banner

เช็กความเสี่ยงสุขภาพ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งรังไข่ ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงวัยหมดประจำเดือน

เรื่องน่ารู้

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) หนึ่งในโรคร้ายที่ควรทำความเข้าใจให้มากขึ้น

มะเร็งเต้านม หลายคนยังคงอาจคิดว่าเกิดขึ้นแค่เฉพาะกับผู้หญิงเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่าผู้ชายก็สามารถเป็นได้เหมือนกัน เพียงแต่ส่วนใหญ่มักจะพบในผู้หญิง หากคุณมีข้อสงสัยลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมให้มากขึ้นกันเถอะ คำจำกัดความมะเร็งเต้านม คืออะไร มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) คือโรคมะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อในเต้านม มีอยู่สองประเภทหลักดังนี้ มะเร็งในท่อน้ำนม (Ductal carcinoma) เริ่มขึ้นในท่อที่ลำเลียงน้ำนมจากเต้านมไปสู่หัวนม มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะเป็นประเภทนี้ มะเร็งในต่อมน้ำนม (Lobular carcinoma) เริ่มขึ้นที่ส่วนต่อมน้ำนมของเต้านมที่ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำนม ในกรณีหายาก มะเร็งเต้านมก็อาจมีจุดกำเนิดจากส่วนอื่นของเต้านมได้ มะเร็งเต้านม พบบ่อยแค่ไหน ตลอดช่วงชีวิต จะพบว่า 1 ใน 8 ของผู้หญิงเป็นโรคมะเร็งเต้านม สัดส่วนของโรคมะเร็งนั้น เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตทั่วโลก ด้วยเพราะมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 14 ล้านราย และมีการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งเมื่อปี 2012 ประมาณ 8.2 ล้านราย ซึ่งมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิตที่พบได้มากที่สุด อาการอาการของโรคมะเร็งเต้านม ในช่วงต้นของโรคมะเร็งเต้านมนั้นจะไม่เกิดอาการใด ๆ ดังนั้น จึงควรตรวจเต้านมเป็นประจำ เมื่อโรคมะเร็งเริ่มเติบโตขึ้นก็อาจจะมีอาการดังต่อไปนี้ มีก้อนที่เต้านมหรือก้อนที่รักแร้ มีลักษณะแข็ง ขอบไม่เท่ากัน และมักจะไม่เจ็บ การเปลี่ยนแปลงในด้านของขนาด รูปร่าง หรือความรู้สึกที่บริเวณเต้านมหรือหัวนม เช่น อาจมีรอยแดง รอยบุ๋ม หรือรอยย่นที่ดูคล้ายเปลือกส้ม มีของเหลวไหลจากหัวนม ซึ่งอาจจะเป็นเลือด หรือของเหลวสีใสไปจนถึงสีเหลือง สีเขียว หรือดูคล้ายกับหนอง สำหรับผู้ชาย อาการของมะเร็งเต้านมมีทั้งมีก้อนในเต้านม […]

เช็กอาการ

การรักษา

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม…กับทางเลือกใหม่ รักษาแบบพุ่งเป้า หายได้และป้องกันการเกิดซ้ำ

มะเร็งเต้านม โรคร้ายที่พบมากที่สุดในผู้หญิง ภัยเงียบที่ทำให้ผู้ป่วยหลายรายเสียชีวิตอย่างไม่ทันตั้งตัว เพราะโรคร้ายนี้มักจะไม่มีสัญญาณเตือน รู้อีกทีอาจจะต้องเข้าห้องผ่าตัดเพื่อไปตัดเต้านมทิ้ง ซึ่งเป็นการรักษาอาการไม่ให้รุนแรงจนนำไปสู่การเสียชีวิต แต่ด้วยนวัตกรรมและวิทยาการด้านการแพทย์ในปัจจุบัน การตัดเต้านม ไม่ใช่ทางออกเดียวในการรักษาโรค เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาและเพิ่มทางเลือกการรักษาให้กับผู้ป่วย และยังเพิ่มแนวโน้มการรักษาให้หายขาดโดยไม่จำเป็นต้องตัดเต้านมทิ้งทั้งหมด ให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติมากที่สุด มะเร็งเต้านมกับการรักษา การรักษามะเร็งเต้านมจะขึ้นอยู่กับระยะที่เป็น โดยระยะ 0-2 ที่เป็นระยะเริ่มแรกนั้น การรักษาหลัก คือ การผ่าตัด ส่วนระยะ 3-4 คือ ระยะที่มะเร็งเริ่มลุกลาม สำหรับระยะที่ 3 นั้นยังคงมีการผ่าตัดร่วมด้วยและจำเป็นต้องใช้เคมีบำบัดเข้ามาช่วยรักษา แต่ในระยะ 4 ที่เป็นระยะสุดท้าย การรักษาอาจไม่หายขาด และอาจเพิ่มความรุนแรงกระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมชนิดที่มียีนเฮอร์ทูเป็นบวก (HER2 Positive) ซึ่งเป็นชนิดที่เกิดการลุกลามได้ง่าย แพร่กระจายเร็ว และมีโอกาสโรคกำเริบสูง ปัจจุบันแบ่งการรักษาเป็น 2 แบบหลัก คือ 1. การรักษาเฉพาะที่ (Local Treatment) ทำได้ 2 แบบ คือ การผ่าตัดเต้านมและฉายรังสี วิธีนี้มุ่งหวังการรักษาให้หายขาด เพราะเป็นการตัดหรือกำจัดเซลล์มะเร็งออกจากร่างกาย แต่จะทำได้ต่อเมื่อพบอาการตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม การผ่าตัดแบบเก็บเต้านมไว้ยังมีโอกาสสูง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยต้องเตรียมพร้อมยอมรับการตัดเต้านมทิ้ง เพื่อตัดวงจร ไม่ให้โรคมะเร็งเต้านมกลับมาอีก 2. […]

มะเร็งเต้านม

สิ่งที่คุณทำได้เพื่อต่อสู้กับ อาการอ่อนเพลีย จากมะเร็งเต้านม

ในบรรดาผลข้างเคียงของโรคมะเร็งเต้านมนั้น อาการอ่อนเพลียถือเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด อาการนี้เกิดขึ้นกับผู้ป่วย 9 จาก 10 คนในขณะที่ป่วยเป็นมะเร็ง และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง มาดูกันว่า เราจะสามารถรับมือกับ อาการอ่อนเพลีย จากมะเร็งเต้านม ได้อย่างไรบ้าง สาเหตุของ อาการอ่อนเพลีย จากมะเร็งเต้านม อาการอ่อนเพลีย เกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษามะเร็งเต้านม การผ่าตัด การใช้ยาสลบ อาการเจ็บหลังการผ่าตัด ยาระงับปวด และการเคลื่อนไหวอย่างจำกัด ล้วนเป็นสาเหตุของ อาการอ่อนเพลีย ทั้งสิ้น เคมีบำบัด การรักษาด้วยเคมีบำบัด ทำให้ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ที่ทำให้เลือดแข็งตัวลดลง ซึ่งทำให้พลังงานในร่างกายน้อยลง และระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง คุณจึงมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียและเป็นไข้ เคมีบำบัดยังกระตุ้นให้หมดประจำเดือนเร็วขึ้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และทำให้รู้สึกเหนื่อยได้ง่ายขึ้น การฉายรังสี การฉายรังสี เป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งของ อาการอ่อนเพลีย การรักษาด้วยวิธีนี้ ต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่กำหนด ทำให้รบกวนกิจวัตรประจำวันของคุณ คุณยังต้องพยายามมากในการปรับตัวกับการฉายรังสีในแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้เกิดความเหนื่อยล้าในปรับตัวให้เข้ากับการรักษา การฉายรังสียังทำให้จำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงมีปริมาณน้อยลง การบำบัดด้วยฮอร์โมน การเข้ารับการบำบัดด้วยฮอร์โมน (Hormonal Therapy) ทำให้เกิด อาการอ่อนเพลีย ได้เช่นกัน เนื่องจาก การบำบัดนี้ควบคุมฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย จึงทำให้คุณเกิด อาการอ่อนเพลีย เช่นเดียวกับอาการของวัยหมดประจำเดือน คุณอาจเกิดปัญหาทางการนอนหลับ เนื่องจากอาการร้อนวูบที่เป็นอาการข้างเคียงของวัยหมดประจำเดือน การรับมือกับอาการอ่อนเพลีย จัดตารางเวลานอน วิธีการจัดการกับ อาการอ่อนเพลีย […]

เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม อะไรกินได้ อะไรควรเลี่ยง

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเป็นมะเร็งเต้านมแล้ว แน่นอนว่าจะต้องมีพร้อมความเครียด และอาการต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ดังนั้นเราจึงต้องมีโภชนาการที่ดี เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ในการต่อสู้กับโรคร้ายนี้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับ อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ว่าควรรับประทานอะไรมาให้อ่านกันค่ะ การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์นั้น มีผลอย่างมากสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงรักษาและหลังการรักษา การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั้น มีส่วนช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรง และช่วยให้ร่างกายรู้สึกดีได้เร็วขึ้น ซึ่งอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั้น มีคุณสมบัติดังนนี้ ช่วยรักษาน้ำหนัก ช่วยให้เนื้อเยื่อในร่างกายมีความแข็งแรง ช่วยลดอาการของมะเร็ง และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรักษา รักษาระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ทำให้ร่างกายแข็งแรง ลดความเหนื่อยล้า เคล็ดลับที่ช่วยให้มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดขนาดของมื้ออาหารลง อาการคลื่นไส้ ท้องอืด และอาการท้องผูกเป็นผลข้างเคียงของการรักษาอาการมะเร็งเต้านม การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ๆ 3 มื้อต่อวัน อาจกลายเป็นเรื่องยาก ดังนั้นเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอเหมือนเดิมควรแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ วันละ 5-6 มื้อต่อวัน กินทีละน้อยๆ และเพิ่มมื้ออาหารเข้าไป เพื่อที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ปรึกษานักโภชนาการ การปรึกษานักโภชนาการเพื่อออกแบบแผนการรับประทานอาหารเพื่อให้เหมาะสมกับสุขภาพและความชอบ นอกจากจะได้รับประทานอาหารที่ชอบ ในรูปแบบที่ดีต่อสุขภาพแล้ว ยังช่วยเลือกอาหารที่มีความสมดุลกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรักษาให้เราได้อีกด้วย ใช้ช้อนซ้อมจากวัสดุที่แตกต่างกัน การบำบัดมะเร็งด้วย เคมีบำบัดนั้นอาจทำให้การรับรสชาติในปากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเพื่อปรับปรุงการรับรสชาติอาหารของคุณ ให้หลีกเลี่ยงการใช้ช้อนโลหะ แล้วลองเปลี่ยนมาใช้ช้อนพลาสติกแทนและปรุงอาหารด้วยกะทะ หมอแบบแก้วแทน วางแผนล่วงหน้า การสร้างแผนอาหารล่วงหน้านั้น ช่วยให้คุณมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามแผนที่วางไว้มากขึ้น นอกจากในวันที่เหนื่อยกับการรักษามะเร็งเต้านม เมื่อมีการวางแผน ทำไว้ล่วงหน้า ก็จะช่วยให้รับประทานอาหารตามแผนที่วางไว้ได้ง่ายขึ้น อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม อาการคลื่นไส้ […]

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมกับทางเลือกรักษาที่ไม่ต้องตัดเต้า

การมีเต้านมถือเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงความเป็นผู้หญิง สร้างความมั่นใจและความสวยงามให้กับสรีระของผู้หญิง แต่เต้านมก็สร้างปัญหาให้กับผู้หญิงได้เช่นกัน นั่นคือการเกิดโรคมะเร็งเต้านมนั่นเอง ซึ่งความเสี่ยงในผู้หญิงสูงกว่าในผู้ชาย ถึง 100 เท่า มะเร็งเต้านม เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงเป็นอันดับต้น ๆ มะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติของการแบ่งตัวของเซลล์ภายในเต้านม โดยเซลล์ที่ผิดปกตินั้นจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นก้อนขึ้นมาบริเวณเต้านม หากไม่ได้รับการรักษา เซลล์มะเร็งนี้อาจแพร่กระจายไปยังบริเวณข้างเคียงอย่างต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรืออวัยวะอื่นได้ทั่วร่างกาย เช่น ปอด กระดูก หรือตับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่รู้สึกเจ็บ หรือไม่รู้สึกถึงความผิดปกติ ทำให้กว่าจะมาพบแพทย์ อาจเป็นระยะที่ก้อนใหญ่จนสามารถคลำเจอได้ง่าย หรือเต้านมมีลักษณะที่ผิดปกติไปแล้ว มะเร็งเต้านม หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น สามารถรักษาได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหายขาดจากโรค คือ ไม่มีก้อนหรือเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ในร่างกาย และป้องกันไม่ให้ก้อนมะเร็งนั้นลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการกำจัดก้อนหรือเซลล์มะเร็งให้หมดไป จำเป็นจะต้องผ่าตัดเต้านมออกเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว ในปัจจุบัน มีวิธีการรักษามะเร็งเต้านมอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ขนาดของก้อนมะเร็ง ชนิดของมะเร็ง อาการของผู้ป่วย ปัจจัยอื่น ๆ รวมถึงดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา ข้อมูลที่มีการตีพิมพ์แสดงให้เห็นว่า การวางแผนการรักษาด้วยยาควบคู่กับการผ่าตัด โดยอาจให้ยาก่อน และ/หรือ หลังการผ่าตัดนั้น จะช่วยให้เพิ่มโอกาสในการเก็บเต้านมได้ถึงประมาณ 60% ดังนั้นการรักษามะเร็งเต้านมจึงไม่จำเป็นต้องตัดเต้านมออกเสมอไป การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (Breast conservation […]

มะเร็งเต้านม

ตัวเลือกการแต่งตัวสำหรับ ผู้ผ่าตัดเต้านม เพื่อรักษามะเร็งเต้านม

เรื่องนี้เขียนขึ้นเพื่อ ผู้ผ่าตัดเต้านม จากการรักษาโรคมะเร็งเต้านม หลังผ่าตัดเต้านม ผู้หญิงส่วนหนึ่งอาจจะไม่รู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงอะไร และสามารถแต่งตัวได้ตามปกติ แต่สำหรับผู้หญิงบางคนที่ผ่าตัดเต้านมไปแล้ว อาจรู้สึกไม่มั่นใจ ไม่รู้ว่าจะต้องใส่เสื้อชั้นใน หรือชุดว่ายน้ำแบบไหน จะเลือกเสื้อผ้าอย่างไรดีถึงจะเหมาะ บทความนี้จะช่วยให้ผู้ที่ผ่าตัดเต้านมและต้องใช้ เต้านมเทียม สามารถเลือกเสื้อผ้า และชุดว่ายน้ำได้อย่างเหมาะสม ผู้ผ่าตัดเต้านม กับตัวเลือกในการแต่งตัว บราหรือเสื้อชั้นในที่เหมาะสม หากคุณใช้ เต้านมเทียม ควรเลือกเสื้อชั้นในที่พอดีตัว ใส่แล้วรู้สึกสบายตัว โอบกระชับ แต่ไม่ทำให้อึดอัด โดยคุณสามารถเลือกสวมใส่เสื้อชั้นในธรรมดา เสื้อขั้นในแบบสปอร์ต หรือเสื้อชั้นในแบบมีช่องใส่ เต้านมเทียม ที่ทำขึ้นเพื่อผู้ผ่าตัดเต้านมโดยเฉพาะก็ได้ ในปัจจุบันมีทั้งยี่ห้อที่หาซื้อได้ทั่วไป และแบบสั่งตัดพิเศษ การเลือกเสื้อชั้นในทั้งแบบธรรมดาหรือแบบพิเศษ ควรเลือกแบบที่สายเสื้อในปรับได้ ขนาดของสายต้องไม่เล็กจนเกินไป จะได้รองรับน้ำหนักของเต้านมได้ ไม่ทำให้ไหล่ถูกกดทับ แต่หากคุณไม่อยากสวมเสื้อชั้นใน ก็สามารถทำตามคำแนะนำเหล่านี้ได้ หากคุณไม่ชินกับการไม่สวมเสื้อใน ลองใช้เสื้อกล้ามแทน แล้วติด เต้านมเทียม กับเสื้อกล้ามโดยใช้เข็มกลัดกลัดเอาไว้ จากนั้นจึงค่อยสวมเสื้อผ้าตัวนอก หรือเสื้อคลุมตามปกติ หากไม่ใช้เสื้อกล้าม คุณก็สามารถติด เต้านมเทียม กับเสื้อผ้าได้โดยตรง โดยการใช้แถบตีนตุ๊กแก หรือ Velcro Tape เป็นตัวช่วยในการพยุงเต้านมเทียม ตัดชุดที่มีช่องกระเป๋า ที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับ เต้านมเทียม โดยเฉพาะ ข้อควรระวัง : […]

มะเร็งเต้านม

ผลกระทบจากการฉายรังสี ในการรักษามะเร็งเต้านม ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

การฉายรังสี เพื่อรักษา โรคมะเร็งเต้านม คือ การฉายแสงพลังงานสูงเพื่อทำลาย หรือสร้างความเสียหาย ให้แก่เซลล์มะเร็งที่อยู่ในร่างกาย เช่น บริเวณที่เกิดเนื้องอก หรือต่อมน้ำเหลือง เป้าหมายของวิธี การฉายรังสี เพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของมะเร็ง และลดโอกาสที่มะเร็งจะกลับมาเจริญเติบโตอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคนส่วนใหญ่อาจจะสามารถทนต่อการรักษาด้วย การฉายรังสี ได้ แต่มีบางคนบางกลุ่มที่ได้รับ ผลกระทบจากการฉายรังสี ซึ่งส่งผลต่อร่างกายและจิตใจของคนไข้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับผลกระทบของ การฉายรังสี ทั้งระยะสั้นและระยะยาวมาให้ได้อ่านกันค่ะ ผลกระทบจากการฉายรังสี ในการรักษามะเร็งเต้านม ผลกระทบจากการฉายรังสี ในระยะสั้น ผลข้างเคียงส่วนใหญ่ของ การฉายรังสี มักจะเกิดขึ้นหลังจากรักษาไปแล้ว 2-3 สัปดาห์ และหายไปภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจบการรักษาเช่นกัน ผลกระทบจาก การฉายรังสี เพื่อรักษามะเร็งเต้านมที่พบได้ในระยะสั้น มีดังนี้ การระคายเคืองที่ผิว ผิวหนังบริเวณที่โดนรังสี จาก การฉายรังสี มักจะเกิดผลข้างเคียงเสมอ ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการรักษา บริเวณผิวหนังอาจจะกลายเป็นสีแดง และปวดแสบปวดร้อน คล้ายโดนแดดเผา ความรุนแรงของอาการระคายเคืองผิวหนัง จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน […]

เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพอื่น ๆ
ดูทั้งหมด
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน