มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma) เป็นโรคมะเร็งผิวหนังร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocytes) ที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดสีผิว (Melanin) ที่เป็นตัวกำหนดสีผิว
คำจำกัดความ
มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา คืออะไร
มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma) ป็นโรคมะเร็งผิวหนังร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocytes) ที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดสีผิว (Melanin) ที่เป็นตัวกำหนดสีผิว โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาส่วนใหญ่มักเริ่มจากการเกิดไฝใหม่ หรือในบางกรณีอาจเป็นไฝอยู่แล้ว และแพร่กระจายไปบริเวณรอบๆ หรือเข้าสู่ผิวหนัง สู่เส้นเลือด และต่อมน้ำเหลือง และเข้าสู่ตับ สมอง ปอดและกระดูกในที่สุด
มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา พบบ่อยแค่ไหน
ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปีโดยเฉพาะเพศหญิง มีความเสี่ยงในการเป็นโรคผิวหนังเมลาโนมาสูง คุณควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการของ โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในบริเวณร่างกาย โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในบริเวณที่ต้องเผชิญกับแสงแดด เช่นบบริเวณหลัง ขา แขน และใบหน้า นอกจากนี้ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณที่ไม่ได้รับแสงแดดมากนัก เช่น บริเวณฝ่าเท้า ฝ่ามือ เล็บมือ
- ไฝมีลักษณะผิดปกติ
- สีของไฝผิดปกติ
- มีอาการคันหรือมีเลือดออกบริเวณไฝ
- ไฝมีขนาดใหญ่กว่า ¼ นิ้ว หรือประมาณ 6 มิลลิเมตร
ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของ โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
ปัจจุบันยังไม่มีข้อระบุที่ชัดเจนของมะเร็งผิวหนังเมลาโน แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่า เกิดจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นในเซลล์ที่สร้างเม็ดสีให้กับผิวของคุณ เมื่อเซลล์ผิวหนังเกิดความเสียหาย ทำให้ยีนไม่สามารถควบคุมจัดระเบียบการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนังได้ ส่งผลให้เซลล์ผิวหนังที่เสียหายพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็ง
อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่กระตุ้นการเกิดมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา อาจเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรมที่ทำให้เกิดเนื้องอก รวมถึงการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต จากดวงอาทิตย์ จากโคมไฟ (รังสีเข้าไปทำลายเซลล์ผิวหนัง)
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
ปัจจัยเสี่ยงของ โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา มีดังนี้
- ผิวขาว ผู้ที่มีผิวขาวอาจมีความเสี่ยงมากกว่าคนผิวคล้ำ
- ผิวเคยโดนไหม้จากแดดอย่างรุนแรง การไหม้แดดอย่างรุนแรงอย่างรุนแรง 1 ครั้ง สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้
- มีไฝจำนวนมาก หากคุณมีไฝธรรมดามากกว่า 50 เม็ด ในร่างกายอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาได้
- สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นเนื้องอก หากพ่อแม่หรือญาติเคยมีประวัติเป็นมะเร็ง อาจเพิ่มความเสี่ยงให้กับเราได้
- ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการ ตรวจดูความผิดปกติของไฝ เพื่อยืนยันระบุโรคให้ชัดเจน
การรักษามะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
วิธีการรักษามะเร็งผิวหนังเมลาโนมา มีด้วยกันหลายวิธี โดยส่วนใหญ่แพทย์จะทำการรักษาด้วยการผ่าตัดผิวหนังนำส่วนที่มีเนื้องอกออก หากเนื้องอกปกคลุมบริเวณผิวหนังจำนวนมากแพทย์อาจต้องทำการปลูกไถ่ผิวหนัง
ในกรณีผู้ป่วยมะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง แพทย์อาจนำชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองที่เป็นมะเร็งไปตรวจ รวมถึงการใช้เคมีบำบัด เพื่อช่วยยับและกำจัดเซลล์มะเร็ง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษา โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
เราสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา ได้ด้วยการป้องกัน ดังนี้
- สวมเสื้อผ้าให้มิดชิดปกป้องร่างกายจากแสงแดด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง
- ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป ควรทาครีมกันแดดอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงก่อนออกไปข้างนอก