backup og meta

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เกิดจากภาวะดื้อฮอร์โมนชนิดใด

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เกิดจากภาวะดื้อฮอร์โมนชนิดใด

หลายคนอาจมีคำถามว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เกิดจากภาวะดื้อฮอร์โมนชนิดใด คำตอบคือ โรคเบาหวานเกิดจากภาวะดื้อฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยอินซูลินช่วยดึงนำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน หากมีภาวะดื้ออินซูลิน ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลได้ตามปกติจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น จนเกิดเป็นโรคเบาหวานในที่สุด

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เกิดจากภาวะดื้อฮอร์โมนชนิดใด

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากภาวะดื้อฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin Resistance) ซึ่งถูกสร้างจากตับอ่อนมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยอินซูลินช่วยดึงนำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน และช่วยนำน้ำตาลบางส่วนมาสำรองเก็บไว้ที่ตับ ในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) จึงเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป หากร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน คือ เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เเม้จะมีอินซูลินเพียงพอ เเต่เซลล์ก็ไม่สามารถนำน้ำตาลไปเผาผลาญได้เหมาะสม จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยทั่วไป ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ในเกณฑ์ปกติจะมีค่าไม่เกิน99 มิลลิกรัม/เดซิลิต หากพบว่าน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ดังกล่าว อาจมีภาวะก่อนเบาหวาน หรือ อาจเข้าข่ายเป็นโรคเบาวหวานได้ 

สัญญาณของภาวะดื้ออินซูลิน

อาการที่เป็นสัญญาณของภาวะดื้ออินซูลิน อาจมีดังนี้

  • รอบเอวหนา โดยผู้หญิงมีรอบเอวมากกว่า 35 นิ้ว และผู้ชายมีรอบเอวมากกว่า 40 นิ้ว
  • ความดันโลหิตสูงตั้งเเต่ 130/80 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) ขึ้นไป โดยความดันโลหิตทั่วไปจะไม่เกิน 130/80 มีระดับภาวะก่อนเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร 8 ชั่วโมงอาหารมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงกว่าก่อนรับประทานอาหารมากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ต่ำกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในเพศหญิง และต่ำกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในเพศชาย
  • มีผื่นผิวหนังเป็นรอบปื้นสีคล้ำหนาที่เรียกว่าโรคผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans) โดยสีมักพบบริเวณข้อพับต่าง ๆ เช่น ด้านหลังคอ รักแร้ หรือขาหนีบ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน อาจมีดังนี้

  • โรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน โดยเฉพาะผู้ที่มีไขมันหน้าท้องหรืออ้วนลงพุง
  • คนที่ไม่ค่อยขยับร่างกายหรือออกกำลังกาย 
  • รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงเป็นประจำ
  • เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 
  • มีคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
  • สูบบุหรี่
  • อายุมากกว่า 45 ปี
  • ใช้ยารักษาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาต้านซึมเศร้า ยาต้านเชื้อเอชไอวี
  • โรคนอนกรน หรือ โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)
  • ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease)
  • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome หรือ PCOS)

บทบาทของอินซูลินต่อโรคเบาหวาน

ฮอร์โมนอินซูลินเป็นฮอร์โมนหลักในการเกิดโรคเบาหวาน เนื่องจากมีหน้าทีกระตุ้นในเซลล์ดึงน้ำตาลในเลือดเข้าไปเผาผลาญเป็นพลังงาน ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ และรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เมื่อฮอร์โมนอินซูลินเสียสมดุลจะทำให้เกิดโรคเบาหวานได้

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นโรคเบาหวานที่พบบ่อยในเด็กและวัยรุ่น แต่อาจพบในคนวัยอื่นได้เช่นกัน โรคนี้เกิดจากเซลล์ตับอ่อนที่ชื่อว่า เบต้าเซลล์ (Beta Cell) ถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ วิธีรักษา คือ การฉีดอินซูลินทดแทนเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้ราว 95% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด สามารถพบได้กับคนทุกเพศทุกวัย มีสาเหตุหลักจากร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน คือการที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เเม้จะมี อินซูลินเพียงพอในร่างกาย เเต่เซลล์ก็ไม่สามารถนำน้ำตาลไปเผาผลาญได้เหมาะสม จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยทั่วไปสามารถรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Obesity. https://www.nhs.uk/conditions/obesity/causes/.  Accessed July 1, 2022

Diabetes Basics. https://www.webmd.com/diabetes/diabetes-basics. Accessed July 1, 2022

Type 2 diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/type-2-diabetes/symptoms-causes/syc-2035119.  Accessed July 1, 2022

Diabetes and insulin. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/diabetes-and-insulin#factors-that-delay-insulin-absorption. Accessed July 1, 2022

Insulin Resistance and Diabetes. https://www.cdc.gov/diabetes/basics/insulin-resistance.html. Accessed July 1, 2022

Blood Sugar Level Ranges. https://www.diabetes.co.uk/diabetes_care/blood-sugar-level-ranges.html. Accessed July 1, 2022

Insulin Resistance. https://www.webmd.com/diabetes/insulin-resistance-syndrome. Accessed July 1, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/08/2022

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดื้ออินซูลิน ควรเลือกรับประทานอาหารอย่างไร

insulin resistance คือ ภาวะดื้ออินซูลิน โอกาสเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 24/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา