backup og meta

ผลข้างเคียงของยาเบาหวาน ที่ควรรู้

ผลข้างเคียงของยาเบาหวาน ที่ควรรู้

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes mellitus) นอกจากการปรับพฤติกรรมสุขภาพแล้ว ยังจำเป็นต้องรับประทานยาลดระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอด้วย เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม แต่ในผู้ป่วยบางราย อาจเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น  อาการไม่สบายท้อง คลื่นไส้ เบื่ออาหาร หรือ อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ จึงควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนการใช้ยา และใช้รับประทานยาตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลข้างเคียงดังกล่าว

[embed-health-tool-bmi]

ยารักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2

สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเบื้องต้นคุณหมอจะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวัน เช่น การเลิกสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาล ควบคุมน้ำหนัก รวมทังออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย ร่วมกับการใช้ยาลดระดับน้ำตาล โดยยาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีดังต่อไปนี้

  • ยาที่ช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ได้แก่ ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) และ ยากลุ่มเมกลิทิไนด์ (Meglitinides)
  • ยาเมดฟอร์มิน (Metformin) ซึ่งช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน และ ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ
  • ยากลุ่มที่ช่วยในเซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น ได้แก่  ยากลุ่มไทอะโซลิดิไดโอน (Thiazolidinediones)
  • ยากลุ่มที่ยับยั้งเอนไซม์ดีพีพี-4 (Dipeptidyl peptidase-4 inhibitors) 
  • ยาลดระดับน้ำตาลกลุ่มที่ออกฤทธิ์ผ่านฮอร์โมนที่สร้างจากลำไส้ (Gut peptide hormone) ได้แก่ ยากลุ่ม GLP- 1 RA Glucagon-like peptide-1 (GLP-1) receptor agonists
  • ยากลุ่มที่เพิ่มการขับน้ำตาลทางปัสสาวะ (SGLT2 – inhibitors)

ผลข้างเคียงของยาเบาหวาน

ผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรคเบาหวานที่อาจพบได้ มีดังต่อไปนี้

  • รู้สึกท้องอืด มีลมในท้องถ่ายบ่อย
  • รู้สึกคลื่นไส้/อาเจียน
  • อาการไม่สบายท้อง หรือมวนท้อง
  • ปัสาวะแสบขัด ปัสสาวะไม่สุด
  • รู้สึกเบื่ออาหาร ความอยากอาหารลดลง
  • ขาบวม 
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม โดยส่วนมากแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยาลดระดับน้ำตาล มักจะไม่มีอาการข้างเคียงใด นอกจากนี้อาการข้างเคียงที่พบอาจต่างกันไปตามชนิดของยา และการตอบสนองของผู้ป่วยแต่ละรายอีกด้วย

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยารักษาโรคเบาหวาน

ในเบื้องต้นผู้ป่วยควรศึกษารายละเอียดของยาที่ใช้ไม่ว่าจะเป็น ชื่อยา คุณสมบัติ ขนาด วิธีใช้ และไม่ควรแบ่งยาหรือใช้ร่วมกับผู้อื่น (แม้จะเป็นยาสำหรับลดระดับน้ำตาลเช่นเดียวกัน) นอกจากนี้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรต้องปรึกษาคุณหมอก่อนรับประทานยาเสมอ เนื่องจากยาลดระดับน้ำตาลส่วนมากไม่ได้รับการอนุญาติให้ใช้ในผู้ที่ตั้งครรภ์ ฤทธิ์ของยาสามารถผ่านรกและน้ำนมได้ จึงอาจทำให้เกิดความผิดปกติกับทารก รวมทั้งไทำให้ทารกเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้

อย่างไรก็ตาม หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำในการใช้ยาที่ถูกต้อง และควรรับประทานยาตามที่คุณหมอบอกอย่างเคร่งครัด ไม่หยุดยาหรือปรับยาเอง อีกทั้งไม่ควรซื้อยาลดระดับน้ำตาลในเลือดรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากคุณหมอ เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Side Effects and Interactions of Diabetes Drugs. https://www.webmd.com/diabetes/diabetes-drugs-side-effects-interactions. Accessed April 29, 2021

FEATURESDiabetes Medication Side Effects. https://www.diabetes.co.uk/features/diabetes-medication-side-effects.html. Accessed April 29, 2021

Do I Need to Change My Type 2 Diabetes Medication?. https://www.webmd.com/diabetes/change-type-2-diabetes-meds. Accessed April 29, 2021

Types of Diabetes Type 2 Medications. https://www.medicinenet.com/antidiabetics-oral/article.htm. Accessed April 29, 2021

Diabetes drugs may sometimes do more harm than good. https://www.newscientist.com/article/dn25820-diabetes-drugs-may-sometimes-do-more-harm-than-good/. Accessed April 29, 2021

A Complete List of Diabetes Medications. https://www.healthline.com/health/diabetes/medications-list#takeaway. Accessed April 29, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/04/2023

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ควบคุมเบาหวาน ไม่อยู่ อาจเสี่ยงเป็น โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคเบาหวาน ผลกระทบ ที่เกิดขึ้น และการป้องกันโรคเบาหวาน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 04/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา