็นสัญญาณแรกของอาการแพ้เฉียบพลัน หากอาการที่คุณเห็นไม่ได้เกิดจากอาการแพ้เฉียบพลัน ยาที่ฉีดไปให้ผู้ป่วยจะไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียง แต่หากอาการที่เกิดขึ้นมาจากการแพ้จริงๆ การฉีดยาจะช่วยได้ และผู้ปฐมพยาบาลควรจะแจ้งให้แพทย์ผู้ทำการรักษาทราบเพื่อรักษาตามอาการต่อไป หลังจากฉีดยาแล้ว ควรทำตามหลักการดังต่อไปนี้

พยายามปลอบใจผู้ป่วยให้ใจเย็นและไม่ตื่นตระหนก

ให้ผู้ป่วยนอนราบ

ยกเท้าของผู้ป่วยขึ้นประมาณ 12 นิ้ว และคลุมด้วยผ้าห่ม

หากผู้ป่วยเริ่มมีอาการอาเจียนหรือเลือดออกให้นอนตะแคง

หากผู้ป่วยใส่เสื้อผ้าที่รัดให้คลายออกเพื่อให้หายใจสะดวกขึ้น

ผู้ผ่วยควรจะได้รับยาเอพิเนฟรีนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อบรรเทาอาการ และผู้ปฐมพยาบาลควรหลีกเลี่ยงการให้ยาทานไม่ว่าจะเป็นยาเม็ดหรือยาน้ำ และไม่ควรยกศรีษะของผู้ป่วยให้สูงขึ้นโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการหายใจติดจัด

การทำการผายปอดสำหรับผู้มีอาการแพ้เฉียบพลัน

หากผู้ป่วยหยึดหายใจ หยุดไอ หรือหยุดเคลื่อนไหว ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงอาจจะต้องทำการผายปอดหรือซีพีอาร์ให้ โดยผู้ที่ให้การปฐมพยาบาลไม่จำเป็นต้องผ่านการฝึกมาก่อน โดยการกดหน้าอกประมาณ 100 ครั้งต่อนาทีหรือจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง การทำซีพีอาร์เป็นหลักสูตรที่ควรฝึกไว้หากคุณมีเก็บยาเอพิเนฟรีนและที่ฉีดติดตัวไว้ตลอดเพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงกว่าเดิม หากเป็นไปได้ควรให้ผู้ที่ใกล้ชิดฝึกฝนการปฐมพยาบาลไว้ด้วย

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

.

.

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา