ความดันโลหิตสูง คือ ผลข้างเคียงของโรคเบาหวาน เนื่องจาก โรคเบาหวานสร้างความเสียหายต่อหลอดเลือด และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งนำไปสู่การเกิดความดันโลหิตสูง โดยการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์อาจทำได้ด้วยการเลือกรับผระทานอาหาร ออกกำลังกาย นอกจากนี้ ศาสตร์แพทย์แผนจีนอย่าง นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่อช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้
[embed-health-tool-heart-rate]
นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ลดความดันโลหิตได้จริงหรือ
นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง เป็นวิธีการรักษาตามศาสตร์แพทย์แผนจีน โดยการใช้นิ้วมือกดตามจุดสำคัญต่าง ๆ บนร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ระบบหมุนเวียนเลือดทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจช่วยป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเบาหวานได้ จากการวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Evidence-based Complementary and Alternative Medicine เมื่อ พ.ศ. 2559 พบว่า หลังจากการนวดกดจุดตำแหน่ง ไท่จง (Taichong Acupoint) จะช่วยให้ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure หรือ SBP) ลดลงทันที 15-30 นาที
3 ตำแหน่งนวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง
ตำแหน่งสำคัญในการนวดกดจุดที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอาจมีดังต่อไปนี้
- ตำแหน่งที่ 1 จุดไท่จง Taichong (LV3) หรือ จุดตับ
ตำแหน่งนี้อยู่ระหว่างจุดกำเนิดของนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้าง คือ ตำแหน่งระหว่างหัวแม่เท้าและนิ้วเท้า เพียงกดจุดบริเวณนี้ทุกวัน วันละ 1 นาที นอกจากจะช่วยลดความดันโลหิต ยังอาจช่วยลดอาการปวดประจำเดือนและบรรเทาความวิตกกังวลได้
- ตำแหน่งที่ 2 จุดเหอกู่ (LI4) หรือ จุดลำไส้ใหญ่
ตำแหน่งนี้อยู่บริเวณฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง คือ ตำแหน่งระหว่างนิ้วชี้และนิ้วโป้ง เพียงใช้แรงกดบนสายรัดระหว่างนิ้วชี้และนิ้วโป้ง การกดจุดบริเวณนี้มีอาจช่วยลดความดันโลหิต และบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง เช่น อาการปวดฟัน ปวดหลัง
- ตำแหน่งที่ 3 จุดเฟิงฉือ (GB20) หรือ จุดถุงน้ำดี
ตำแหน่งนี้อยู่บริเวณฐานคอ โดยเริ่มจากการวางนิ้วหัวแม่โป้งและนิ้วชี้ห่างประมาณ 3 นิ้ว กดไว้บริเวณท้ายทอยประมาณ 1 นาที การกดจุดบริเวณนี้อาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ลดความดันโลหิต รวมถึงอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ และอาการเมารถ เป็นต้น
สิ่งที่ควรรู้ก่อนนวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง
ถึงแม้ว่าการนวดกดจุดอาจความดันโลหิตได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ก็เพียงระยะสั้นเท่านั้น ดังนั้น ผู้ป่วยจะต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อควบคุมความดันโลหิต และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยอาจทำได้ดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นการรับประทานผลไม้ ผัก เมล็ดธัญพืช หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารที่ไขมันอิ่มตัว
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง