banner

ข้อมูลพื้นฐาน

ไวรัสโคโรนา

Omicron (โอไมครอน) ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ที่ควรระวัง

ปัจจุบันโควิด-19 ที่แพร่ระบาดทั่วโลก ได้กลายพันธุ์ออกเป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น อัลฟา (Alpha) เบตา (Beta) แกมมา (Gamma) เดลตา (Delta) แต่ล่าสุดเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ของแอฟริกาใต้พบ Omicron (โอไมครอน หรือ โอมิครอน) ซึ่งเป็นไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศแอฟริกา และเริ่มแพร่ระบาดไปยังประเทศอื่น ๆ ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถระบุถึงความรุนแรงของอาการ และประสิทธิภาพของวัคซีนต่อโควิด-19 สายพันธุ์นี้ได้ จึงแนะนำให้ทุกประเทศเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ให้ดี ทำความรู้จักโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron Omicron (โอไมครอน หรือ โอมิครอน) คือ เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเป็นที่น่าจับตามองและเฝ้าระวังเป็นอย่างมากถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศแอฟริกา จากนั้นไม่นานก็ถูกพบอีกที่ประเทศฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ร่วมประชุมเพื่อประเมินตัวแปรของไวรัส และได้ ยืนยันว่า Omicron เป็นเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่มีตัวแปร B.1.1.529 ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวล ชนิดที่ […]

อัปเดตรายวัน

ไวรัสโคโรนา

อาการโอมิครอน มีอะไรบ้าง เช็กตัวเองด่วน

ปัจจุบันโควิดสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ได้เริ่มแพร่ระบาดทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่ขณะนี้ได้รับการยืนยันจากทางกระทรวงสาธารณสุขแล้วว่า มีผู้ติดเชื้อโอมิครอนมากกว่า 100 ราย และอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ จึงอาจทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงข้อมูลการป้องกัน อาการ ที่แน่ชัด เพื่อความปลอดภัย ควรสำรวจอาการของตนเอง เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที โควิดสายพันธุ์โอมิครอน คืออะไร โอมิครอน (Omicron) คือเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ถูกพบครั้งแรกในประเทศแอฟริกา ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยกระดับให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล เนื่องจากโอมิครอน มีการกลายพันธุ์ของยีนมากถึง 50 ตำแหน่ง โปรตีนส่วนหนามของไวรัส 32 ตำแหน่ง และการกลายพันธุ์ส่วนที่เป็นตัวจับเซลล์ในร่างกาย 10 ตำแหน่ง โดยการกลายพันธุ์นี้อาจส่งผลให้ไวรัสหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ดี แพร่กระจายได้ไว มีความเสี่ยงที่ส่งผลให้ติดเชื้อซ้ำได้ อาการโควิดสายพันธุ์โอมิครอน มีอะไรบ้าง อาการโควิดสายพันธุ์โอมิครอนอาจส่งผลความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่บุคคล ขึ้นอยู่กับสภาวะทางสุขภาพ อายุ จากข้อมูลของผู้ติดเชื้อโอมิครอนส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการใด ๆ บางคนอาจมีอาการน้อยเหมือนไข้หวัดธรรมดา ตามการรายงานจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติประเทศอังกฤษ และคณะนักวิจัยประเทศแอฟริกาใต้ เผยว่า อาการโควิดสายพันธุ์โอมิครอนแตกต่างจากอาการป่วยของโควิด-19 สายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งสามารถสังเกตได้ ดังนี้  ปวดกล้ามเนื้อแบบไม่รุนแรง เหงื่อออกช่วงเวลากลางคืน ไอแห้ง เจ็บคอ อ่อนเพลีย […]

ไวรัสโคโรนา

โควิดสายพันธุ์มิว ไวรัสกลายพันธุ์ เสี่ยงดื้อวัคซีน หลบภูมิคุ้มกัน

องค์การอนามัยโลก (WHO) พบเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ โควิดสายพันธุ์มิว (Mu) หรือที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า B.1.621 โดยถูกพบครั้งแรกในประเทศโคลอมเบีย ทวีปอเมริกาใต้ เมื่อต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2564  โควิดสายพันธุ์มิว เกิดจากการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง B.1 (ตำแหน่งการกลายพันธุ์ R346K, E484K, N501Y, D614G และ P681H) โดยเกิดจากตำแหน่ง E484K และ N501Y ที่เป็นตำแหน่งกลายพันธุ์ในระดับพันธุกรรม ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าโควิดสายพันธุ์มิวอาจหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่อาจส่งผลให้ภูมิต้านทานที่ได้จากการฉีดวัคซีนลดลง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังคงต้องทำการศึกษาและวิจัยเพิ่มเติม เพื่อยืนยันถึงความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสดังกล่าวนี้ นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดในประเทศโคลอมเบีย โควิดสายพันธุ์มิวก็ระบาดไปหลายประเทศทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โดยในปัจจุบันโควิดสายพันธุ์มิวได้แพร่ระบาดแล้วใน 39 ประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่พบในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา โดยในทวีปอเมริกา พบในประเทศโคลอมเบีย ประเทศเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะที่ในทวีปยุโรปพบในประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศเดนมาร์ก ประเทศเยอรมนี และล่าสุดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พบผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชรา เมืองซาเวนเทม ใกล้กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เสียชีวิตจากโควิดสายพันธุ์มิวจำนวน 7 คน ถึงแม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนครบแล้ว แต่ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีอายุระหว่าง 80-90 ปี และสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง  สำหรับทวีปเอเชีย […]

ไวรัสโคโรนา

โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส แตกต่างจากสายพันธุ์เดลต้าอย่างไร

โควิดสายพันธุ์เดลต้า แพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์ทั่วไป และล่าสุดพบว่ามีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus) จากการรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่า โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส แพร่กระจายไปแล้วกว่า 95 ประเทศทั่วโลก ประเทศที่ประชากรได้รับวัคซีนน้อย แม้จะมีการล็อคดาวน์ หรือมีมาตรการต่าง ๆ ที่แต่ละประเทศจัดตั้งขึ้นเพื่อชะลอการแพร่เชื้อ ก็อาจเสี่ยงเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิดสายพันธุ์นี้ได้มากที่สุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส จากการรายงานองค์การอนามัยโลกได้ เผยว่า โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าพลัส แพร่กระจายแล้วกว่า 95 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่อาจมีความเสี่ยงมากที่สุดคือ ประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนให้แก่ประชากรต่ำ ถึงแม้จะเพิ่มความเข้มงวดในการลดการแพร่เชื้อด้วยการล็อคดาวน์ หรือมีมาตรการต่าง ๆ ที่แต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ตาม หากทุกคนไม่มีการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากพอ รวมถึงเพิกเฉยต่อการป้องกันตนเองด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ และรักษาระยะห่างทางสังคม การระบาดโควิด-19สายพันธุ์เดลต้าพลัส และสายพันธุ์อื่น ๆ ก็คงยังระบาดต่อไปได้  โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส แตกต่างจากสายพันธุ์เดลต้าอย่างไร ข้อแตกต่างอย่างเดียวของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า และสายพันธุ์เดลต้าพลัส คือ การกลายพันธุ์ของโปรตีนหนาม K417N ทำให้ไวรัสโคโรนา 2019 เกาะตัวกับเนื้อเยื่อบนปอดได้แน่นขึ้น ทั้งยังเพิ่มอัตราการแพร่กระจายได้รวดเร็ว และสามารถหลบเลี่ยงปฏิกิริยาตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้เป็นอย่างดี ทำให้คนส่วนใหญ่อาจไม่รู้ตัวว่าได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้าเข้าสู่ร่างกายแล้ว เพราะมักไม่มีอาการใด ๆ แสดงออกมา จนกว่าเชื้อไวรัสจะเริ่มลงปอด […]

ไวรัสโคโรนา

เช็ก! พื้นที่สีแดงติดเชื้อโควิด มีจังหวัดอะไรบ้าง

ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ในประเทศไทย มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงได้กำหนดพื้นที่เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งพื้นที่ที่ต้องควบคุมและเข้มงวดสูงสุด คือ พื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก หรือที่เรียกว่า “พื้นที่สีแดง” เรามาเช็กกันหน่อยดีกว่าว่า พื้นที่สีแดงติดเชื้อโควิด มีจังหวัดที่คุณอยู่หรือไม่ และจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหากอยู่ในพื้นที่สีแดง ติดตามอ่านได้ในบทความ Hello คุณหมอ   พื้นที่สีแดงติดเชื้อโควิด พื้นที่สีแดงติดเชื้อโควิด  คือ พื้นที่ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ซึ่งในปัจจุบัน คือ พื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากพบยอดผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจำนวนมาก รัฐบาลจึงต้องทำการควบคุมเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่น ให้ประชาชนสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน พยายามไม่ออกไปในที่ที่คนพลุกพล่าน เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร  มาตรการป้องกัน สำหรับพื้นที่สีแดงติดเชื้อโควิด ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ออกมาตรการควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ฉบับที่ 6 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้  ห้ามใช้อาคารหรือสถานที่ที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ห้ามจัดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการควบคุมโรค ยกเว้นจะได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ เช่น การจัดงานแต่ง แต่ต้องจัดตามมาตรการตามแนวทางสาธารณสุข  ปิดสถานที่ที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค โดยให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาสั่งปิดพื้นที่ภายในจังหวัด การจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ให้จัดระเบียบการเข้าใช้บริการ จำกัดจำนวนคนเข้าร้าน โดยให้จัดสถานที่ตามแนวทางปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร สามารถเปิดได้ตามปกติ แต่เป็นลักษณะซื้อกลับไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด สามารถสั่งปิดหรือเปิดพื้นที่นอกเหนือจากที่กำหนดได้ สามารถเดินทางข้ามจังหวัดได้ […]

ไวรัสโคโรนา

5 สายพันธุ์โควิด-19 ที่มีการกลายพันธ์ุในปัจจุบัน

โรคโควิด-19 (Covid-19) หมายถึงการติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบัน สายพันธุ์โควิด-19 ได้มีการกลายพันธุ์ออกเป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ เช่น อัลฟ่า (Alpha) เบต้า (Beta) แกมม่า (Gamma) เดลต้า (Delta) รวมถึงสายพันธุ์ใหม่ที่มีชื่อว่า โอไมครอนหรือโอมิครอน (Omicron) ซึ่งโควิด-19 แต่ละสายพันธุ์อาจมีอัตราการแพร่กระจาย และความรุนแรงของการติดเชื้อที่แตกต่างกันออกไป 5 สายพันธุ์โควิด-19 ที่มีการกลายพันธ์ุในปัจจุบัน 1. สายพันธุ์อัลฟ่า (สายพันธุ์ B.1.1.7)     โควิด-19 สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) หรือสายพันธุ์อังกฤษ  ค้นพบที่มณฑลเคนท์ สหราชอาณาจักร ในช่วงเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2564  และแพร่กระจายไปหลายประเทศทั่วโลก  มีอัตราการแพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิม 40-90% นอกจากนี้ผลงานวิจัยที่ ถูกแพร่ใน เว็บไซต์ Nature เมื่อ วันที่ 15 มี.ค. ปี พ.ศ. 2564 เรื่องอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อสาย SARS-CoV-2 B.1.1.7  รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์ B.1.1.7 […]

วัคซีนโควิด-19

ไวรัสโคโรนา

บูสเตอร์โดส วัคซีนป้องกันโควิด จำเป็นหรือไม่ เหมาะกับใคร

ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีวัคซีนที่อาจเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงเมื่อติดโรคโควิด-19 โดยประชากรในประเทศไทยเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบ 2 เข็ม มากกว่า 42 ล้านคน และมีผู้ได้รับวัคซีน บูสเตอร์ (booster) หรือบูสเตอร์โดส เข็มที่ 3 มากกว่า 3 ล้านคน ซึ่งวัคซีนบูสเตอร์ อาจมีความจำเป็นในการป้องกันโควิดสายพันธ์ุใหม่ที่ก่อตัวขึ้นและระบาดในวงกว้าง เช่น เดลต้า (Delta) โอไมครอน (Omicron) อย่างไรก็ตาม ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ ควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้นว่าตนเองนั้นเหมาะที่จะเข้ารับการฉีดหรือไม่ และควรเลือกวัคซีนชนิดใดเป็นเข็มบูสเตอร์ การฉีดวัคซีน บูสเตอร์ (booster) การฉีดวัคซีนบูสเตอร์ (booster) หรือบูสเตอร์โดส คือ การฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 หลังจากได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบ 2 เข็มแรกตามกำหนด เพราะเมื่อเวลาผ่านไป ประสิทธิภาพของวัคซีนในการเสริมภูมิคุ้มกันอาจค่อย ๆ ลดลง การฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์จึงอาจช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ป้องกันโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว การฉีดวัคซีนบูสเตอร์ อาจเป็นวัคซีนชนิดเดียวกับวัคซีน 2 เข็มแรก หรือวัคซีนต่างชนิด ทั้งนี้คุณหมออาจพิจารณาจากอายุ และภาวะสุขภาพของผู้ที่ได้รับวัคซีน วัคซีนบูสเตอร์ที่ใช้ในประเทศไทย วัคซีนบูสเตอร์ที่ใช้ในประเทศไทย มีดังนี้ 1. แอสตร้าเซนเนก้า […]

ไวรัสโคโรนา

วัคซีน Moderna เหมาะกับใคร เกิดผลข้างเคียงหรือไม่

Moderna (โมเดอร์นา) เป็นวัคซีนทางเลือกประเภท mRNA ที่ผลิตโดยบริษัทโมเดอร์นาทีเอ็กซ์ (ModernaTX, Inc.) ประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทย ได้มีการอนุมัติการใช้วัคซีนชนิดนี้เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 วัคซีนโมเดอร์นามีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19 (COVID-19) เพื่อให้วัคซีนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรได้รับวัคซีนจำนวน 2 โดส ห่างกัน 28 วัน หากพบอาการผิดปกติหลังฉีดวัคซีน เช่น หายใจลำบาก วิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว ควรแจ้งให้คุณหมอทราบทันที เพื่อความปลอดภัย วัคซีน Moderna คืออะไร Moderna (โมเดอร์นา) คือ วัคซีนชนิด mRNA ที่ผลิตจากสารพันธุกรรมของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 เพื่อช่วยกระตุ้นเซลล์ให้ผลิตสารโปรตีนสไปค์ (Spike Protein) เป็นการจำลองลักษณะของไวรัสเมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยที่ไม่มีการติดเชื้อ ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านเชื้อไวรัส เมื่อฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อแขน วัคซีนจะช่วยกระตุ้นให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันผลิตแอนติบอดีที่ช่วยจัดการเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 (COVID-19) จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือการเกิดอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อได้ ผู้ที่รับวัคซีน Moderna อาจจำเป็นต้องรับวัคซีน 2 โดส ห่างกัน 28 วัน […]

ไวรัสโคโรนา

covid vaccine ความแตกต่างของวัคซีนแต่ละประเภท

โควิด 19 (COVID-19) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในขณะนี้ ซึ่งยังไม่มีวิธีรักษาเฉพาะโรค วัคซีน (covid vaccine) จึงอาจเป็นวิธีป้องกันโควิด 19 ที่เหมาะสมที่สุด ณ ขณะนี้ วัคซีนจะช่วยพัฒนาภูมิคุ้มกันโดยเลียนแบบการติดเชื้อ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สร้างแอนติบอดีในการต่อต้านเชื้อโรค แต่ปัจจุบันมีวัคซีนหลายประเภททั้ง ไฟเซอร์ (Pfizer) โมเดอร์นา (Moderna) แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ซิโนแวค SinoVac) และ ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ที่มีกระบวนการผลิต ผลข้างเคียง และความเหมาะสมในการใช้ที่แตกต่างกัน จึงควรทำความเข้าใจวัคซีนแต่ละประเภท เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจก่อนเข้ารับการฉีด ประเภทของ covid vaccine covid vaccine แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้ mRNA Vaccine ผลิตจากสารพันธุกรรมของไวรัสที่ก่อให้เกิดโควิด 19 ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ (Spike Protein) ของเชื้อไวรัส เป็นการจำลองลักษณะของไวรัสเข้ามาในร่างกายโดยที่ไม่มีการติดเชื้อ ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัส ได้แก่ Pfizer และ Moderna วัคซีนไวรัสเวคเตอร์ (Viral […]

ไวรัสโคโรนา

เรื่องที่ควรรู้ก่อน การรับวัคซีนโควิด-19

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยืดเยื้อมาเป็นเวลาปีกว่าแล้ว นับตั้งแต่มีการระบาดครั้งแรกในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2562 วงการแพทย์ก็เร่งศึกษาโรคอุบัติใหม่นี้ จนสามารถสร้าง วัคซีนโควิด-19 ได้ในช่วงระยะเวลาอันสั้น และตอนนี้หลายประเทศก็ได้เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชากรในประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ ลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรง และอัตราการเสียชีวิตจากโรค การฉีดวัคซีนถือเป็นวิธีลดการแพร่ระบาดของโรคที่ได้ผลที่สุดในปัจจุบัน และประเทศไทยเองก็เลือกรับมือกับโรคโควิด-19 ด้วยวิธีนี้เช่นกัน สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่า การรับวัคซีนโควิด-19 สำคัญอย่างไร และเราควรเตรียมตัวก่อนไปฉีดวัคซีนอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบมาให้คุณแล้ว การรับวัคซีนโควิด-19 สำคัญอย่างไร แนวคิดเรื่องการฉีดวัคซีน มีมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 17 ผู้คนเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย เป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไข้หวัดใหญ่ และในยุคนี้ก็มี วัคซีนโควิด-19 ที่คิดค้นขึ้นเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 ที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยแต่ละประเทศพยายามให้ประชาชนได้รับวัคซีนโควิด-19 อย่างทั่วถึง เนื่องจากการรับวัคซีนโควิด-19 นั้นมีความสำคัญดังนี้ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยลดความรุนแรงของอาการที่อาจเกิดขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรคโควิด-19 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2564 เผยว่า มีวัคซีนโควิด-19 แค่ 3 ยี่ห้อ คือ Pfizer […]

ไวรัสโคโรนา

ฉีดวัคซีนโควิด มีประโยชน์อย่างไร และมีผลข้างเคียงอย่างไร

การ ฉีดวัคซีนโควิด 19 มีเป้าหมายสำคัญคือการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคโควิด-19 ทั้งช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดโรค และช่วยลดความรุนแรงของอาการจากโรคได้ อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนโควิด 19 ก็อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของวัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง วัคซีนโควิด-19 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ คือ วัคซีนเชื้อตาย วัคซีน mRNA วัคซีน viral vector vaccine และวัคซีน protein-based vaccine วัคซีนทั้ง 4 ประเภทนี้อาจจะมีการทำงานที่แตกต่างกัน แต่ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ดังนี้ เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้จดจำและหาทางกำจัดเชื้อก่อโรคโควิด-19 อย่างเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ได้ เมื่อเราฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว หากเราได้รับเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ร่างกายของเราก็จะพร้อมรับมือกับโรคนี้ ช่วยควบคุมอาการ ไม่ให้ผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการที่รุนแรง จนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ หากจำนวนผู้ที่ได้รับ วัคซีนโควิด-19 มีมากพอ อาจจะสามารถช่วยทำให้เกิด ภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ซึ่งจะช่วยควบคุม และยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ […]

ไวรัสโคโรนา

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง

กระแสข่าวเกี่ยวกับ ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในปัจจุบัน ส่งผลให้ประชาชนชาวไทยหลายคนเกิดความกังวลเรื่องความปลอดภัยหลังเข้ารับวัคซีนโควิด-19 และลังเลอยู่ว่าจะเข้ารับวัคซีนดีหรือไม่ แต่ความจริงแล้ว การฉีดวัคซีนอาจไม่ได้ร้ายแรงและน่ากลัวอย่างที่ทุกคนคิด เรื่องนี้จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ เลยค่ะ สถานการณ์โควิด-19 กับ ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย ข่าวสารเกี่ยวกับ ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 นับว่าเป็นกระแสข่าวที่ประชาชนชาวไทยหลายคนให้ความสนใจ เพราะรู้สึกกังวลในเรื่องของความปลอดภัยหลังฉีด ไม่มั่นใจระหว่างฉีดวัคซีนกับไม่ฉีดวัคซีนอันไหนจะดีต่อสุขภาพมากกว่ากัน  องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติที่ร่างกายจะได้รับผลข้างเคียงเล็กน้อยถึงปานกลางหลังได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เช่น มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายกำลังตอบสนองต่อวัคซีน และกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารเคมีบางชนิด โดยเฉพาะแอนติเจน สารที่ก่อให้เกิดการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันและเตรียมพร้อมที่จะต่อสู้กับเชื้อไวรัส ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดหลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 มีดังต่อไปนี้ มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดเมื่อยบริเวณที่ฉีดวัคซีน ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว บริเวณกล้ามเนื้อ ถึงแม้ว่าวัคซีนจะได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยาว่าปลอดภัย แต่การฉีดวัคซีนเหล่านี้ทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนจะมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง โดยผลข้างเคียงจะอยู่เพียง 12-24 ชั่วโมงหลังการฉีดวัคซีน หากร่างกายมีผลข้างเคียงนานเกิน 48 ชั่วโมง ควรติดต่อโรงพยาบาลเพื่อขอคำแนะนำในการรักษาตามลำดับขั้นตอนต่อไป ติดเชื้อโควิดมาก่อน ยังจำเป็นต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่? สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน ถึงแม้ว่าจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ก็มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้ ดังนั้นจึงควรได้รับวัคซีนโควิด-19 เสมอ แม้ว่าจะเคยเป็นโรคโควิด-19 มาก่อน […]

การป้องกันโควิด-19

การดูแลสุขอนามัย

ห่างไกลจากเชื้อโรคต่างๆ รอบตัว ด้วย การล้างมือ อย่างถูกต้อง

เนื่องจากปัญหาต่างๆ ที่กระทบต่อสุขภาพในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่นละออง PM2.5 หรือไวรัสโคโรนา (Coronavirus 2019) ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก และมีจำนวนผู้ล้มป่วยเป็นจำนวนมาก เราจึงต้องเรียนรู้วิธีป้องกันตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ เช่น การใส่หน้ากากอนามัย รวมถึง การล้างมือ อย่างถูกวิธี ในบทความนี้ที่ Hello คุณหมอ ได้นำเคล็ดลับการดูแลสุขอนามัยด้วยวิธี การล้างมืออย่างถูกต้อง มาให้ทุกคนได้ลองทำตามกัน การล้างมือ ให้สะอาด อย่างถูกวิธี สามารถทำได้อย่างไรบ้าง เพราะมือเป็นแหล่งรวมสิ่งสกปรก เมื่อเราสัมผัสกับวัตถุต่างๆ รอบตัว ที่มีเชื้อโรคขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า บางทีเราอาจเผลอไปสัมผัสกับใบหน้า ดวงตา รวมไปถึงหยิบจับอาหารเข้าปาก จนทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายโดยง่าย การล้างมืออย่างถูกวิธีนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ขั้นตอนที่ 1 : เปิดน้ำจากก๊อกล้างมือ และถูมือกับสบู่อ่อนๆ ขั้นตอนที่ 2 : ถูฝ่ามือทั้ง 2 ข้างเข้าด้วยกัน ด้วยเวลาไม่ต่ำกว่า 20 วินาที ขั้นตอนที่ 3 : เปลี่ยนท่าเป็นการถูหลังฝ่ามือสลับกันทั้ง 2 ข้าง ขั้นตอนที่ 4 : นำนิ้วมือทั้ง 2 ข้างประสานกัน […]

ไวรัสโคโรนา

ข้อควรทำและไม่ควรทำสำหรับการสวมหน้ากากอนามัย มีอะไรบ้าง

หน้ากากอนามัย มีส่วนช่วยในการป้องกันการติดเชื้อของโรคต่างๆ ได้ และเพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโรคหรือเชื้อไวรัส อย่างเช่น เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สาเหตุของโรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดในขณะนี้ ควรจะต้องมีการปฏิบัติและใช้งานหน้ากากอนามัยให้ถูกต้องและเหมาะสม ทาง Hello คุณหมอ ได้รวบรวม ข้อควรทำและไม่ควรทำสำหรับการสวมหน้ากากอนามัย มาฝากคุณผู้อ่านทุกท่าน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการสวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง แต่จะมีข้อใดบ้างนั้น ไป่านกันได้ที่บทความนี้เลยค่ะ ข้อควรทำและไม่ควรทำสำหรับการสวมหน้ากากอนามัย หน้ากากอนามัย (Medical mask) ช่วยในการป้องกันสารคัดหลั่งในกรณีที่อาจจะมีผู้อื่น หรือผู้ที่ติดเชื้อมาไอ หรือจามในระยะใกล้ๆ หน้ากากอนามัยจะช่วยกรองสารคัดหลั่งเหล่านั้นได้ ดังนั้น หน้ากากอนามัย จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสามารถช่วยในการรับมือและป้องกันเชื้อของโรคโควิด-19 แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อสวมหน้ากากอนามัยแล้ว ควรที่จะมีการใช้งานที่ถูกต้อง ดังนี้ สิ่งที่ควรทำ สวม หน้ากากอนามัย ให้กระชับและแนบติดไปกับใบหน้า สวมสายรัดของหน้ากากอนามัยไว้ที่หูเสมอ ให้หน้ากากอนามัยปิดทั้งปากและจมูกโดยไม่มีช่องว่าง ก่อนหยิบหน้ากากอนามัยมาสวม ควรล้างมือก่อนทุกครั้งด้วยน้ำสะอาดและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ไม่สัมผัสกับหน้ากากอนามัยหลังจากที่สวมไปแล้ว แต่หากจำเป็นต้องมีการจับ สัมผัส เพื่อปรับทิศทางของหน้ากากอนามัย ให้ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่สัมผัสกับหน้ากากอนามัย หากหน้ากากอนามัยชำรุด เปียกน้ำ หรือสูญเสียรูปทรง ควรเปลี่ยนใช้อันใหม่ทันที และไม่ควรใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ เมื่อถึงเวลาที่จะต้องถอดหน้ากากอนามัย ให้ถอดจากสายรัดที่คล้องอยู่บริเวณหู ไม่สัมผัสโดยตรงกับ หน้ากากอนามัย ทิ้งลงในถังขยะปิด หรือถุงดำโดยเฉพาะ จากนั้นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ สิ่งที่ไม่ควรทำ การสัมผัสกับหน้ากากอนามัยบ่อย ๆ ไม่ล้างมือทั้งก่อนและหลังการสัมผัสกับ หน้ากากอนามัย สวมหน้ากากอนามัยโดยที่ไม่แนบติดกับหน้า และมีช่องว่างระหว่างใบหน้ากับหน้ากากอนามัย ทิ้ง หน้ากากอนามัยลง […]

การดูแลสุขอนามัย

ล้างมือด้วยเจลล้างมือ พกพาง่าย ห่างไกลเชื้อโรค

ปัจจุบันเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือ โรคโควิด-19 ยังคงระบาดอย่างหนัก และยังไม่มีทีท่าว่าจะหายไปในเร็ววันนี้ สถาบันด้านสุขภาพและอนามัยต่าง ๆ ทั่วทั้งโลกต่างก็โหมโรงให้ประชาชนร่วมรับมือกับภัยพิบัติของเชื้อไวรัสในครั้งนี้ด้วยการ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และสวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ ข้อสำคัญคือไม่ควรลืมล้างมือ และควรที่จะล้างมือบ่อย ๆ ด้วย นั่นจึงทำให้การ ล้างมือด้วยเจลล้างมือ ได้รับความนิยม เนื่องจาก เจลล้างมือ สามารถที่จะพกพาได้ง่าย และใช้งานสะดวกในกรณีที่ไม่มีสบู่และน้ำ แต่การล้างมือแบบไหนให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่ากันตามไปดูกันเลยกับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ มีอะไรอยู่ในเจลล้างมือบ้าง ใน เจลล้างมือ แต่ละยี่ห้อนั้น ต่างก็มีส่วนประกอบที่แตกต่างกันออกไปบ้าง แต่ตามหลักแล้วจะมีสารประกอบหลักที่เหมือนกันทุกประการ นั่นคือแอลกอฮอล์ ซึ่งเจลล้างมือที่วางขายกันทั่วไปในท้องตลาดนี้ จะประกอบไปด้วยแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 60 ไปจนถึง 95 เปอร์เซ็นต์ โดยปกติแล้วจะเป็นแอลกอฮอล์ประเภท เอทานอล (Ethanol) ไอโซโพรพานอล (Isopropanol) หรือเอ็น โพรพานอล (N-propanol) และด้วยความเข้มข้นของสารเหล่านั้น ทำให้แอลกอฮอล์มีฤทธิ์ในการทำลายจุลินทรีย์ตัวเล็ก ๆ ได้ แต่อย่างไรก็ตาม มีเจลล้างมือบางชนิดที่เป็นเจลประเภทไม่มีแอลกอฮอล์ แต่ก็สามารถใช้เพื่อการฆ่าเชื้อโรคได้เช่นกัน โดยเจลล้างมือชนิดนี้ จะมีส่วนประกอบหลักคือ เบนซาลโคเนียมคลอไรด์ […]

สิ่งที่คุณควรรู้

ไวรัสโคโรนา

สารพันเทคนิค การดูแลตัวเองหลังหายจากโควิด-19

เชื่อว่าในขณะนี้ หลาย ๆ คนอาจจะตระหนักและรับทราบข้อปฏิบัติในการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรคโควิด-19 กันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ หรือการเว้นระยะห่าง แต่กับผู้ที่ติดโควิด-19 และรักษาหายแล้ว จะมีวิธีการดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำสารพัดเทคนิค การดูแลตัวเองหลังหายจากโควิด-19 มาฝากทุกคนกันค่ะ เทคนิค การดูแลตัวเองหลังหายจากโควิด-19 แม้ว่าผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาจนหายจาก โรคโควิด-19 แล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติในทันที ผู้ป่วยยังคงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตัวเอง รวมถึงเพื่อคอยเฝ้าระวังสัญญาณความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย กรมการแพทย์ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อดูแลตัวเองหลังหายจากโควิด-19 ไว้ ดังนี้ กักตัวจนครบ 14 วัน ปัญหาการขาดแคลนเตียงและบุคลากรสำหรับรักษา โรคโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการมักจะได้กลับบ้านหลังจากกักตัวดูแลภายในโรงพยาบาลเพียงแค่ประมาณ 10 วันเท่านั้น และจำเป็นต้องกักตัวเองที่บ้านเพิ่มจนครบกำหนด 14 วัน เพื่อให้มั่นใจว่า หายดีและไม่อยู่ในระยะที่แพร่เชื้อแล้ว จึงจะสามารถกลับมาอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติ ในช่วงระหว่างที่กักตัวที่บ้าน ควรแยกห้องนอน และถ้าเป็นไปได้ควรแยกห้องน้ำ กับพื้นที่พักอาศัย หากไม่สามารถแยกได้ ควรทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งหลังใช้งาน และห้ามใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องพบปะกับผู้อื่น ทำความสะอาด นอกเหนือจากการทำความสะอาดตามปกติแล้ว ก็ควรเน้นทำความสะอาดในจุดที่ตัวเองสัมผัสบ่อย ๆ และจุดเสี่ยงที่อาจมีการสะสมของเชื้อโรค เช่น ลูกบิดประตู […]