banner

ทำความเข้าใจโรคไข้หวัดใหญ่

โรคทางเดินหายใจ

ไข้หวัด และ ไข้หวัดใหญ่ สาเหตุ อาการ วิธีรับมือ

ไข้หวัด และ ไข้หวัดใหญ่ (common cold and flu) เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและสามารถแพร่กระจายได้เหมือนกัน และอาจมีอาการคล้ายคลึงกันมากในช่วงแรกของการติดเชื้อ แต่โรคไข้หวัดใหญ่มักมีอาการรุนแรงกว่า และทั้งสองโรคนี้แตกต่างกันชัดเจนตรงเชื้อก่อโรค ทั้งนี้ การสังเกตความแตกต่างของอาการให้ดี อาจช่วยให้สามารถรับมือกับไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmr] ไข้หวัด และ ไข้หวัดใหญ่ คืออะไร ไข้หวัด และ ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ที่อาจมีอาการคล้ายคลึงกันมากในช่วงแรกของการติดเชื้อ โรคไข้หวัดธรรมดา หรือที่เรียกว่า ไข้หวัด (common cold) เป็นการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งส่งผลกระทบในเบื้องต้นต่อจมูก และอาจส่งผลต่อลำคอ ไซนัส และกล่องเสียง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น ไรโนไวรัส (Rhinovirus) มาจากภาษาละตินแปลว่า จมูก แต่ก็อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้เช่นกัน โรคนี้ไม่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ แต่เกิดจากการรับเชื้อโรคมาจากผู้อื่น ไข้หวัดมักพบในช่วงอากาศหนาว เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่คนมักอยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้น จึงทำให้เชื้อโรคมีโอกาสแพร่เชื้อได้ สัญญาณและอาการไข้หวัดอาจเกิดขึ้นภายในเวลา 2 วันหลังจากสัมผัสกับเชื้อโรค โดยอาการไข้หวัดธรรมดา อาจแตกต่างกันไปตามเชื้อก่อโรค หากเป็นไข้หวัดจากเชื้อไวรัส มักมีอาการไอ จาม เจ็บคอ น้ำมูกไหล อาจปวดศีรษะ และมีไข้ หากเป็นไข้หวัดจากเชื้อแบคทีเรีย มักมีอาการมีไข้ […]

เรื่องน่ารู้

การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีป้องกันและ วิธี รักษา ไข้หวัดใหญ่

องค์การอนามัยโลกชี้ว่า ประเทศในเขตร้อนชื้น เช่น ประเทศไทย สามารถพบโรคไข้หวัดใหญ่ได้ตลอดปี การเรียนรู้วิธีรับมือไข้หวัดใหญ่อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น วิธี รักษา ไข้หวัดใหญ่ รวมถึงวิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่ จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะช่วยให้สามารถดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดไข้หวัดใหญ่ และภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ได้เป็นอย่างไร [embed-health-tool-bmi] โรคไข้หวัดใหญ่ คืออะไร ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์เอ สายพันธุ์บี โดยในประเทศไทยพบบ่อยในฤดูฝน ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ได้รับเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซาจะป่วยเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ และอาการจะดีขึ้น แต่สำหรับบางคนอาการของโรคไข้หวัดใหญ่อาจนำไปสู่การติดเชื้อในปอดที่รุนแรงยิ่งขึ้น อาการของการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบบ่อย มีดังนี้ มีไข้ปานกลางหรือมีไข้สูง ไอแห้ง ปวดศีรษะ เจ็บคอ น้ำมูกไหล เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย อีกหนึ่งโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดใหญ่ และมักเกิดจากเชื้อไวรัสเหมือนกัน คือ โรคไข้หวัดธรรมดา หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าไข้หวัด แต่ความแตกต่าง คือ อาการของไข้หวัดใหญ่มักจะเกิดขึ้นแบบฉับพลัน และทำให้ร่างกายอ่อนแอลงได้มากกว่า อาการไอแห้งและอาการอ่อนเพลียจากไข้หวัดใหญ่สามารถกินเวลาได้นาน 2-3 สัปดาห์ หากมีสัญญาณที่บ่งบอกว่าไข้หวัดใหญ่เริ่มรุนแรงขึ้น เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น หายใจติดขัด ควรรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีป้องกันและ วิธี […]

ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A แตกต่างจาก ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B อย่างไร

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B เป็นสายพันธุ์ที่พบบ่อยในโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นการติดเชื้อทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ทุกช่วงวัย แต่อาจพบมากและมีอาการรุนแรงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี บุคคลที่มีประวัติเป็นโรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป และสตรีตั้งครรภ์ ดังนั้น จึงควรศึกษาความแตกต่างระหว่างไข้หวัดใหญ่ทั้ง 2 สายพันธุ์ รวมถึงอาการและวิธีการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-heart-rate] ความแตกต่างของ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B มีความแตกต่างกัน คือ โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงมากกว่า สามารถกลายพันธุ์และก่อให้เกิดการติดเชื้อในวงกว้าง และสามารถก่อให้เกิดการแพร่เชื้อได้ทั้งในคน และในสัตว์ เช่น หมู นก เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ ยังแบ่งออกเป็นชนิดย่อย โดยตรวจได้จากไกลโคโปรตีนรอบของเชื้อไวรัส (Surface glycoprotein) ซึ่งประกอบด้วย ฮีแมกกูตินิน (Hemagglutinin : H) ซึ่งมีทำหน้าที่ในการจับกับตัวรับ (Receptor) […]

ไข้หวัดใหญ่

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

โรคไข้หวัดใหญ่ คือ โรคติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza) ที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจผ่านสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย จากการไอ การจาม รวมถึงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ช้อนส้อม จาน แก้ว ผ้าเช็ดหน้า ที่อาจนำไปสู่การเจ็บป่วยระดับรุนแรง แต่สามารถป้องกันได้ด้วย วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น จึงควรเข้ารับการฉีด วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นประจำทุกปี เพื่อช่วยป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่หรือช่วยลดความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่ [embed-health-tool-bmi] วัคซีนไข้หวัดใหญ่ คืออะไร วัคซีนไข้หวัดใหญ่ คือ วัคซีนที่ช่วยป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยอาจฉีดบริเวณต้นแขนหรือต้นขาหรือพ่นจมูก โดยวัคซีนไข้หวัดใหญ่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตาย (Live Attenuated Influenza Vaccines : LAIV) เป็นวัคซีนที่ประเทศไทยนิยมใช้ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ สามารถรับได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป และควรฉีดเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 […]

โรคทางเดินหายใจ

แพทย์แนะสร้างภูมิด้วยวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เกราะป้องกันโรคปอดอักเสบ!

แพทย์เตือนเร่งสร้างภูมิด้วยวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หนึ่งในเกราะป้องกันโรคปอดอักเสบ ลดอาการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต    ด้วยสถานการณ์โรคปอดอักเสบ ถือเป็นโรคติดเชื้อที่มีอุบัติการณ์การเสียชีวิตทั่วโลกกว่า 2.5 ล้านคน ในปี 2562 โดยในจำนวนนี้เป็นเด็กกว่า 672,000 คน และในสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกกว่า 2 ล้านคน ในปี 2563 รวมเป็นจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งสิ้นกว่า 4 ล้านคน ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี ซึ่งสูงกว่าจำนวนการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้ออื่นๆ ศ. นพ. ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร อาจารย์ประจำหน่วยโรคติดเชื้อ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ช่วยผู้อำนวยการและรักษาการหัวหน้าฝ่ายวิจัยและบริการคลินิก สถานเสาวภา สภากาชาดไทย เปิดเผยถึงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อหลักๆ ในปัจจุบันที่จะนำไปสู่ภาวะของ ‘โรคปอดอักเสบ’ หรือที่รู้จักกันดีว่า ‘โรคปอดบวม’ ซึ่งหมายถึงการอักเสบที่เนื้อปอด ประกอบด้วยถุงลมปอดและเนื้อเยื่อโดยรอบ ทำให้ปอดทำหน้าที่ได้น้อยลง เกิดอาการหายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้  พบว่าโรคปอดอักเสบมีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ โดยหลักๆ เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อย มีอยู่ 3 ตัวหลักๆ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus), ไวรัสโควิด-19 […]

วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่