backup og meta

ภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุและวิธีป้องกัน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 24/03/2022

    ภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุและวิธีป้องกัน

    ภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากการที่ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม จนกระทั่งน้ำตาลในเลือดเข้าไปทำลายโครงสร้างของกระดูก กระดูกเริ่มเปราะบาง แตกหรือหักง่าย ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนซึ่งนับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต่อสุขภาพ

    ภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน

    โรคเบาหวานชนิดที่ 2  เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาโรคเบาหวานชนิดต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากภาวะภายในร่างกายไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม น้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นอาจทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเกิดการอักเสบเรื้อรัง รวมทั้งเข้าไปทำลายโครงสร้างคอลลาเจนของกระดูก ทำให้มวลกระดูกเปราะบาง แตกหักได้ง่ายและนำไปสู่ภาวะกระดูกพรุน ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือภาวะอ้วน เป็นต้น 

    ยารักษาโรคเบาหวานที่มีผลต่อกระดูก

    นอกจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอาจก่อให้เกิดภาวะกระดูกพรุนแล้ว ยารักษาโรคเบาหวานบางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้เช่นกัน ดังกลุ่มยาต่อไปนี้

    • ยากลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinediones : TZDs) มีคุณสมบัติช่วยส่งเสริมการสร้างอินซูลิน  แต่หากใช้ยาในระยะยาว อาจมีผลข้างเคียงทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน กระดูกเสื่อมได้
    • ยาคานากลิโฟลซิน (Canagliflozin) เป็นยารักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีคุณสมบัติช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่หากใช้ยาในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน

    5 เคล็ดลับ ป้องกันภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน

    เคล็ดลับง่าย ๆ ในการป้องกันภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังต่อไปนี้

    • รับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก เน้นอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมและวิตามินดี เช่น ผักใบสีเขียวเข้ม ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ อาหารและเครื่องดื่มเสริมแคลเซียม
    • ออกกำลังกาย การออกกำลังเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ ป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก  นอกจากนี้ ยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย 
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน

    หากผู้ป่วยเบาหวานดูแลตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคู่กับการออกกำลังกาย จะสามารถช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 24/03/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา