banner

ตรวจเช็กสุขภาพ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงสุขภาพระบบทางเดินอาหาร

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคต้อหิน

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงวัยหมดประจำเดือน

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ลดน้อยลง ทำให้เสี่ยงประสบปัญหาสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้บ่อยกว่าคนในวัยอื่น ๆ และที่มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาสุขภาพหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างปัญหาสุขภาพที่พบในผู้สูงอายุ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ โรคอัลไซเมอร์ การปรับพฤติกรรมให้ดีต่อสุขภาพอาจช่วยให้ผู้สูงอายุป้องกันการเกิดโรคใหม่และลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นอยู่เดิมได้ [embed-health-tool-bmi] อายุเท่าไหร่ถึงเรียกว่า ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ (Olderly) หมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่ควรเอาใจใส่เกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากอาจเกิดปัญหาสุขภาพได้ง่ายกว่าคนในวัยอื่น โดยปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยมักมาจากกลุ่มโรคที่เกิดจากความชราภาพ ทำให้ร่างกายถดถอยและอวัยวะต่าง ๆ เสื่อมลง เช่น สายตาแย่ลง หูตึง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ และกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สะสมมาเป็นเวลานานหลายปี โดยอาจเกิดร่วมกับปัจจัยทางพันธุกรรม นำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ ในวัยสูงอายุ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งการใส่ใจดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกลุ่มหลังหรือลดความรุนแรงของโรคได้ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังอาจมีกลุ่มอาการที่เกิดจากความเสื่อมถอยของสุขภาพในวัยชรา เช่น การหกล้ม อาการหลงลืม นอนไม่ค่อยหลับ เคลื่อนไหวได้ช้าลง ภาวะซึมเศร้า อารมณ์ไม่คงที่ ปัญหาสุขภาพ ผู้สูงอายุ […]

สูงวัยอย่างสุขภาพดี

โรคเบาหวาน

อาหารเบาหวานในผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง

อาหาร เบาหวาน ใน ผู้ สูงอายุ ควรเป็นอาหารที่มีความหลากหลาย สารอาหารครบถ้วน ทั้ง 5 หมู่ เเละ ควรเน้นเลือกชนิดอาหารที่มีกากใยสูง และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เพราะอาจส่งเสริมให้โรคเบาหวานควบคุมได้ไม่ดี และ เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลต่อสุขภาพผู้สูงอายุในระยะยาว ดังนั้น การเตรียมอาหารเบาหวานในผู้สูงอายุให้เหมาะสม ร่วมกับการดูแลอย่างใกล้ชิดอาจช่วยควบคุมตัวโรคและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ โรคเบาหวานเกิดจากร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดไปเป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสม จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นและพัฒนาเป็นโรคเบาหวาน หากไม่ได้รับการรักษาอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ หากเป็นเบาหวานก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ดังนี้ แผลติดเชื้อเรื้อรัง ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดแขนหรือขา โรคหลอดเลือดสมองเเละหัวใจ กล้ามเนื้ออ่อนเเรงจากมวลกล้ามเนื้อลดลง การสูญเสียการมองเห็น จากภาวะเบาหวานขึ้นตา อาการปวดเรื้อรัง ดังนั้น การควบคุมอาหารและการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานอย่างใกล้ชิด จึงอาจเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ อาหาร เบาหวาน ใน ผู้ สูงอายุ มีอะไรบ้าง ผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ ได้พลังงานประมาณ 1,500-2,000 กิโลแคลอรี่/วัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอาจอธิบายง่ายๆว่าสัดส่วนของอาหารในเเต่ละมื้อนั้น 1 จาน ควรมี คาร์โบไฮเดรต ¼ จาน (1 ส่วน) โปรตีน ¼ […]

โภชนาการผู้สูงวัย

วิตามินและอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ จำเป็นหรือไม่

จากสถิติพบว่า มากกว่าครึ่งของผู้สูงอายุวัย 65 ปีขึ้นไป กินวิตามินและอาหารเสริม อย่างไรก็ตาม วิตามินและอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ จำเป็นหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบมาให้คุณแล้ว วิตามินและอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ จำเป็นหรือไม่ โดยปกติแล้ว ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ จากการกินอาหารที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางสถิติพบว่า ผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มผู้บริโภคขนาดใหญ่ ที่บริโภควิตามินและอาหารเสริม โดยจากการสำรวจในกลุ่มผู้สูงอายุในหัวข้อ “วิตามินจำเป็นต่อผู้สูงอายุหรือไม่” ในปี 2013 พบว่า 68% ของชาวอเมริกันวัย 65 ปีขึ้นไป กินอาหารเสริมวิตามิน นอกจากนี้ ในปี 2017 ยังมีข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ระบุว่า 29% ของผู้สูงอายุบริโภคอาหารเสริม 4 ชนิดหรือมากกว่านั้น ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลว่า โดยทั่วไปแล้ว วิตามินและอาหารเสริมไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด และในกรณีที่ร่างกายขาดสารอาหาร การกินอาหารเสริมก็ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ต้องการได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ผู้สูงอายุต้องตระหนักว่าอาหารเสริมไม่ใช่ยามหัศจรรย์ และไม่สามารถรักษาอาการป่วยได้ ดังนั้น หากต้องการบริโภคอาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ และควรกินอาหารเสริมควบคู่กับการมีไลฟ์สไตล์ที่ส่งเสริมให้สุขภาพดี เช่น กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ วิตามินที่ผู้สูงอายุควรได้รับ สถาบันโภชนาการและการกำหนดอาหาร (The Academy of Nutrition and Dietetics) […]

โภชนาการผู้สูงวัย

อาหารผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาพดีของชาววัยเก๋า จึงต้องเลือกกิน

ผู้สูงอายุ เป็นช่วงวัยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลและเอาใจใส่ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ที่ควรใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นและเหมาะสมกับสุขภาพ แต่วัยเก๋าควรจะกินอะไรเพื่อให้สุขภาพดีบ้างนั้น บทความนี้จาก Hello คุณหมอ มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับ อาหารผู้สูงอายุ มาฝากค่ะ โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง วัยผู้สูงอายุ จำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่หลากหลาย เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง โดยโภชนาการสำคัญสำหรับ ผู้สูงอายุ ได้แก่ ไฟเบอร์ เมื่ออายุมากขึ้น ระบบเผาผลาญของผู้สูงอายุก็จะเริ่มมีการเสื่อมสภาพ ทำให้เผาผลาญได้น้อยลง และมีผลให้การย่อยอาหารไม่ดีตามมาด้วย ผู้สูงอายุ จึงควรเลือกกินอาหารที่ให้ไฟเบอร์สูง เพราะไฟเบอร์จะช่วยกระตุ้นการทำงานในระบบทางเดินอาหาร ช่วยให้การย่อยอาหารทำได้ดีขึ้น และป้องกันปัญหาท้องผูกที่มักจะพบได้บ่อย ๆ ในกลุ่มผู้สูงอายุ โปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารทีสำคัญสำหรับทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะวัยผู้สูงอายุ ควรกินอาหารที่ให้โปรตีนสูง เพื่อช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย แต่ถ้าให้ดีควรเลือกโปรตีนแบบไม่ติดมัน หรือลีนโปรตีนที่ให้โปรตีนล้วน เพื่อลดปัญหาคอเลสเตอรอลสูง แคลเซียม แคลเซียมมีส่วนช่วยสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่เมื่ออายุมากขึ้นมวลกระดูกและกล้ามเนื้อก็เริ่มที่จะเสื่อมสลายลง เสี่ยงต่อการเปราะ หัก แตก หรือโรคกระดูกพรุน การกินอาหารที่ให้แคลเซียมจะช่วยป้องกันและชะลอโรคกระดูกพรุนได้ วิตามินดี เมื่ออายุมากขึ้นกระบวนการสังเคราะห์วิตามินดีในร่างกายจะเริ่มทำงานได้น้อยลง ผู้สูงอายุ จึงควรได้รับสารอาหารประเภทวิตามินดีเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะวิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ จึงอาจกล่าวได้ว่า วิตามินดีเองก็เป็นสารอาหารสำคัญในการบำรุงกระดูกด้วยเช่นกัน หากมีวิตามินดีน้อย ร่างกายก็จะดูดซึมแคลเซียมได้ไม่เต็มที่ มีผลต่อความแข็งแรงของมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ อาหารผู้สูงอายุ ที่ควรรับประทานมีอะไรบ้าง สุขภาพของ ผู้สูงอายุ นั้นมีความเสื่อมลงไปตามอายุขัย […]

สูงวัยอย่างมีพลัง

ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ต้องตรวจอะไรบ้างถึงจะดี

เมื่อเรามีอายุเพิ่มมากขึ้น โรคร้ายต่าง ๆ ก็มักจะถาโถมเข้ามาแบบไม่ทันได้ตั้งตัว ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือแม้แต่โรคมะเร็ง การตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนควรทำ โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ เพื่อหาโรคแฝงที่อาจจะยังไม่แสดงอาการ และทำให้เราสามารถรับมือกับโรคต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่จะลุกลามและสายเกินแก้ แต่การ ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ควรตรวจอะไรบ้าง หาคำตอบได้จากบทความนี้ที่ Hello คุณหมอ นำมาฝากกัน ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ มีอะไรบ้างที่ควรตรวจ ตรวจความดันโลหิต การตรวจวัดระดับความดันโลหิตนั้นเป็นหนึ่งในการตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐาน ที่ทางโรงพยาบาลมักจะตรวจให้กับผู้ป่วยทุกคน เพราะนอกจากจะช่วยให้เราได้รู้ระดับการเต้นของหัวใจ และการสูบฉีดของเลือดแล้ว ยังสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ หรือโรคความดันโลหิตสูง จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention : CDC) พบว่า ผู้สูงอายุเพศชายประมาณ 64% และเพศหญิงประมาณ 69% จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูงนี้ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้สูงอายุ เพราะเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ กว่าจะรู้ตัวก็อาการหนักแล้ว อีกทั้งยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเกิดโรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ […]

การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน