🔥 หัวข้อเด่น

ชวนทุกคนร่วมกิจกรรม กับ Hello คุณหมอ Community ประจำเดือนสิงหาคม


แค่ปรึกษาหมอ ก็ได้ลุ้นรางวัล 🎁


รางวัลที่ 1 หม้อทอด ขนาด 5 ลิตร มูลค่า 1,290 บาท จำนวน 2 ล่าสุด

รางวัลที่ 2 บัตรแทนเงินสด (Top Supermarket และ Lotus's )มูลค่า 500 บาท จำนวน 7 ใบ

รางวัลที่ 2 บัตรแทนเงินสด (Lotus’s )มูลค่า 300 บาท จำนวน 2 ใบ


👉🏻ในหัวข้อใดก็ได้ ทั้ง 3 หมวดนี้

เบาหวาน

การเลี้ยงดูบุตร

การตั้งครรภ์


📌เข้าร่วมกิจกรรมคลิกเลย

https://hellokhunmor.com/community/


📌กติกาง่าย ๆ เพียงแค่

  1. สมัครสมาชิกเพื่อเข้าร่วม ชุมชน Hello คุณหมอ ที่นี่ https://hellokhunmor.com/community/
  2. โพสกระทู้คำถาม ผ่าน Hello คุณหมอ Community ในหัวข้อใดก็ได้
  3. แปะภาพนี้ลงไปในกระทู้ด้วย พร้อมติด แฮชแท็ก #HelloคุณหมอCommunityAugust


เงื่อนไขผู้โชคดี

- ทางทีมงานจะทำการเลือกผู้โชคดีและทำถูกกติกาที่กำหนดไว้ โดยจะเป็นการเลือกแบบสุ่ม

- สงวนสิทธิ์ของรางวัล 1 สิทธิ์ ต่อ 1 ท่าน เท่านั้น

- คำตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด


สามารถร่วมสนุกได้ตั้งแต่ วันนี้ จนถึง 31 สิงหาคม 2565 นี้เท่านั้น


#HelloคุณหมอCommunityAugust

ชวนทุกคนร่วมกิจกรรม กับ Hello คุณหมอ Community ประจำเดือนสิงหาคมชวนทุกคนร่วมกิจกรรม กับ Hello คุณหมอ Community ประจำเดือนสิงหาคม
ชอบ
แชร์
บันทึก
แสดงความเห็น
6
16

16 ความเห็น

สวัสดีค่ะ มีลูกสาวอายุ 2ขวบ 10 เดือน ปัจจุบันมีโรคเยอะมาก ลูกวัยนี้ถ้าไม่ไปโรงเรียนจะมีผลต่อพัฒนาการเด็กมั้ย และการเข้ากับเพื่อนมั้ยค่ะ #HelloคุณหมอCommunityAugust


2 ปีที่แล้ว
ชอบ
ตอบกลับ
2
@แม่นีน่า พี่จีโน่ กับ น้องจีน่า

สวัสดีคุณแม่นีน่านะคะ น้องๆ ที่ป่วยมีโรคประจำตัวหลายอย่าง มักไม่ได้เข้าเรียนตามวัย ทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวล


น้องอายุ 2 ปี 10 เดือน หากเทียบไป จะเท่ากับ ชั้นเตรียมอนุบาล หรือ Preschool ; ซึ่งในความเป็นจริง วัตถุประสงค์ของการไปเรียนในชั้นนี้ คือการไปเล่นกระตุ้นพัฒนาการ และการทำกิจกรรมส่งเสริมการเข้าสังคม เน้นการเริ่มต้นดูแลตัวเอง เด็กๆ แทบจะไม่ได้แตะวิชาการ หรือการเรียนเป็นวิชาที่ชัดเจน เราเน้นการบูรณาการเพื่อเป็นพื้นฐานของการเข้าเรียนชั้นอนุบาลค่ะ

ดังนั้น หากน้องไม่ได้ไปเข้าเรียนที่ชั้นนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถจัดกิจกรรมหลายๆอย่างที่คล้ายการไปโรงเรียนได้ค่ะ เช่น การทำศิลปะกระดาษฉีก แล้วนำมาแปะภาพ ให้น้องเลือกสีสันตามชอบ เพิ่มการเรียนรู้สีต่างๆไปด้วย ได้ฝึกทั้งการมองเห็นสี การใช้สมองส่วนศิลปะและจินตนาการ

/ การนวดและปั้นดินน้ำมัน ช่วยเรื่องการใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็ก และการทำงานประสานกันของมือกับตา / กิจกรรมเต้นประกอบจังหวะ หาเพลงน่ารักๆ ที่น้องชอบ คุณแม่ใส่ท่าทางเองได้เลยนะคะ เราจะได้สนุกไปกับลูกด้วย น้องได้เต้น เพิ่มความแข็งแรงของปอด หัวใจ กล้ามเนื้อด้วยค่ะ

หมอคิดว่าถ้าคุณแม่ดูแลร่างกายน้องให้แข็งแรงระหว่างรักษาตัว และจัดกิจกรรมต่างๆ ให้น่าสนใจกระตุ้นการเรียนรู้ได้ พอถึงวัยเข้าอนุบาลจริงๆ (คือประมาณ 4-5 ปี) น้องก็จะมีความพร้อม ทันเพื่อนๆ แน่ๆค่ะ

เป็นกำลังใจให้คุณแม่นะคะ

หมอมีบทความพัฒนาการเด็กปฐมวัยมาฝากคุณแม่ค่ะ เด็กปฐมวัย

2 ปีที่แล้ว
ชอบ
ตอบกลับ

หนูอายุ 22 ส่วนสูง 160 น้ำหนักประมาณ 70 จะมีโอกาสเป็นเบาหวานมั้ยคะ #HelloคุณหมอCommunityAugust

2 ปีที่แล้ว
ชอบ
ตอบกลับ
1

ลูกสาว3ขวบตอนนี้เลี้ยงยากมากเอาแต่ใจตัวเองงองแงที่สำคัญตอนนี้เขาหายจากอาการป่วยโควิดมาไม่มีภูมิคุ้มกันที่มากพอเข้าออกโรงพยาบาลบ่อยเดือนนี้3รอบแล้วแอดมิดทีละ5วันตลอดเราควรทำยังให้เขาแข็งแรงขึ้นและไม่ป่วยและเอาแต่ใจตัวเองค่ะ #HelloคุณหมอCommunityAugust

2 ปีที่แล้ว
ชอบ
ตอบกลับ
3
@สุกัญญา วันเย็น

คุณแม่สุกัญญาถามมา 2 ประเด็นนะคะ หมอตอบทีละประเด็นดังนี้ค่ะ

1.เรื่องเลี้ยงยาก เอาแต่ใจ ในเด็กวัย 2-4 ปี พบได้บ่อยค่ะ เพราะวัยนี้เราจะเรียกว่า self center คือเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาลเลยค่ะ น้องจะไม่เข้าใจเหตุผลที่คุณแม่พยายามอธิบาย เช่น อยากให้คุณแม่เล่นด้วย แต่คุณแม่กำลังทำงาน เธอจะงอนไปเลยค่ะ ไม่เข้าใจงานของคุณแม่ ดังนั้น ให้มองว่าน้องเป็นศูนย์กลางค่ะ ตามใจเออๆออๆ ไปกับน้องบ้างนิดหน่อย จะลดอารมณ์ที่ขึ้นๆ ลงๆ ของเด็กวัยนี้ได้ และถ้าน้องอารมณ์ดี เราค่อยสอดแทรกการสอนเหตุผลง่ายๆ ค่ะ เช่น เดี๋ยวคุณแม่เล่นป้อนข้าวตุ๊กตากับหนู 5 นาที จากนั้นหนูทำอาหารป้อนน้องเองแทนคุณแม่ได้ไหมคะ คุณแม่มีปัญหาต้องไปจัดการ ส่วนใหญ่เด็กวัยประมาณ 3 ปี จะยอมทำตาม ถ้าได้รับการยอมมาก่อนหน้านี้ค่ะ ลองใช้จิตวิทยากับน้องนะคะ ลูกคือแบบฝึกหัดที่ดีที่สุดของการเป็นแม่ค่ะ สู้ๆ ค่ะ ลองอ่านบทความวิธีรับมือน้องเกเรดูนะคะ รับมือลูกเกเร

2.หลังจากป่วยโควิด แทบทุกคนมีภาวะภูมิคุ้มกันแปรปรวนได้ค่ะ จะนานเท่าไหร่ก็แตกต่างกันแต่ละคน ดังนั้น เน้นเรื่องการรับประทานอาหารให้ครบหมู่ / รักษาสุขอนามัย / การนอนพักผ่าน / ออกไปถูกแสงแดดบ้างเพื่อรับวิตามินดี / ออกกำลังกายตามสมควร ไม่หักโหม / หากจะรับประทานวิตามินรวม เป็นระยะเวลาสั้นๆ ก็ไม่เสียหายนะคะ เพราะหลังหายป่วย ร่างกายต้องใช้สารอาหารและวิตามินเกลือแร่ ในการฟื้นฟูร่างกายค่ะ ปรึกษากุมารแพทย์ประจำตัวดูอีกทีนะคะ เพราะเด็กบางคนหลังหายป่วย มีภาวะซีด ภาวะอักเสบในบางอวัยวะร่วมด้วย ควรปรับยาให้เหมาะกับแต่ละรายค่ะ

2 ปีที่แล้ว
ชอบ
ตอบกลับ

#HelloคุณหมอCommunityAugust

ลูกสาว6ขวบค่ะ ชวนลูกเรียนว่ายน้ำ เรียนไปแป้นนึง พอจะว่ายได้ก็ไม่ยอมไปเรียนแต่ไปเล่นน้ำไปค่ะ ชวนเรียนเปียนโน เรียนยังไม่จบคอส ไม่อยากเรียนอีกแล้วบอกไม่ชอบ เราควรให้ลูกไปต่อหรือพอแค่นี้คะคุณหมอ ควรให้ลูกเรียนต่อ หรือให้ลูกค้นหาสิ่งที่ลูกชอบคะ ใจนึงก็กลัวลูกหยิบโหย่งทำอะไรไม่สุดค่ะ

2 ปีที่แล้ว
ชอบ
ตอบกลับ
2
@Tooktawate Charoenkit

ปัญหาการไม่อยากเรียน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ก็พบได้บ่อยค่ะ ส่วนหนึ่ง เด็กวัย 6 ปี อาจยังมีสมาธิการเรียนไม่นานมาก หากกิจกรรมที่ทำสนุก ก็จะช่วยจูงใจให้น้องอยากเรียนหรืออยากทำต่อค่ะ แนะนำคุณแม่ถามพฤติกรรมน้องจากคุณครู ว่าขณะเรียน น้องดูมีความสุขไหม หรือบอกคุณครูตรงๆ ว่าดูเหมือนน้องไม่ค่อยอยากเรียน ลองปรับการสอนให้เหมาะกับอุปนิสัยน้อง อาจไม่ต้องคาดหวังผล ว่าจะเรียนได้เร็วแบบน้องๆ คนอื่น

อีกกรณีหนึ่ง หากเด็กเรียนแต่ละอย่างแล้วเบื่อง่าย ต้องสังเกตว่ามีภาวะซนสมาธิสั้นไหมด้วยค่ะ

สู้ๆค่ะคุณแม่

2 ปีที่แล้ว
ชอบ
ตอบกลับ
@Tooktawate Charoenkit



ชวนทุกคนร่วมกิจกรรม กับ Hello คุณหมอ Community ประจำเดือนสิงหาคมชวนทุกคนร่วมกิจกรรม กับ Hello คุณหมอ Community ประจำเดือนสิงหาคม
2 ปีที่แล้ว
ชอบ
ตอบกลับ
@Tooktawate Charoenkit



ชวนทุกคนร่วมกิจกรรม กับ Hello คุณหมอ Community ประจำเดือนสิงหาคมชวนทุกคนร่วมกิจกรรม กับ Hello คุณหมอ Community ประจำเดือนสิงหาคม
2 ปีที่แล้ว
ชอบ
ตอบกลับ

ลูกสาวคนเล็กพึ่งเข้าเรียนอนุบาล 1 แต่มีปัญหาคือไม่อยากไปโรงเรียนร้องไห้ตลอดเวลาพูดถึงโรงเรียน เหมือนลูกไม่ชอบและกังวนใจ จึงไม่แน่ใจเพราะสาเหตุอะไร แม่อย่างเราควรทำอย่างไรดีค่ะ อยากได้คำแนะนำ

ชวนทุกคนร่วมกิจกรรม กับ Hello คุณหมอ Community ประจำเดือนสิงหาคมชวนทุกคนร่วมกิจกรรม กับ Hello คุณหมอ Community ประจำเดือนสิงหาคม
2 ปีที่แล้ว
ชอบ
ตอบกลับ
1
@รจนา แก่นจันทร์

สวัสดีคุณแม่รจนาค่ะ

ปัญหานี้เจอกันหลายบ้านเลยค่ะ เป็นความกังวลใจ ที่กลัวลูกปรับตัวเข้าโรงเรียนไม่ได้ เพราะเด็กแต่ละคน มีความสามารถในการปรับตัวไม่เท่ากัน เด็กบางคนเข้าใจการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวง่าย โชคดีไปค่ะ

สำหรับลูกคุณแม่ ซึ่งน่าจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการปรับตัว ให้คุณแม่ทำใจเข้มแข็งก่อนนะคะ ลองคุยกับคุณครู ว่าระหว่างวัน น้องร่วมมือทำกิจกรรมต่างๆในโรงเรียนดีหรือไม่ เพราะเด็กบางคน ร้องไห้หนักหนาเหมือนอยากไปโรงเรียน แต่พฤติกรรมที่โรงเรียน คือน้องสนุก และร่วมมือดี อันนี้ไม่น่ากังวลค่ะ เป็นแค่ช่วงเปลี่ยนผ่าน

แต่หากพฤติกรรมที่โรงเรียน น้องมักแยกตัว หรือร้องไห้เกือบตลอด อาจต้องคุยกับทางโรงเรียน ว่าค่อยๆ เพิ่มเวลาการเข้าเรียน เช่น เรียนเฉพาะช่วงเช้า 2 สัปดาห์ แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาไปเมื่อน้องร้องไห้น้อยลง อาจช่วยแก้ปัญหาได้ค่ะ

แต่หากร้องมากจริงๆ พฤติกรรมถดถอย แปลว่าน้องอาจไม่พร้อมเข้าเรียน คงต้องพบคุณหมอพัฒนาการเด็กร่วมด้วยแล้วค่ะ

2 ปีที่แล้ว
ชอบ
ตอบกลับ

1.ทำไมลูกกินน้อยหรือเบื่ออาหาร?

2.ลูกนอนหายใจเสียงดังอันตรายมั้ย?

3.ทำไมลูกชอบโยนของใส่ค่ะ

4.ลูกชอบให้อุ้มตลอดเวลาทำยังไงดีค่ะ

5.เวลาไม่ได้ดั่งใจเขาจะร้องไห้ไม่ยอมจะทำยังดีค่ะ

#HelloคุณหมอCommunityAugust



ชวนทุกคนร่วมกิจกรรม กับ Hello คุณหมอ Community ประจำเดือนสิงหาคมชวนทุกคนร่วมกิจกรรม กับ Hello คุณหมอ Community ประจำเดือนสิงหาคม
ชวนทุกคนร่วมกิจกรรม กับ Hello คุณหมอ Community ประจำเดือนสิงหาคมชวนทุกคนร่วมกิจกรรม กับ Hello คุณหมอ Community ประจำเดือนสิงหาคม
2 ปีที่แล้ว
ชอบ
ตอบกลับ
1
@แม่น้อง ไอคิว

สวัสดีคุณแม่น้องไอคิวนะคะ ถามมาเป็นข้อๆ เลย น่ารักมากค่ะ ตอบคำถามตามแต่ละข้อนะคะ


1.ทำไมลูกกินน้อยหรือเบื่ออาหาร?

เมื่อวัยน้องพัฒนามากขึ้น เด็กจะสนใจสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมต่างๆ มากกว่าการรับประทานอาหารค่ะ แนะนำว่าจัดอาหารให้หน้าตาน่าทาน เปลี่ยนเมนูบ่อยๆ เช่น ปกติทานข้าว ก็เปลี่ยนเป็นก๋วยเตี๋ยว แซนด์วิช สปาเกตตี้ ให้มีสีสันน่าทาน

จัดระบบการรับประทานอาหารให้เป็นเวลา จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการรับประทานอย่างสงบ ก็จะช่วยให้น้องอยากทานอาหารมากขึ้นได้ค่ะ

อ่านการดูแลโภชนาการลูกเพิ่มเติมนะคะ โภชนาการเด็ก


2.ลูกนอนหายใจเสียงดังอันตรายมั้ย?

ลองจับน้องนอนตะแคงดูนะคะ หากเสียงเงียบ เด็กน้อนสบาย อาจเกิดจากน้องหลับลึก ลิ้นลงไปอุดทางเดินหายใจบางส่วน หรือมีต่อมทอนซิลโตนิดหน่อย ซึ่งตะแคงแล้วดีขึ้น มักไม่อันตรายค่ะ

แต่หากเสียงดังตลอดการนอนแม้เปลี่ยนท่า แนะนำไปตรวจกับคุณหมอนะคะ กลัวจะเป็นต่อมอะดีนอยด์โต หรือมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับค่ะ


3.ทำไมลูกชอบโยนของใส่ค่ะ

เด็กเล็ก พัฒนาการทางกล้ามเนื้อมัดเล็กจะค่อยๆพัฒนาจากศีรษะ สู่ปลายเท้าค่ะ น้องมักหยิบจับของ และโยน เพราะความอยากรู้ว่าโยนไปแล้วเสียงจะเป็นอย่างไร และปฏิกิริยาของผู้ปกครอง ที่บางครั้งอาจจะตกใจเมื่อน้องโยนของ หรือวิ่งไปเก็บ จะทำให้น้องรู้สึกสนุก ก็จะยิ่งโยนของซ้ำๆ ค่ะ

แนะนำเก็บของให้เป็นที่ มีฝาปิด ของอะไรที่จะตกแตก หรือของมีคม เก็บให้มิดชิดนะคะ

เมื่อน้องเติบโตขึ้น การโยนของจะหายไปเองค่ะ


4.ลูกชอบให้อุ้มตลอดเวลาทำยังไงดีค่ะ

น้องติดอุ้ม เป็นปัญหาพบบ่อยค่ะ ส่วนใหญ่ผู้ปกครองมักทนเสียงร้องรบเร้าให้อุ้มไม่ค่อยได้ พอเราตอบสนองเสียงร้องให้อุ้มเร็ว เด็กก็จะจดจำค่ะ ว่าร้องแบบนี้ ทำมือให้อุ้ม แล้วได้อุ้มตลอด

ลองเบี่ยงเบนความสนใจให้อุ้ม เป็นชวนทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น เอาลูกบอลสีสวยๆ ออกมาโยนเล่นเบาๆ หรือ นำของเล่นที่น้องชอบออกมาชวนเล่น เมื่อเบี่ยงเบนแล้วน้องสนใจ ก็งดอุ้ม จูงมือน้องมาเล่นแทน น้องจะค่อยๆ ลืมความติดอุ้มไปได้ในที่สุดค่ะ (ใช้เวลานะคะ บางเคส แก้เร่องติดอุ้มเป็นเดือนๆ เลยค่ะ)


5.เวลาไม่ได้ดั่งใจเขาจะร้องไห้ไม่ยอมจะทำยังดีค่ะ

ใจแข็งไว้ค่ะคุณแม่ ถ้าแน่ใจว่าสิ่งที่น้องร้องไห้หนักหนานั้นไม่อันตราย น้องเอาแต่ใจจะเอาของ เราต้องใจแข็ง แต่ไม่ใช้อารมณ์นะคะ

พาน้องออกจากสถานการณ์นั้นๆ และแน่นอน พาไปทำกิจกรรมเบี่ยงเบนความสนใจค่ะ เดี๋ยวหายค่ะ

2 ปีที่แล้ว
ชอบ
ตอบกลับ

ลูกสาวคนโตเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น เหมือนคนเงียบเก็บกด มีอะไรไม่ค่อยคุย ชอบเก็บตัว ความเห็นไม่ค่อยตรงกัน คุณแม่ควรคลี่คลายสถานการณ์หรือต้องทำอย่างไรดีคะ

ชวนทุกคนร่วมกิจกรรม กับ Hello คุณหมอ Community ประจำเดือนสิงหาคมชวนทุกคนร่วมกิจกรรม กับ Hello คุณหมอ Community ประจำเดือนสิงหาคม
ชวนทุกคนร่วมกิจกรรม กับ Hello คุณหมอ Community ประจำเดือนสิงหาคมชวนทุกคนร่วมกิจกรรม กับ Hello คุณหมอ Community ประจำเดือนสิงหาคม
2 ปีที่แล้ว
ชอบ
ตอบกลับ
1
@พ.ญ.อนงค์พร ผาภูมิ

ขอบคุณค่ะคุณหมอ จะนำไปปฏิบัติใช้ค่ะ

2 ปีที่แล้ว
ชอบ
ตอบกลับ
1
@Nittha Techarungtawin

วัยรุ่น เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจค่ะ คุณพ่อคุณแม่ที่เลี้ยงดูน้องมาตั้งแต่เล็กๆ มักเคยชิน ว่าน้องคือลูกเล็กของเรา มักใช้การเลี้ยงดูแบบเด็กที่เราเคยทำจนชิน

ก่อนอื่น ทำความเข้าใจว่าวัยรุ่น เค้ามักจะต้องการที่ทางเป็นส่วนตัว และต้องการเวลาส่วนตัวมากขึ้น ซึ่งคุณแม่คงจัดห้องส่วนตัวให้ และให้เวลาน้องตามที่ต้องการ แต่ก็ควรทำข้อตกลงกันด้วยคำพูดนุ่มนวล ว่าคุณแม่คิดว่าอยากให้น้องมีเวลาร่วมกับคนในครอบครัวด้วย เช่น ตอนรับประทานอาหารด้วยกัน หรือดูโทรทัศน์ด้วยกัน หรือทำกิจกรรมบางอย่างด้วยกัน เช่น เดินออกกำลัง หรือช่วยกันทำงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ สัก 1-2 ชม. ค่อยให้น้องใช้เวลาของน้องเอง อาจจะไม่ทุกวัน สัปดาห์ละ กี่วัน ก็ตามตกลงกันค่ะ นอกจากนี้ ในช่วงสุดสัปดาห์ อาจให้น้องเสนอ ว่าอยากทำกิจกรรมอะไร ที่ไหน สักเดือนละ 1-2 ครั้ง การใช้เวลาดีๆ ร่วมกัน ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในครอบครัวค่ะ


ส่วนเรื่องความเห็นที่ไม่ค่อยตรงกัน วัยรุ่นมักต้องการการยอมรับ และการรับฟังมากขึ้นค่ะ คุณแม่คงต้องหาจุดสมดุลของการแก้ปัญหาแต่ละอย่าง เช่น หากน้องอยากใส่กางเกงขาสั้นมากๆ ออกไปเที่ยวกับเพื่อน แต่คุณแม่เห็นว่าไม่ค่อยสุภาพ และอาจอันตรายเมื่อพบเจอเพศตรงข้าม ก็อาจตกลงกันว่า กางเกงยาวลงมาหน่อยได้หรือไม่ หนูอยากได้ความยาวกางเกงประมาณไหน เดี๋ยวเราไปซื้อด้วยกัน

ประมาณนี้ค่ะ น้องจะได้ไม่รู้สึกถูกขัดใจทุกอย่าง แต่ก็ไม่ได้ตามใจทุกอย่างเช่นกัน


อย่าลืมใช้คำพูด น้ำเสียง และกิริยาท่าทาง ให้น้องรู้สึกว่าคุณแม่รัก และห่วงใยน้องเสมอ และให้ความไว้ใจ เชื่อมั่นในตัวน้อง น้องจะเปิดใจมากขึ้น อยากเล่าเรื่องต่างๆ ให้ผู้ปกครองฟัง (อย่าลืมรับฟังน้องให้มากๆ นะคะ)

2 ปีที่แล้ว
ชอบ
ตอบกลับ
1
ค้นหาชุมชนของคุณ
สำรวจกลุ่มชุมชนของเราตามหัวข้อด้านสุขภาพที่คุณต้องการมากที่สุด"