banner

เรื่องที่ควรรู้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

การควบคุมโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน อาหาร และการออกกำลังกาย

ประเมินความเสี่ยง

เครื่องมือสุขภาพ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน

Subot Icon

แบบประเมินการควบคุมโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน มีอะไรบ้าง และวิธีป้องกัน

ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน มีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง อาจเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานขาดการดูแลตัวเอง ไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานให้ดี โดยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ระบบอื่น ๆ ในร่างกายเกิดความผิดปกติไปด้วย ซึ่งเป็นภาวะเเทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น  โรคหลอดหัวใจและสมอง โรคไต เบาหวานขึ้นตา ปลายมือและเท้าชา รวมถึงเเผลเรื้อรัง ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน มีอะไรบ้าง ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานที่เกิดขึ้นทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ดังนี้ ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน แบบเฉียบพลัน เป็นภาวะเเทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ที่เป็นเบาหวานเเม้จะได้รับการวินิจฉัยมาไม่นาน ซึ่งขึ้นอยู่กับการดูเเลสุขภาพของเเต่ละบุคคล ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นหากผู้ที่เป็นเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการที่ร่างกายได้รับยาลดระดับน้ำตาล หรือยาฉีดอินซูลินมากเกินไป ออกกำลังกายหักโหม หรือรับประทานอาหารผิดเวลา หรือน้อยลงมากกว่าปกติ จัดเป็นภาวะที่อันตราย ซึ่งอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการสับสน เวียนศีรษะ หิวหรือโหยมาก อารมณ์แปรปรวน ใจสั่น ตัวเย็น เหงื่อออกมาก หรืออาจหมดสติหรือชักได้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานสูงมากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งอาจเกิดจากความเครียดของทั้งร่างกายเเละจิตใจ การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป รับประทานยาหรือฉีดอินซูลินไม่สม่ำเสมอ ส่งผลทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ น้ำหนักลดและอ่อนเพลีย […]

โรคเบาหวาน

10 วิธีป้องกันโรคเบาหวาน ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

10 วิธีป้องกันโรคเบาหวาน ที่สามารถทำเองได้ง่าย ๆ อาจเริ่มจากการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย เนื่องจากโรคเบาหวานมักเกิดจากความผิดปกติในการผลิตและการทำงานของอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเผาผลาญและเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสจากอาหารเป็นพลังงานให้กับร่างกาย เมื่ออินซูลินผิดปกติจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง และเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลิน และตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ อาจช่วยลดและป้องกันโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmr] 10 วิธีป้องกันโรคเบาหวาน วิธีป้องกันโรคเบาหวานที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง มีดังนี้ 1. รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ประกอบด้วยไฟเบอร์จากผักผลไม้ อาจช่วยควบคุมน้ำหนัก ชะลอการดูดซึมน้ำตาล ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน เนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยไฟเบอร์ได้ ไฟเบอร์จึงผ่านเข้าสู่ทางเดินอาหารและช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องนานขึ้น จึงอาจช่วยลดความอยากรับประทานอาหารและขนมขบเคี้ยวระหว่างวัน ที่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น อาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น มะเขือเทศ พริก ผักใบเขียว เช่น คะน้า บร็อคโคลี กะหล่ำดอก ถั่วลูกไก่ ถั่วลิสง ข้าวโอ๊ต ธัญพืชเต็มเมล็ด (โฮลเกรน) เช่น ลูกเดือย ข้าวกล้อง ข้าวโพด ขนมปังโฮลวีต ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงไฟเบอร์น้อย เช่น ขนมปังขาว พาสต้าจากแป้งขาว อาหารแปรรูปและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ 2. เลือกรับประทานไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อน ซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่อร่างกาย อาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานและโรคหัวใจได้ อาหารที่มีไขมันดี เช่น อัลมอนด์ ถั่วลิสง เมล็ดฟักทอง ปลาแซลมอน […]

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

แผลเบาหวาน ตัดขา เกิดจากอะไรได้บ้าง

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ส่งผลให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตันได้ง่าย รวมไปถึงการมีไขมันในเลือดสุงซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดไขมันไปสะสมที่ผนังหลอดเลือด จนทำให้เลือดไหลเวียนไปสู่อวัยะวะส่วนปลายโดยเฉพาะที่ขาเเละเท้าได้ไม่ดี เมื่อเกิดแผลจึงมักหายช้าจนมีโอกาสติดเชื้อและเสี่ยงต่อการเกิดเนื้อตายมากกว่าคนทั่วไป สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มี แผลเบาหวาน การ ตัดขา จึงเป็นตัวเลือกสุดท้ายในการรักษา เพื่อป้องกันมิให้เนื้อตายลุกลามไปยังบริเวณข้างเคียง [embed-health-tool-bmi] แผลเบาหวาน ต้องตัดขา เพราะอะไร หากผู้ป่วยเบาหวานปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อมลง รวมไปถึงการมีไขมันในเลือดสุงเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดไขมันไปสะสมที่ผนังหลอดเลือดจนตีบแคบลงหรืออุดตัน เกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Arterial Disease) ทำให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงขาหรือเท้าได้ไม่เพียงพอ เกิดอาการเท้าชา อ่อนแรง หรือและอาจรุนเเรงจนทำให้เกิดเนื้อตาย จนต้องตัดเนื้อเยืือส่วนนั้นๆออก ซึ่งหากลุกลามมากขึ้นอาจจำเป็นต้องตัด นิ้วเท้าไปจนถึงขาเพื่อป้องกันมิให้เนื้อตายลุกลามไปบริเวณข้างเคียง อีกทั้ง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันจะทำให้แผลของผู้ป่วยเบาหวานหายช้ากว่าปกติ เนื่องจากออกซิเจนและสารต่าง ๆ ในกระแสเลือด รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดขาว ไม่สามารถไหลเวียนไปยังบาดแผลได้ตามปกติ รวมทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งทำให้เเผลยิ่งทรุดลงจนผู้ป่วยต้องถูกตัดขาหรือเท้าในที่สุด การรักษา แผลเบาหวาน วิธีอื่น ๆ นอกจากการ ตัดขา มีอะไรบ้าง นอกจากการตัดเนื้อตายออกจากเเผล ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องตัดนิ้วเท้า เท้า หรือ ขา เเล้ว ยังมีวิธีรักษาที่อาจช่วยลดการเกิดเนื้อตายด้วยวิธีอื่น ๆ ดังนี้ การผ่าตัดศัลยกรรมหลอดเลือด (Vascular Surgery) หรือการผ่าตัดหลอดเลือดที่ตีบแคบหรืออุดตัน เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปถึงขาหรือเท้าได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอาการเนื้อตายเรวมทั้งทำให้ร่างกายจัดการกับการติดเชื้อได้ขึ้น การบำบัดด้วยออกซิเจนความดันสูง […]

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวานลงไต ภาวะแทรกซ้อน ที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน

เบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) เป็นอีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนชนิดรุนแรงที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งทำให้ไตทำงานผิดปกติ และเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของไตวาย อีกทั้งก่อให้เกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น  ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง  โรคหลอดเลือดหัวใจ  สาเหตุเบาหวานลงไต เบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) จัดเป็นภาวะแทรกซ้อนชนิดรุนแรงของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes) และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes) โดยสาเหตุหลักเกิดจากโรคเบาหวานทำให้หลอดเลือดและเซลล์อื่น ๆ ในไตถูกทำลาย เมื่อไตเกิดความผิดปกติจึงกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้น้อยลง เมื่อกระบวนการขับของเสียที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ของเสียบริเวณไตจึงเริ่มส่งผลเสียต่ออวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ส่งผลร้ายแรงทำให้เกิดภาวะไตวาย เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ อาการเบาหวานลงไต    เบาหวานลงไตในระยะแรกมักไม่แสดงอาการมากนัก แต่เมื่อผ่านไปสักระยะผู้ป่วยเบาหวานจะเริ่มมีอาการ ดังต่อไปนี้ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ  คลื่นไส้อาเจียน  หายใจถี่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ใบหน้า […]

โรคเบาหวาน

ลด เบาหวาน ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ควรทำอย่างไร

เบาหวาน นับเป็น โรคเรื้อรังที่เกิดจากการที่ร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ในปัจจุบันเบาหวานยังเป็นโรคที่โดยทั่วไปเเล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถดูเเลหรือ ลด เบาหวาน เพื่อบรรเทาอาการและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ทำให้เป็นเบาหวาน สาเหตุของโรคเบาหวานเกิดจากการตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดลง ซึ่งอาจเกิดจากภูมิบางชนิดที่ร่างกายสร้างขึ้นเเล้วไปทำลายเนื้อเยื่อตับอ่อนของตนเอง ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินมีบทบาทสำคัญในการลดเเละควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในอยุ่ในสมดุล เมื่อมีอินซูลินไม่เพียงพอจึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จนนำไปสู่โรคเบาหวานในที่สุด  นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นภาวะที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ไระดับน้ำตาลในเลือดในเลือดสูง เเละเกิดเป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน เหตุผลที่ควร ลด เบาหวาน เเนะนำให้ควรลดเบาหวาน ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย คือ ระดับน้ำตาลก่อนอาหารเช้า หรือ หลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 90-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือ มีค่าน้ำตาลสะสมไม่เกิน 7 เปอร์เซนต์ เนื่องจากหากปล่อยระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนเกิน อาจเพิ่มความเสี่ยงในเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน ดังนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นประสาทเสื่อม ทำให้ปลายมือปลายเท้าชา โรคไต ภาวะเเทรกซ้อนทางตา ได้เเก่ เบาหวานขึ้นตา จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก ต้อหิน เเละอาจรุนเเรงจนสูญเสียการมองเห็นได้ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ภูมิคุ้มกันไม่ดี ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย […]

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

GDM คือ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สาเหตุและแนวทางการรักษา

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือ GDM คือ โรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะหายในช่วงหลังคลอด เกิดจากร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามปกติ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ ได้แก่ การมีน้ำหนักเยอะหรือเป็นโรคอ้วน การมีญาติใกล้ชิดเป็นเบาหวาน อย่างไรก็ตาม สามารถรักษาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และเด็กได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม [embed-health-tool-due-date] GDM คือ อะไร Gestational diabetes หรือ GDM คือ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคที่พบในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว แต่เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายผลิตอินซูลินได้น้อยลง จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากตับอ่อน ทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือดและใช้เป็นพลังงานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่ออินซูลินทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้มีน้ำตาลปริมาณมากตกค้างและสะสมอยู่ในกระแสเลือด จนเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และนำไปสู่โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ GDM มักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ได้ 24-28 สัปดาห์ คุณแม่จึงต้องเข้ารับการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล หากพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และอาจต้องทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลแบบแบบ 3 ชั่วโมง (Oral glucose tolerance test หรือ OGTT) เพื่อยืนยันผลว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่ ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ […]

การควบคุมโรคเบาหวาน

เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพอื่น ๆ

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


โรคเบาหวาน อาหาร และการออกกำลังกาย

โรคเบาหวาน

โภชนาการอาหารป้องกันเบาหวาน มีความสำคัญอย่างไร

โภชนาการ อาหาร เพื่อป้องกันเบาหวาน เป็นการวางแผนในการรับประทานอาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อเบาหวาน/ก่อนเบาหวาน และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว หรือ สำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรงของโรคเบาหวาน เเละโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด คอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmr] โภชนาการ อาหาร เกี่ยวข้องกับ เบาหวาน อย่างไร อาหารที่รับประทานนั้นมีความเกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือดโดยตรง เนื่องจากเมื่ออาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ได้เเก่ เเป้งเเละน้ำตาล ร่างกายจะย่อยเเละเปลี่ยนสารอาหารกลุ่มนี้เป็นน้ำตาลกลูโคสเพื่อดูดซึมมาใช้เป็นพลังงาน ดังนั้นหากรับประทานอาหารดังกล่าวมากเกินไป อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและอาจพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานได้ ดังนั้น การเลือกโภชนาการอาหารให้เหมาะสมจึงสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้นับเป็นการดูแลร่างกายช่วยป้องกันการเกิดภาวะก่อนเบาหวาน รวมถึงในผู้ที่เป็นเบาหวานเเล้ว ก็จะช่วยมิให้โรคเบาหวานที่เป็นอยู๋รุนเเรงขึ้น อีกทั้งป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย การวางแผน โภชนาการ อาหาร เพื่อป้องกันเบาหวาน การวางแผนโภชนาการอาหารเพื่อป้องกันเบาหวาน อาจทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ การเลือกรับประทานอาหาร อาหาร นับเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม จึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานได้ โดยเเนะนำเน้นอาหารดังต่อไปนี้ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและมีเส้นใยสูง ยกตัวอย่างเช่น ผักและผลไม้สดที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ธัญพืชไม่ขัดสี เมล็ดพืชและพืชตระกูลถั่ว เช่น อัลมอนด์ เมล็ดเจีย วอลนัท ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ […]

โรคเบาหวาน

5 เมนูอาหารโรคเบาหวาน และวิธีควบคุมอาการเบาหวาน

เมนูอาหารโรคเบาหวาน ที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ควรเน้นการรับประทานอาหารประเภทผัก ผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ธัญพืชไม่ขัดสี และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เพราะอาการเหล่านี้จะมีใยอาหารสูงซึ่งอาจช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลสู่กระแสเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหารไม่ขึ้นสูงมากจนเกินไป อีกทั้งยังอยู่ท้องช่วยให้อิ่มได้นานขึ้น  ทำให้สามารถควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] 5 เมนูอาหารโรคเบาหวาน 5 เมนูอาหารโรคเบาหวาน มีดังนี้ ผัดฟักทองใส่ไข่ เป็นเมนูอาหารโรคเบาหวานที่ใช้ความหวานจากฟักทองและไข่ไก่โดยไม่จำเป็นต้องปรุงรสชาติด้วยน้ำตาลเพิ่มเติม จึงรับประทานง่าย เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน วัตถุดิบ ฟักทอง 500 กรัม หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ ไข่ไก่ 3 ฟอง กระเทียมสับ 2 ช้อนชา น้ำมันพืช 2 ช้อนชา อาจเลือกใช้น้ำมันที่มีไขมันดีและดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า ซอสหอยนางรม 2 ช้อนชา ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา น้ำเปล่า 1 ถ้วย วิธีทำ ตั้งกระทะและใส่น้ำมัน รอให้น้ำมันร้อน แล้วใส่กระเทียมสับลงไปผัดจนมีกลิ่นหอม จากนั้นใส่ฟักทองที่เตรียมไว้ลงไปผัด ปรุงรสด้วยซอสหอยนางรม และซีอิ๊วขาว เติมน้ำเปล่าลงไป 1 ถ้วย จากนั้นเคี่ยวให้เข้ากันประมาณ 2-3 นาที […]

โรคเบาหวาน

การออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

การออกกำลังกาย ถือว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลากหลายด้าน เช่น ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ลดความเครียดและความวิตกกังวล สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การออกกำลังกายอาจส่งผลให้เซลล์ในร่างกายไวต่ออินซูลินมากขึ้น จึงทำให้อินซูลินทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังทำให้ผู้ป่วยเบาหวานรู้สึกดีขึ้น และอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดภาวะดื้ออินซูลินได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับชนิดและระยะเวลาการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับภาวะปัจจุบัน เพื่อความปลอดภัยและป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระหว่างออกกำลังกาย ประโยชน์ของการออกกำลังกาย ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที/วัน ซึ่งการออกกําลังกายนั้นมีประโยชน์ ดังนี้ ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือมีภาวะโรคอ้วน สามารถลดน้ำหนักได้ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งยังปรับปรุงค่าน้ำตาลกลูโคสที่จับอยู่กับฮีโมโกลบินเอซีวัน (HbA1c) สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ช่วยลดความดันโลหิต เพราะหากผู้ป่วยเบาหวานมีความดันโลหิตสูง อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ช่วยลดคอเลสเตอรอล เพื่อช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยให้น้ำตาลในเลือดถูกส่งไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้เยอะขึ้น  ช่วยปรับปรุงการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยให้ข้อต่อมีความยืดหยุ่นที่ดีขึ้น ช่วยรักษามวลกระดูก ช่วยในเรื่องของร่างกายและจิตใจ เพราะการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟิน หรือสารแห่งความสุข ซึ่งช่วยลดระดับความเครียดและทำให้อารมณ์ดีขึ้น การออกกำลังกายจะยิ่งมีประโยชน์ เมื่อเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อร่างกาย ไม่สูบบุหรี่ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ  สิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรู้ก่อนออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน […]

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน การป้องกัน และการดูแลตัวเอง

โรคเบาหวาน การป้องกัน อาจสามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันบางอย่าง โดยการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด จำกัดปริมาณอาหารให้เหมาะสม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้อาจเป็น การป้องกัน โรคเบาหวาน พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย โรคเบาหวาน คืออะไร โรคเบาหวาน คือ ภาวะสุขภาพเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนน้ำตาลในกระแสเลือดให้เป็นพลังงาน หากเป็นเบาหวาน ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลให้เป็นพลังงานได้เท่าที่ควร อาจเกิดจากร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เท่าที่ร่างกายต้องการ เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่เพียงพออาจส่งผลให้น้ำตาลสะสมอยู่ในกระแสเลือดมากเกินไป และหากปล่อยไว้เป็นเวลานานจนลุกลามอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต สูญเสียการมองเห็น เป็นแผลที่เท้า โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิดหลัก ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากปฏิกิริยาภูมิต้านตนเองซึ่งทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากการที่ร่างกายมีความบกพร่องในการควบคุมและใช้น้ำตาล โดยร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสไปเป็นพลังงานได้ ส่งผลให้เกิดน้ำตาลสะสมในกระแสเลือดสูงขึ้น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยเป็นเบาหวาน โรคเบาหวานจะหายไปเองเมื่อคลอดลูก แต่อาจเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตได้ ภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติแต่ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเป็นโรคเบาหวาน โดยเกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินตามปกติ แม้ว่าตับอ่อนจะสร้างอินซูลินมากขึ้นเพื่อให้เซลล์ตอบสนอง จนกระทั่งระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นและกลายเป็นโรคเบาหวานในที่สุด โรคเบาหวาน มีการป้องกันอย่างไร การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานอาจทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ การควบคุมน้ำหนักและการลดน้ำหนักส่วนเกิน การควบคุมน้ำหนักและลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานโดยมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ที่ 18.5-22.90 อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Diabetes Care เมื่อเดือนกันยายน […]

โรคเบาหวาน

อาหารโรคเบาหวาน ที่ผู้ป่วยควรรับประทานและควรหลีกเลี่ยง

อาหารโรคเบาหวาน หมายถึง อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งเป็นผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนปกติ หากระดับน้ำสูงเกินไปโดยไม่ระวังหรือควบคุมอาหาร ก็อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ อาหารโรคเบาหวาน ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตซึ่งดีต่อสุขภาพ อาหารที่มีเส้นใยสูง ไขมันไม่อิ่มตัวหรือไขมันดี รวมถึงผักและผลไม้ต่าง ๆ อาหารโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง เมื่อเป็นโรคเบาหวาน หรือมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน คุณหมอมักแนะนำให้คุมอาหาร เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป จนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต โรคหัวใจ  รวมถึงป้องกันโรคอ้วน อันเป็นปัจจัยหนึ่งของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาหารโรคเบาหวานประกอบด้วยอาหารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อาหารโรคเบาหวาน: คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรต มักพบในอาหารจำพวกแป้ง เป็นสารอาหารซึ่งส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากที่สุด เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลหรือกลูโคส เพื่อใช้เป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตชนิดที่มีเส้นใยอาหารสูง เนื่องจากเส้นใยอาหารจะช่วยควบคุมการย่อยคาร์โบไฮเดรตของร่างกาย และควบคุมการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเวลาเดียวกัน อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดีต่อสุขภาพ ประกอบด้วย ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ควินัว ผักต่าง ๆ เช่น มันฝรั่ง ข้าวโพด ถั่วลันเตา นมหรือโยเกิร์ต ชนิดน้ำตาลน้อยและไขมันต่ำ ทั้งนี้ คาร์โบไฮเดรตซึ่งผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงประกอบด้วย ข้าวขาว ขนมปัง ซีเรียล และขนมหวานที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมเค้ก […]

โภชนาการพิเศษ

6 เมนูอาหารสำหรับคน ควบคุมน้ำตาลในเลือด และวิธีควบคุมน้ำตาลในเลือด

เมนูอาหารสำหรับคน ควบคุมน้ำตาลในเลือด มีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการลดหรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ควรออกกำลังกายและปฏิบัติตามแผนการจัดการกับน้ำตาลในเลือดตามที่คุณหมอกำหนดร่วมด้วย เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ของดีของเมนูอาหารสำหรับคนควบคุมน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycaemia) ที่อาจทำให้เกิดอาการกระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย มองเห็นไม่ชัด ปวดหัว และอ่อนแรง ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน และช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ป้องกันเส้นประสาทบริเวณแขน ขา และเท้าเสียหายจากภาวะน้ำตาลสูง ที่อาจส่งผลให้แขนขาชา รู้สึกเสียวซ่า และมีอาการบวม ป้องกันภาวะเบาหวานขึ้นตาที่อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับดวงตา เช่น ต้อกระจก ตาพร่ามัว ต้อหิน ป้องกันภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic Ketoacidosis) ที่เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ร่างกายสร้างคีโตน (Ketone) หรือสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดออกมาในปริมาณมาก ส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ลดความเสี่ยงเกิดอาการโคม่าจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก ที่อาจส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เกิดอาการชัก หมดสติ และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ตัวอย่าง เมนูอาหารสำหรับคนควบคุมน้ำตาลในเลือด 1. ผัดบรอกโคลีกุ้ง วัตถุดิบ น้ำมันมะกอก 1 ช้อนโต๊ะ กุ้งปอกเปลือก บร็อคโคลี่หั่น 1-2 หัว งา 1 ช้อนชา […]