backup og meta

การวัด น้ำตาลในเลือด หลังอาหาร ควรตรวจช่วงเวลาไหนบ้าง และทำได้อย่างไร

การวัด น้ำตาลในเลือด หลังอาหาร ควรตรวจช่วงเวลาไหนบ้าง และทำได้อย่างไร 

การตรวจน้ำตาลในเลือด หลังมื้ออาหาร มีความสำคัญและเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากควรมีน้ำตาลหลังมื้ออาหารไม่เกิน 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เพื่อควบคุมในระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีอยู่เสมอ เพื่อเป็นการป้องกันความรุนแรงของโรคและป้องกันความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้อีกด้วย

[embed-health-tool-bmi]

น้ำตาลในเลือดควรตรวจเวลาไหนบ้าง

การตรวจน้ำตาลในเลือดมีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากการตรวจจะช่วยให้ทราบถึงระดับน้ำตาลในเลือดขณะนั้น ๆ ซึ่งมีส่วนทำให้ควบคุมการเลือกรับประทานอาหารได้เหมาะสมมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นตัวบอกถึงผลการรักษาเบาหวานว่ายาที่ใช้สามารถออกฤทธิ์ได้ดีเพียงพอหรือไม่ และยังเป็นใช้ติดตามความคืบหน้าของการควบคุมโรคเบาหวานได้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีช่วยลดความเสี่ยงในการกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เวลาที่แนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้แก่ ช่วงเวลาก่อนอาหารเช้าตั้งแต่ตื่นนอน ก่อนมื้ออาหารทุกมื้อ และ หลังแต่ละมื้ออาหารประมาณ 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ สามารถตรวจเพิ่มได้ในช่วงเวลาก่อนนอนหรือเมื่อมีกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากกว่าปกติเช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา อาจตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อนและหลัง เพื่อเช็คระดับน้ำตาลในเลือดว่าไม่ต่ำจนเกินไปซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ด

อย่างไรก็ตาม ความถี่ของการวัดระดับน้ำตาลในเลือดแตกต่างกันในแต่ละราย ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคเบาหวาน การรักษาด้วยยารับประทานหรือยาฉีดอินซูลิน โรคร่วมและความถี่ของการเกิดภาวะในเลือดต่ำ รวมไปถึงการควบคุมโรคในผู้ป่วยแต่ละบุคคล

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หลังอาหาร ดีอย่างไร

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรมีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารระหว่าง 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารไม่ควรมากกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ทั่งนี้เพื่อควบคุมไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากเกินไปจนเพิ่มความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

สำหรับการตรวจระดับน้ำตาลหลังมื้ออาหารจะแนะนำให้ตรวจเลือดหลังเริ่มรับประทานอาหารไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งจะเป็นเวลาที่อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตถูกย่อยเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว โดยทั่วไปอาจแนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคเบาหวาน วัดน้ำตาลในเลือดหลังอาหารประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อรอให้คาร์โบไฮเดรตย่อยและเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ซึ่งอาจช่วยให้วัดระดับน้ำตาลหลังอาหารได้แม่นยำขึ้น

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หลังอาหาร ทำอย่างไร

การตรวจน้ำตาลในเลือดหลังอาหารมีวิธีทำที่เหมือนกับการตรวจในช่องเวลาอื่น ๆ ซึ่งอาจทำได้ ดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
  • เปิดเครื่องตรวจน้ำตาลรวมทั้งสอดแถบทดสอบเข้าในตัวเครื่อง
  • เจาะเลือดที่ปลายนิ้วโดยใช้ชุดเจาะเลือดทางการแพทย์บีบที่ปลายนิ้วเบา ๆ และหยดเลือดลงไปที่แถบทดสอบเครื่องวัดจะแสดงระดับน้ำตาลในเลือดบนหน้าจอแสดงผล

เครื่องตรวจบางรุ่นหรือยี่ห้ออาจมีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันเล็กน้อย จึงควรศึกษาวิธีใช้ที่มาพร้อมกับตัวเครื่องเสมอ เพื่อการใช้งานที่ถูกต้องและผลลัพธ์ที่แม่นยำ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Blood sugar testing: Why, when and how. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/in-depth/blood-sugar/art-20046628#:~:text=The%20American%20Diabetes%20Association%20(ADA,L)%20two%20hours%20after%20meals. Accessed February 23, 2023

FEATURESPre and Post Meal Testing. https://www.diabetes.co.uk/features/pre-and-post-meal-testing.html. Accessed February 23, 2023

How to Manage Blood Sugar Spikes After Meals. https://www.webmd.com/diabetes/how-manage-blood-sugar-spikes-after-meal. Accessed February 23, 2023

Manage Blood Sugar. https://www.cdc.gov/diabetes/managing/manage-blood-sugar.html. Accessed February 23, 2023

Blood Sugar Level Ranges. https://www.diabetes.co.uk/diabetes_care/blood-sugar-level-ranges.html. Accessed February 23, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/04/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

6 ตัวอย่างเมนู อาหาร เบาหวาน ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด

ลดน้ำตาลในเลือด กินอะไร และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันน้ำตาลในเลือดสูง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 04/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา