backup og meta

อาหารที่คนเป็นเบาหวานไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/01/2022

    อาหารที่คนเป็นเบาหวานไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง

    ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรระมัดระวังในการเลือกรับประทานอาหาร เพราะอาหารบางชนิดอาจเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม ขนมปัง ข้าวขาว ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจึงควรศึกษาว่า อาหารที่คนเป็นเบาหวานไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง เพื่อหลีกเลี่ยง รวมถึงอาจวางแผนการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้มีอาหารหลากหลายครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อช่วยลดโอกาสในการเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคไต เส้นประสาทเสียหาย สูญเสียการมองเห็นและการได้ยิน 

    อาหารที่คนเป็นเบาหวานไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง

    อาหารที่คนเป็นเบาหวานไม่ควรกิน มีดังต่อไปนี้

    • อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง 

    คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารสำคัญที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ป้องกันโรค และควบคุมน้ำหนัก โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ น้ำตาล แป้ง ไฟเบอร์ ซึ่งคาร์โบไฮเดรตที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณการรับประทาน เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น คือ น้ำตาล และแป้ง เช่น น้ำผลไม้ปรุงแต่งรสชาติ ข้าวขาว ขนมปังขาว มันฝรั่งทอด แป้งพาสต้า โดยอาจเปลี่ยนไปรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและไฟเบอร์แทน เช่น ข้าวโอ๊ต ข้ากล้อง ข้างฟ่าง มะเขือเทศ แครอท คะน้า ผักโขม หัวหอม ผลไม้สด หรืออาหารแปรรูปที่ปราศจากน้ำตาล

    ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานคาร์โบไฮเดรต 45%-65% ของแคลอรี่/วัน ตัวอย่างเช่น หากแผนการรับประทานอาหารจำเป็นที่ต้องได้รับแคลอรี่ 2,000 กิโลแคลอรี่/วัน ร่างกายจึงควรได้รับคาร์โบไฮเดรตประมาณ 900-1,300 กิโลแคลอรี่ หรือ 225-325 กรัม/วัน

    • ไขมันอิ่มตัว

    การรับประทานไขมันมากเกินไปอาจส่งผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยาก ไขมันอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัว และไขมันทรานส์ โดยไขมันที่ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยง หรือจำกัดปริมาณการรับประทาน คือ ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ เช่น เนย เบคอน เนื้อวัว ไส้กรอก ไข่แดง ตับ เนื่องจากไขมันเหล่านี้อาจเข้าไปเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) ในร่างกายให้สูงขึ้นทำให้ไขมันไปเกาะตามผนังของหลอดเลือดมากขึ้น จนทำให้หลอดเลือดตีบ เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก ซึ่งอาจส่งผลทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น

    สำหรับทางเลือกในการรับประทานไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ควรเลือกรับประทานไขมันไม่อิ่มตัว หรืออาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น พืชตะกูลถั่ว อัลมอนด์ อะโวคาโด ปลาแซลมอน ปลาทูน่า น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดองุ่น เนื้อสัตว์ไร้ไขมัน

    • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณปานกลางอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น แต่การดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ที่มากเกินไปก็อาจส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้เช่นกัน นอกจากนั้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังอาจส่งผลต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนี้

      • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจกระตุ้นความอยากอาหาร จนอาจทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานรับประทานอาหารมากเกินไป ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
      • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจเพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์
      • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีปริมาณแคลอรี่สูง เช่น ไวน์ 1 แก้ว มีปริมาณแคลอรี่ 120 แคลอรี่ จึงอาจทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานลดน้ำหนักส่วนเกินได้ยากขึ้น
      • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจเพิ่มระดับความดันโลหิต
      • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้หน้าแดง คลื่นไส้ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และพูดไม่ชัด

    ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้ ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรเลือกเครื่องดื่มที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ เช่น น้ำเปล่า ชาสมุนไพร เครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีน้ำตาลน้อย หรือใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

    • อาหารที่ประกอบด้วยโซเดียม

    ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีแนวโน้มที่จะมีความดันโลหิตสูงด้วย ดังนั้น หากรับประทานอาหารมีโซเดียมปริมาณสูงเกินกว่า 2,300 กรัม/วัน ก็อาจทำให้ระดับความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น จนส่งผลให้หลอดเลือดเสียหาย เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและไตวาย โดยอาหารที่มีโซเดียมสูงส่วนใหญ่ คือ อาหารแปรรูป เช่น เนื้อกระป๋อง ของหมักดอง ผักผลไม้ในกระป๋อง เกลือปรุงรส ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงเหล่านี้อาจใช้เครื่องเทศหรือสมุนไพรอื่น ๆ จากธรรมชาติในการเพิ่มรสชาติแทน เช่น อบเชย พริกป่น โหระพา ผงกระเทียม พาสลีย์ พริกไทย

    เคล็ดลับการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

    สมาคมโรคเบาหวานแห่งอเมริกัน แนะนำเคล็ดลับการวางแผนรับประทานอาหารง่าย ๆ ใน 1 จาน ที่สามารถรับประทานได้ทุกมื้อ ดังนี้

    • ผักและผลไม้ 1/2 ของจาน เช่น ผักโขม มะเขือเทศ แครอท
    • ธัญพืชไม่ขัดสี 1/4 ของจาน เช่น ข้าวบาร์เลย์ ถั่ว ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ข้าวสาลี
    • โปรตีน 1/4 ของจาน เช่น ปลา เนื้อไก่ ถั่ว
    • ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา ถั่วเหลือง อะโวคาโด หลีกเลี่ยงไขมันไม่อิ่มตัว เช่น เนยเทียม เนยขาว
    • เครื่องดื่มที่ปราศจากน้ำตาล เช่น น้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว/วัน สำหรับผลิตภัณฑ์จากนมควรดื่มวันละ 1-2 แก้ว/วัน น้ำผลไม้ควรดื่มผลไม้คั้นสด 1 แก้วขนาดเล็ก/วัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/01/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา