จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคอาหารทั่วทั้งภูมิภาค เนื่องจากปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารลดลง และมีอาหารสำหรับประชากรมากขึ้น จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของภูมิภาคในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียเฉลี่ยอยู่ที่ 6% นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2000
ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของเอเชียยังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของอาหารในภูมิภาค เนื่องจากอาหารราคาต่ำลงมีจัดจำหน่ายมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “การเปลี่ยนแปลงทางโภชนาการ’ ที่อาหารที่มีแคลอรี่สูงเริ่มเข้ามาแทนที่อาหารแบบเดิม ๆ ทำให้ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนและโรคเรื้อรังอื่น ๆ เพิ่มขึ้น
การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก สภาพแวดล้อมในเมืองยังมีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตแบบนั่งนอนมาก ออกกำลังกายน้อยลง และโรคภัยต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง
การเพิ่มขึ้นของรูปแบบการใช้ชีวิตในเมืองทั่วทั้งภูมิภาคยังส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราผู้ที่มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเอเชีย ธนาคารพัฒนาเอเชียรายงานว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองของเอเชีย ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2533-2558 เพิ่มขึ้นจาก 1ใน 3 เป็นครึ่งหนึ่งของภูมิภาค
การเปลี่ยนจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมการผลิตและบริการในเอเชีย ซึ่งปกติแล้วไม่ต้องการการออกกำลังกายมากนัก ยังอาจนำไปสู่น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อประกอบเข้ากับค่านิยมการรับประทานอาหารนอกบ้านมากกว่าทำอาหารที่บ้าน และการใช้เวลาเดินทางที่นานขึ้น
ในประเทศอย่างอินเดีย การขยายตัวของเมืองทำให้คนหนุ่มสาวหันมารับประทานอาหารขยะที่อุดมด้วยไขมันและมีพลังงานสูงเป็นพิเศษทำให้คนวัยหนุ่มสาวมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนมากขึ้น
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเป็นโรคอ้วน?
โรคอ้วนเป็นตัวกระตุ้นและปัจจัยเสี่ยงสำหรับภาวะร้ายแรงและโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น
โรคไต
โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งสำหรับโรคไตเรื้อรัง ผู้ที่เป็นโรคอ้วนมีแนวโน้มที่จะมีปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคไตเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า โรคเบาหวาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไต เนื่องจาก 1 ใน 4 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะเป็นโรคไตด้วยเช่นกัน
โรคหัวใจและหลอดเลือด (ภาวะหลอดเลือดแข็ง)
โรคอ้วนอาจทำให้แนวโน้มในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น หนึ่งในนั้นคือ ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากการสะสมของคราบพลัคหรือไขมันในหลอดเลือด
เมื่อเวลาผ่านไป การสะสมของคราบพลัคอาจขัดขวางการไหลเวียนของเลือด และอาจทำให้หลอดเลือดอุดตัน ซึ่งอาจนำไปสู่หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองได้
โรคมะเร็ง
การศึกษาพบว่าโรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ข้อมูลสถิติมะเร็งของสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่า 55% ของโรคมะเร็งทั้งหมดที่พบในผู้หญิงและ 24% โรคมะเร็งทั้งหมดที่พบในผู้ชายมีความเกี่ยวข้องกับโรคอ้วน
เซลล์ไขมันส่วนเกินจะเพิ่มการอักเสบและการผลิตเอสโตรเจน รวมไปถึง ฮอร์โมนการเจริญเติบโตอื่น ๆ ซึ่งล้วนอาจส่งผลให้เซลล์มีการแบ่งตัวมากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงที่จะพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็ง
การมีไขมันส่วนเกินจึงสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดต่าง ๆ เช่น มะเร็งตับ มะเร็งไต มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อน
โรคข้อเสื่อม
การเป็นโรคอ้วนอาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพมากมาย เช่น โรคข้อเสื่อม เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไปอจาเพิ่มภาระให้กับร่างกาย น้ำหนักตัวที่มากจะเพิ่มแรงกดทับบนเข่า ทำให้สามารถรองรับน้ำหนักตัวได้ยากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การบาดเจ็บที่ข้อต่อ และอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อสนับสนุนการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ลำบากขึ้น
คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วนหรือไม่? ลองเช็กดูเลย