backup og meta

ความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูก ที่สาว ๆ ควรรู้

ความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูก ที่สาว ๆ ควรรู้

จากการรายงานของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา ในปี 2016 มีผู้ป่วยใหม่ที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกจำนวน 12,990 ราย และผู้หญิงในจำนวน 4,120 ราย เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากสงสัย และอยากรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น ความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูก เป็นหนึ่งในเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจมะเร็งปากมดลูกมาฝากกันค่ะ

แนวทางการตรวจหามะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเริ่ม

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้หญิงปฎิบัติตามแนวทางต่อไปนี้ เพื่อช่วยในการตรวจหามะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเริ่ม ข้อปฏิบัติต่อไปนี้สามารถใช้ในการตรววจหาชิ้นเนื้อที่อาจมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ซึ่งช่วยไม่ให้เกิดการก่อตัวของมะเร็ง

  • ผู้หญิงทุกคนควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่อายุ 21 ปี ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 21 – 29 ปี ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุก ๆ 3 ปี โดยอาจมีการตรวจหาเชื้อ HPV ร่วมด้วย หากผลการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีความผิดปกติ
  • ผู้หญิงที่ผ่านการผ่าตัดมดลูกอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจ เว้นแต่ว่าการผ่าตัดนั้นเป็นการผ่าเอาชิ้นเนื้อร้ายที่อาจก่อมะเร็งออกไป รวมถึงผู้ที่รับการผ่าตัดมดลูก โดยไม่ได้นำปากมดลูกออกไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรอง
  • เมื่ออายุ 30 ปี ขึ้นไปควรรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกับการตรวจหาเชื้อ HPV เป็นประจำทุก ๆ 5 ปี เรียกการตรวจนี้ว่าการตรวจร่วม ซึ่งควรรับการตรวจไปจนถึงอายุ 65 ปี
  • ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ซึ่งเข้ารับการตรวจเป็นประจำในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ไม่จำเป็นต้องรับการตรวจอีกต่อไป เช่นเดียวกับผู้ที่ไม่พบเนื้อร้ายตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ผู้หญิงที่มีประวัติการตรวจพบเซลล์ผิดปกติระดับ CIN2 และ CIN3 ควรเข้ารับการตรวจเป็นเวลาอย่างน้อย 20 ปีภายหลังพบเนื้อร้าย
  • ทางเลือกที่สมเหตุสมผลอีกประการหนึ่งสำหรับผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 30 ถึง 65 ปี คือเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุก ๆ 3 ปี
  • ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรค เช่น ภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ใช้ยา DES ควรเข้ารับการตรวจบ่อยกว่าปกติ รวมถึงทำตามคำแนะนำของแพทย์
  • ผู้หญิงที่ได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ควรเข้ารับการตรวจตามแนวทางปฏิบัตินี้

ความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูก

การเข้ารับการตรวจสอบมะเร็งปากมดลูก เป็นวิธีที่ดีในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและเพิ่มโอกาสในการรักษาได้อย่างสมบูรณ์ การคัดกรองสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของเซลล์มดลูก เพื่อให้ได้รับการรักษาก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก

หากได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ มะเร็งปากมดลูกจะเป็นหนึ่งในมะเร็งที่สามารถรักษาให้หายได้โดยสมบูรณ์ ในสหรัฐอเมริกาอัตราการตาย เนื่องจากมะเร็งชนิดนี้ลดลงมากกว่า 50% ในช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมานี้ แสดงให้เห็นว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นสิ่งที่สำคัญและมีประสิทธิภาพ

มีจำนวนประชากรมากมายที่เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกทั่วโลก เนื่องจากไม่เคยเข้ารับการตรวจสอบมะเร็งปากมดลูกมาก่อน ทั้งนี้สาเหตุส่วนใหญ่ของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในหมู่ผู้หญิงในประเทศกำลังพัฒนา ผู้หญิงเหล่านี้มักได้รับการตรวจพบมะเร็งปากมดลูกในระยะที่สายเกินไป แทนที่จะตรวจพบตั้งแต่ก่อนการเป็นมะเร็งหรือในระยะแรกเริ่ม

แม้ว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูง ทำให้เกิดการเสียชีวิตในบรรดาโรคมะเร็งทั้งหลาย ตราบใดที่แพทย์สามารถตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติก่อนการเกิดมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่แรก แพทย์จะสามารถทำการรักษาได้ทันก่อนที่เนื้อร้ายจะกลายเป็นมะเร็งต่อไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cervical Cancer Prevention and Early Detection. http://www.cancer.org/cancer/cervicalcancer/moreinformation/cervicalcancerpreventionandearlydetection/cervical-cancer-prevention-and-early-detection-cervical-cancer-screening-guidelines. Accessed December 20, 2016

Cervical cancer screening. http://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/type/cervical-cancer/about/cervical-cancer-screening. Accessed December 20, 2016

Can cervical cancer be prevented? http://www.cancer.org/cancer/cervicalcancer/moreinformation/cervicalcancerpreventionandearlydetection/cervical-cancer-prevention-and-early-detection-can-cervical-cancer-be-prevented. Accessed December 20, 2016

Cervical Cancer Screening. https://www.acog.org/womens-health/faqs/cervical-cancer-screening. Accessed July 15,2021

What Should I Know About Screening?. https://www.cdc.gov/cancer/cervical/basic_info/screening.htm. Accessed July 15,2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/11/2021

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ วัคซีน HPV ตัวช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูก เท่านั้นหรือ?

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 09/11/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา