backup og meta

อาการบวมส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุ และการรับมือ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์กมล โฆษิตรังสิกุล · โรคเบาหวาน · โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 26/05/2022

    อาการบวมส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุ และการรับมือ

    อาการบวมส่วนปลาย หรืออาการบวมของรยางค์ (Peripheral Edema) เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท ระบบหมุนเวียนเลือด จึงทำให้เกิดอาการบวมและเป็นแผลได้ง่าย ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องให้ความสำคัญในดูแลแผลและควบคุมอาการบวม เพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นและส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ

    อาการบวมส่วนปลาย ในผู้ป่วยเบาหวาน 

    อาการบวมส่วนปลาย เกิดจากแรงดันในหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้น จนทำให้น้ำรั่วออกมาจากเส้นเลือดฝอยออกมาสู่บริเวณเนื้อเยื่อโดยรอบ ทำให้ผิวหนังเกิดอาการบวมตึง และมีลักษณะบุ๋มลงไป แต่ในผิวผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีลักษณะบุ๋ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการในแต่ละบุคคล

    อย่างไรก็ตาม อาการบวมสามารถขึ้นได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณขา หน้าท้อง ปอด แต่ส่วนใหญ่อาการบวมส่วนปลายมักเกิดขึ้นบริเวณเท้า ข้อเท้า และขา เป็นต้น ซึ่งอาจเกิดเพียงข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้

    สาเหตุของ อาการบวมส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน

    อาการบวมส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากหลายสาเหตุ หลายปัจจัยด้วยกัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    • ลิ่มเลือดอุดตันของเส้นเลือดดำ
    • การอักเสบของเนื้อเยื่อ 
    • ถุงน้ำบริเวณใต้ข้อพับเข่าแตก 
    • ระบบหมุนเวียนน้ำเหลืองเกิดการอุดตัน
    • อาการบวมน้ำจากการใช้อินซูลิน 
    • ภาวะอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยเป็นโรคตับ โรคหัวใจ และโรคไตอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมด้วย และมีอาการบวมที่เท้าหรือข้อเท้า 
    • ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้อักเสบ ยาฮอร์โมน ยาลดความดันโลหิต ยากล่อมประสาท ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวานบางชนิด

    รับมืออย่างไร หากมีอาการบวมส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน

    ผู้ป่วยเบาหวานสามารถลด อาการบวมส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน ในเบื้องต้นด้วยตนเองได้ ดังนี้

    • ยกขาที่บวมให้สูง
    • การใช้ยาขับปัสสาวะที่จัดให้โดยคุณหมอร่วมกับการควบคุมปริมาณน้ำและโซเดียมในอาหารอย่างเคร่งครัด
    • ถุงน่องกระชับขา (Compression Stocking) เพื่อกดรัดและลดอาการบวม

    ในกรณีที่ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการรุนแรง เช่น ผิวหนังแตก มีแผล มีการติดเชื้อของเนื้อเยื่อบริเวณผิวหนัง หรืออาการบวมไม่ดีขึ้น  ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษาในทันที 

    ถึงแม้ว่าอาการบวมส่วนปลายจะไม่ใช่โรคติดต่อที่ร้ายแรง แต่ถ้าปล่อยปละละเลยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานได้ ดังนั้น หากผู้ป่วยเบาหวานสังเกตเห็นอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางทันที เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    นายแพทย์กมล โฆษิตรังสิกุล

    โรคเบาหวาน · โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 26/05/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา