backup og meta

ทำความรู้จักกับกับ เบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/03/2022

    ทำความรู้จักกับกับ เบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2

    เบาหวาน (Diabetes) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก คือ เบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 โดยมีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา เท้า ระบบประสาท การเรียนรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานทั้ง 2 ประเภท อาจช่วยให้รับมือกับโรคเบาหวานได้อย่างเหมาะสม

    ทำความรู้จักกับโรค เบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2

    เบาหวาน (Diabetes) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ตามสาเหตุการเกิดโรค ดังนี้

    • เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีและทำลายเซลล์ที่ผลิตอินซูลิน (Insulin) ทำให้ร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ จึงควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ และส่งผลให้มีน้ำตาลในเลือดสูง
  • เบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายของคุณผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือไม่มีปฏิกิริยาต่ออินซูลิน จึงส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ และน้ำตาลในเลือดสูง
  • อาการของ เบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2

    อาการโดยทั่วไปของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 มีดังต่อไปนี้

    • ปัสสาวะบ่อย
    • รู้สึกกระหายน้ำมาก
    • รู้สึกหิวมาก
    • เหนื่อยล้าอย่างรุนแรง
    • มองเห็นไม่ชัด
    • แผลบาด หรือรอยช้ำหายช้า
    • น้ำหนักลด (เบาหวานชนิดที่ 1)
    • รู้สึกเสียวซ่า ปวด หรือชาบริเวณมือและเท้า (เบาหวานชนิดที่ 2)

    อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีอาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับอาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 โปรดปรึกษาคุณหมอทันที

    ควรไปพบคุณหมอเมื่อไร

    ควรไปพบคุณหมอ หากมีอาการดังต่อไปนี้

    • รู้สึกกระหายน้ำมาก
    • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะตอนกลางคืน
    • รู้สึกเหนื่อยล้ามาก
    • น้ำหนักลด และสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
    • คันบริเวณอวัยวะเพศ หรืออวัยวะเพศติดเชื้อราบ่อย ๆ
    • แผลหายช้าผิดปกติ
    • มองเห็นไม่ชัด

    สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2

    เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ ส่วนเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากร่างกายดื้อต่ออินซูลิน หรือไม่ตอบสนองต่ออินซูลินตามปกติ

    โดยปกติแล้ว เมื่อมีอาหารถูกย่อยและเข้าสู่กระแสเลือด ฮอร์โมนที่ชื่อว่าอินซูลิน จะนำเอาน้ำตาลกลูโคสออกไปจากเลือดเข้าสู่เซลล์ เพื่อย่อยสลายกลายเป็นพลังงาน แต่สำหรับบางคน อาจมีอินซูลินไม่พอจะนำกลูโคสออกไป หรือการผลิตอินซูลินทำงานได้อย่างไม่ถูกต้อง ร่างกายจึงไม่สามารถย่อยสลายกลูโคสให้กลายเป็นพลังงานได้ และส่งผลให้มีน้ำตาลสะสมในเลือดมากเกินไป จนเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 ในที่สุด

    ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน

    ผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี มักจะเป็นโรคเบาหวานได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย สูบบุหรี่ หรือมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน ก็จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าด้วย

    การวินิจฉัยโรคและการรักษาโรคเบาหวาน

    การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

    คุณหมอสามารถบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยมีการเผาผลาญอาหารตามปกติ ภาวะก่อนเบาหวาน หรือเป็นโรคเบาหวานได้ด้วย 3 วิธี ดังต่อไปนี้

  • การตรวจระดับน้ำตาลสะสม (The A1C test)
  • การวัดระดับกลูโคสในพลาสมา (Fasting plasma glucose test)
  • การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล (Oral glucose tolerance test)
  • การรักษาโรคเบาหวาน

    โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จำเป็นต้องรับสารอินซูลินเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน และทำให้โดยการฉีดยาหลายครั้ง หรือด้วยอินซูลินปั๊ม (Insulin pump) ซึ่งเป็นเครื่องมือขนาดเล็กที่จะส่งสารอินซูลินให้อย่างต่อเนื่องตลอดวัน

    โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถรักษาและควบคุมโรคได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

    • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
    • ออกกำลังกาย
    • รับประทานยาเพื่อควยคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ได้แก่
      • ยาเพิ่มระดับของอินซูลินที่ผลิตในตับอ่อน เช่น คลอร์โพรพาไมด์ (Chlorpropamide) ไกลเมพิไรด์ (Glimepiride) ไกลพิไซด์ (Glipizide) รีพาไกลไนด์ (Repaglinide)
      • ยาลดระดับการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้ เช่น อะคาร์โบส(Acarbose) ไมกลิทอล (Miglitol)
      • ยาเพิ่มการใช้อินซูลินของร่างกาย เช่น ไพโอกลิตาโซน (Pioglitazone) และโรซิกลิทาโซน (Rosiglitazone)
      • ยาลดการผลิตน้ำตาลในตับและเพิ่มความทนทานต่ออินซูลิน เช่น เมทฟอร์มิน (Metformin)
      • ยาเพิ่มการผลิตอินซูลินในตับอ่อน และลดการผลิตน้ำตาลในตับ เช่น อะบิกลูไทด์ (Albiglutide) อะโลกลิปทิน (Alogliptin) ดูลากลูไทด์ (Dulaglutide) ลินากลิปทิน(Linagliptin) เอกซ์เซนาไทด์ (Exenatide) ลิรากลูไทด์ (Liraglutide)
      • ยายับยั้งการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสอีกครั้งในไต และเพิ่มการขับกลูโคสในปัสสาวะ เรียกว่า โซเดียม กลูโคส โคทรานสปอร์เตอร์ อินฮิบิเตอร์ (Sodium-glucose cotransporter 2 inhibitors)

    วิธีการดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

    วิธีการดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน อาจมีดังนี้

    • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายเป็นประจำ และตรวจเลือดบ่อย ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำตาลกลูโคสในเลือดอยู่ในระดับสมดุล
    • ตรวจวัดค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นประจำ เพื่อตรวจสอบว่ามีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพหรือไม่
    • สำหรับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จำเป็นต้องฉีดอินซูลินเป็นประจำไปตลอดชีวิต
    • สำหรับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจจำเป็นต้องใช้ยาเป็นประจำ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/03/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา