banner

ระบบประสาทและสมอง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส

ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)

ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)เป็นโรคที่อาจทำให้สมอง ไขสันหลัง และระบบประสาทส่วนกลางปิด นอกจากนั้นยังสามารถทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารระหว่างสมองและอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้อีกด้วย ดังนั้น ลองมาทำความรู้จักกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งให้มากขึ้น กับบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันได้เลย คำจำกัดความ ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) คืออะไร โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือโรคเอ็มเอส (MS) เป็นโรคที่ส่งผลต่อสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทในดวงตา ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น การทรงตัว การควบคุมกล้ามเนื้อ และการทำงานพื้นฐานอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละคนจะแตกต่าง บางคนมีอาการเพียงเล็กน้อยและไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่บางคนอาจจะส่งผลต่อการเดินทางและการทำงานในชีวิตประจำวัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณโจมตีสารไขมัน (Fatty Material) ที่มีชื่อเรียกว่า ไมอีลิน (Myelin) ซึ่งทำหน้าที่ในการปกป้องเส้นประสาทด้วยการพันรอบใยประสาท หากไม่มีไมอีลิน เส้นประสาทของคุณจะเสียหาย เนื้อเยื่อแผลเป็นก็อาจจะก่อตัวขึ้น ความเสียหายดังกล่าว หมายความว่า สมองคุณจะไม่สามารถส่งสัญญาณผ่านร่างกายได้อย่างถูกต้อง ประสาทของคุณจะไม่ทำงานได้เท่าที่ควร เพื่อช่วยให้คุณเคลื่อนไหวและรู้สึกได้ เป็นผลทำให้คุณอาจมีอาการ ดังต่อไปนี้ มีปัญหาในการเดิน รู้สึกเหนื่อย กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือกระตุก การมองเห็นไม่ชัดหรือเห็นภาพซ้อน อาการชาหรือเสียวซ่า ปัญหาทางเพศ การควบคุมกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ไม่ดี ความเจ็บปวด ซึมเศร้า ปัญหาในการโฟกัสหรือจดจำ ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง พบบ่อยเพียงใด อาการแรกเริ่มมักจะเริ่มเกิดขึ้นในช่วงอายุ 20-40 ปี คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง จะมีอาการกำเริบหรืออาการทรุดลงอย่างเห็นได้ชัด และมักจะฟื้นตัวเมื่ออาการดีขึ้น ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์พบวิธีการรักษาใหม่ๆ มากมาย ที่มักจะช่วยป้องกันการกำเริบของโรคและชะลอผลของโรคได้ อาการอาการของ […]

โรคผิวหนัง

โรคสะเก็ดเงิน

สะเก็ดเงิน (Psoriasis)

สะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานผิดปกติ ทำให้เซลล์ผิวหนังเกิดการแบ่งตัวไม่สมบูรณ์จนผลิตจำนวนเซลล์ผิวหนังเร็วเกินไป จนเกิดเป็นผื่นแดงขนาดเล็ก ๆ ตกสะเก็ดสีขาวหรือเห็นเป็นสีเงิน เป็นขุยโดยรอบและทำให้เกิดอาการคัน เฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่งของผิวหนังหรือทั่วร่างกาย มีทั้งระดับเบาและรุนแรง เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงบรรเทาอาการ ไม่ใช่โรคติดต่อ เป็นโรคที่ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม [embed-health-tool-”bmi”] คำจำกัดความ สะเก็ดเงิน คืออะไร สะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นภาวะผิดปกติของเซลล์ผิวหนังที่ผลิตขึ้นมาเร็วเกินไป และเกิดการสะสม ทำให้ผิวหนังเกิดสะเก็ดสีขาวหรือสีเงิน แห้ง เป็นขุย  มีตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงระดับรุนแรง มักเกิดอาการคันอย่างหนัก ความรุนแรงของโรคมักเริ่มต้นจากความเครียด การติดเชื้อ การสัมผัสสภาพอากาศที่เย็นและแห้ง โรคอ้วน  ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง หรืออาจจะเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด สะเก็ดเงินพบได้บ่อยได้แค่ไหน สะเก็ดเงินนั้นพบได้มากทั่วไปในผู้ใหญ่ แต่เป็นโรคที่ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม ผู้ที่เป็นส่วนใหญ่มีความผิดปกติในยีนอยู่แล้ว เพียงแต่เมื่อสัมผัสกับปัจจัยที่ไปกระตุ้นทำให้อาการของโรคแสดงออกขึ้นมาชัดเจน อาการ อาการของสะเก็ดเงินเป็นอย่างไร สัญญาณและอาการของโรคสะเก็ดเงินนั้น แตกต่างกันไปตามแต่ละคน ซึ่งโดยปกติอาจมีอาการดังต่อไปนี้ รอยหย่อมสีแดงบนผิวหนังที่ปกคลุมด้วยเกล็ดสีเงิน ตกสะเก็ดเป็นหย่อม ๆ (มักพบในเด็ก) ผิวแห้ง แตก และอาจมีเลือดออก มีอาการคัน แสบร้อน หรือเจ็บ เล็บหนา หยาบ หรือเล็บแคบ ข้อต่อบวมและแข็งเกร็ง ผิวหนังที่มักจะได้รับผลกระทบ คือ หนังศีรษะ ใบหน้า ข้อศอก มือ เข่า เท้า หน้าอก […]

โรคสะเก็ดเงิน

ปัจจัยกระตุ้นอาการโรคสะเก็ดเงิน มีอะไรบ้าง

สะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาด และสามารถกำเริบกลับมาได้ทุกเมื่อหากมี ปัจจัยกระตุ้นอาการสะเก็ดเงิน เช่น ความเครียด การสูบบุหรี่ การบาดเจ็บที่ผิวหนัง หากมีอาการสะเก็ดเงินควรบรรเทาอาการด้วยการใช้ยาที่คุณหมอแนะนำ รวมถึงการทามอยเจอร์ไรซ์เซอร์เพื่อช่วยปกป้องผิว ปัจจัยกระตุ้นอาการสะเก็ดเงิน มีอะไรบ้าง ส่วนใหญ่โรคสะเก็ดเงินสามารถพบได้บ่อยทั้งในผู้ชาย และผู้หญิง ตั้งแต่อายุ 15-35 ปีขึ้นไป แต่บางครั้งก็อาจเกิดขึ้นได้กับเด็ก ๆ ก่อนอายุ 10 ปี เช่นเดียวกัน โดยเฉลี่ยประมาณ 10-15% ผู้คนที่มักเผชิญกับสะเด็กเงินนี้ล้วนมาจากปัจจัยของโรค และพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพทั้งสิ้น เช่น ระดับความเครียดสะสม โรคหัวใจและหลอดเลือด การบาดเจ็บที่ผิวหนังแต่เดิม การสูบบุหรี่ เป็นต้น เนื่องจากจะทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง จนเสี่ยงต่อการเป็นโรคสะเก็ดเงิน หรืออาการสะเก็ดเงินที่เป็นแย่ลงกว่าเดิม อีกทั้งยังรวมไปถึงประวัติสุขภาพทางครอบครัวที่เคยมีอาการเกี่ยวข้องกับโรคสะเก็ดเงินยกตัวอย่าง ครอบครัวที่พ่อ และแม่เป็นสะเก็ดเงิน จึงได้รับการถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม ดังนั้นผู้เป็นลูกในอันดับถัดไปเรื่อย ๆ จึงมีโอกาสที่จะเป็นสะเก็ดเงินถึง 10% ประเภทของโรคสะเก็ดเงิน ที่ส่งผลเสียต่อผิวหนัง โรคสะเก็ดเงินนั้นสามารถแบ่งออกได้อีกหลายชนิดด้วยกัน โดยแต่ละชนิดก็มักมีอาการที่แตกต่างออกไป ดังนี้ โรคสะเก็ดเงินจากคราบจุลินทรีย์ เป็นประเภทที่พบบ่อยมากที่สุด และมักปรากฏให้เห็นตามเป็นเกล็ดสีขาว พร้อมมีผิวหนังอักเสบที่แดง บริเวณข้อศอก หัวเข่า หนังศีรษะ ช่วงหลังส่วนล่าง โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ ผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินอาจก่อให้เกิดสะเก็ดเงินประเภทนี้ร่วมด้วย โดยจะส่งผลต่อสุขภาพเล็บของเกิดเป็นรอยบุบ […]

โรคสะเก็ดเงิน

วิธีรักษาสะเก็ดเงิน ด้วยวิธีทางการแพทย์ มีอะไรบ้าง

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังที่พบได้ทั่วไป อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกันมีการทำงานผิดปกติ พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ความเครียด การสูบบุหรี่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วย วิธีรักษาสะเก็ดเงิน ทางการแพทย์ ร่วมกับการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี อาจช่วยให้ควบคุมโรคได้และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วย [embed-health-tool-bmr] โรคสะเก็ดเงิน ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนใดบ้าง หากคุณเป็นโรคสะเก็ดเงิน โรค และอาการแทรกซ้อนที่คุณอาจเผชิญร่วมด้วยนั้น มีดังนี้ โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคข้ออักเสบ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพตา เช่น เยื่อบุตาอักเสบ โรคภูมิแพ้ โรคลำไส้อักเสบ สุขภาพจิตเปลี่ยนแปลง อาจเป็นโรคซึมเศร้า วิธีรักษาสะเก็ดเงิน ด้วยเทคนิคทางการแพทย์ ก่อนการรักษาคุณหมออาจมีการสอบถามทางด้านภาวะสุขภาพ และมีการนำชิ้นผิวหนังส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณหนังศีรษะ เล็บ ไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาสาเหตุ และจำแนกประเภทของโรคสะเก็ด ให้ง่ายต่อการค้นหาวิธีรักษาที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยแพทย์อาจใช้เทคนิคในการช่วยรักษา ดังต่อไปนี้ คอร์ติโคสเตียรอยด์ เป็นประเภทยาที่ใช้ทาเฉพาะที่ หรือบริเวณใดบริเวณหนึ่งเท่านั้น และเป็นยาที่คุณหมอมักกำหนดให้ผู้ป่วยใช้มากที่สุด ในกรณีที่คุณเป็นสะเก็ดเงินระดับเบาจนถึงระดับปานกลางซึ่งตัวยาชนิดนี้มักอยู่ในรูปแบบโลชั่น ครีม และขี้ผึ้ง เป็นต้น บำบัดด้วยแสง NBUVB มักนิยมใช้กับผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินระดับรุนแรง […]

เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

เป็นโรคสะเก็ดเงิน อาหารอะไรควรกิน อะไรควรเลี่ยง มาดูกัน

โรคสะเก็ดเงิน ความผิดปกติของผิวหนังชนิดเรื้อรัง ที่ส่งผลกระทบกับทั้งผิวหนังและอวัยวะภายในอย่างข้อต่อ นอกจากจะทำให้เจ็บปวด รู้สึกไม่สบายตัว ยังอาจทำให้ผู้ป่วยบางรายรู้สึกอับอายหรือกังวลเกี่ยวกับผิวพรรณหรือภาพลักษณ์ของตัวเองได้ด้วย แม้จะฟังดูน่ากลัวแต่ผู้ป่วยก็สามารถรับมือกับโรคสะเก็ดเงินเบื้องต้นได้ด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นให้อาการของโรคสะเก็ดเงินกำเริบ เช่น สภาพอากาศ ความเครียด และที่เด่นชัดที่สุดก็คือ อาหาร หากคุณป่วย เป็นโรคสะเก็ดเงิน คุณควรกินอาหารอะไร และควรเลี่ยงอาหารอะไร เพื่อไม่ให้อาการของโรคกำเริบ หรือเกิดโรคแทรกซ้อน Hello คุณหมอมีมาฝากแล้ว [embed-health-tool-bmi] อาหารที่ควรกินเมื่อ เป็นโรคสะเก็ดเงิน ปลาที่อุดมด้วยไขมันดี ปลาที่อุดมไปด้วยไขมันดี เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาทู ปลาเทราต์ เป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยต้านการอักเสบ และอาจช่วยให้อาการของโรคสะเก็ดเงินดีขึ้นได้ นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินควรหันมาบริโภคน้ำมันพืชที่มีโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว น้ำมันดอกคำฝอย เพราะนอกจากจะช่วยลดการอักเสบแล้วยังดีต่อสุขภาพหัวใจอีกด้วย ผักและผลไม้ ผักและผลไม้อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดภาวะเครียดออกซิเดชันและลดอาการอักเสบ จึงเหมาะสำหรับโรคที่มีการอักเสบอย่างสะเก็ดเงิน โดยผักและผลไม้ที่ผู้เป็นโรคสะเก็ดเงินควรบริโภค เช่น ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก กะหล่ำดาว (Brussels Sprout) ผักใบเขียว เช่น คะน้า ผักโขม ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น […]

โรคเบาหวาน

เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพอื่น ๆ
ดูทั้งหมด
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน