backup og meta

เบาหวานลงไต ภาวะแทรกซ้อน ที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์กมล โฆษิตรังสิกุล · โรคเบาหวาน · โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 04/07/2022

    เบาหวานลงไต ภาวะแทรกซ้อน ที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน

    เบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) เป็นอีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนชนิดรุนแรงที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งทำให้ไตทำงานผิดปกติ และเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของไตวาย อีกทั้งก่อให้เกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น  ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง  โรคหลอดเลือดหัวใจ 

    สาเหตุเบาหวานลงไต

    เบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) จัดเป็นภาวะแทรกซ้อนชนิดรุนแรงของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes) และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes) โดยสาเหตุหลักเกิดจากโรคเบาหวานทำให้หลอดเลือดและเซลล์อื่น ๆ ในไตถูกทำลาย เมื่อไตเกิดความผิดปกติจึงกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้น้อยลง เมื่อกระบวนการขับของเสียที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ของเสียบริเวณไตจึงเริ่มส่งผลเสียต่ออวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ส่งผลร้ายแรงทำให้เกิดภาวะไตวาย เป็นอันตรายต่อชีวิตได้

    อาการเบาหวานลงไต  

     เบาหวานลงไตในระยะแรกมักไม่แสดงอาการมากนัก แต่เมื่อผ่านไปสักระยะผู้ป่วยเบาหวานจะเริ่มมีอาการ ดังต่อไปนี้

    ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดเบาหวานลงไต  

    ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานลงไต มีดังต่อไปนี้

  • ระดับความดันโลหิตสูง ในระดับที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • สูบบุหรี่
  • น้ำหนักส่วนเกิน ภาวะโรคอ้วน
  • ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
  • น้ำตาลในเลือดสูง ในระดับที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นเบาหวานลงไต
  • วิธีลดความเสี่ยงเบาหวานลงไต 

    วิธีลดความเสี่ยงของภาวะเบาหวานลงไตในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังต่อไปนี้

    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะสารในบุหรี่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของไตให้ลดลง
    • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน  หรือหากจำเป็นต้องลดน้ำหนักควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผน
    • ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน
    • หลีกเลี่ยงการซื้อยามารับประทานเองโดยเฉพาะกลุ่มยาบรรเทาอาการปวดอย่าง ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เป็นต้น
    • ควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
    • รับประทานยารักษาเบาหวานตามแพทย์สั่งและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด 

    อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผิดปกติที่เข้าข่ายเบาหวานลงไต ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือโรคร้ายแรงอื่น ๆ 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    นายแพทย์กมล โฆษิตรังสิกุล

    โรคเบาหวาน · โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 04/07/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา