banner

เครื่องมือสุขภาพสำหรับผู้หญิง

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งรังไข่ ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงวัยหมดประจำเดือน

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งปอด ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงสุขภาพระบบทางเดินอาหาร

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคต้อหิน

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคลำไส้แปรปรวน

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งตับ ออนไลน์

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งมะเร็งลำไส้ใหญ่ ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคหอบหืด

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคโควิด-19

คัดสรรโดยบรรณาธิการ

สุขภาพหญิง

จดหมายจากบรรณาธิการ: ผู้หญิงทุกคนควร “รักตัวเอง” ให้เป็น

วันก่อน ดิฉันได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนรุ่นน้อง เธอมีความกังวลว่าอายุใกล้จะ 40 แล้ว แต่รู้สึกไม่มีความสุข ไม่มีแฟน เบื่องาน น้ำหนักตัวก็ขึ้นกว่า 10 กิโลกรัม ใช้ชีวิตไปวัน ๆ เริ่มรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า “น้องควรทำอย่างไรดีคะพี่” ถ้าเป็นคุณ คุณจะทำอย่างไรเมื่อรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า จะเริ่มต้นแก้ปัญหาที่ตรงไหน ดิฉันช่วยเพื่อนรุ่นน้องแก้ปัญหาด้วยการตั้งคำถามง่าย ๆ ที่ทุกคนควรจะถามตัวเองในวันที่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยหรือท้อใจ    "น้องรักตัวเองเป็นหรือยังล่ะ" ดิฉันถาม เธอเงียบไปประมาณ 5 วินาที แล้วถามว่า "รักกับตัวเองหรือคะพี่"   การรักตัวเองให้เป็น เป็นจุดเริ่มต้นของการรู้จักตัวเองในแบบที่ตัวเองเป็น มองเห็นคุณค่าในตัวเอง พัฒนาตนเอง เพื่อให้แข็งแกร่งได้จากตัวเอง เมื่อคุณรู้จักที่จะดูแลตัวเองให้เติบโต เข้มแข็ง มีพลัง ก็แปลว่า คุณพร้อมที่จะรักและเผื่อแผ่ความรักไปสู่ผู้อื่นเช่นเดียวกัน และไม่มีคำว่าสายเกินไปที่จะเริ่มต้นหันมารักตัวเอง    การรักตัวเองให้เป็น ไม่ใช่ความเห็นแก่ตัว แต่มันคือ "การรัก เมตตา และดูแลตัวเอง ทั้งกาย วาจา ใจ" กาย: สุขภาพสำคัญเป็นอันดับ 1 อย่าใช้ร่างกายหนักเกินไป อย่าทำงานหักโหมเสียจนเอาเงินเดือนมาเป็นค่าหมอ อย่าตามใจปากขนาดนั้น ชีวิตควรอยู่บนความพอดี หมั่นดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้แข็งแรง กินอาหารที่มีประโยชน์ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายที่ตัวเองชอบ […]

ทำความเข้าใจกับสุขภาพหญิง

สุขภาพทางเพศ

ปัญหาสุขภาพทางเพศ ที่พบบ่อยในผู้หญิง และวิธีรับมือที่ควรทราบ

ปัญหาสุขภาพทางเพศ ที่พบได้บ่อยในผู้หญิง อาจมีทั้งโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเต้านม เนื้องอกในมดลูก รวมไปถึงปัญหาเกี่ยวกับการมีประจำเดือนและการตั้งครรภ์ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่พบได้บ่อยเหล่านี้ อาจช่วยให้สามารถรับมือกับโรคได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] ปัญหาสุขภาพทางเพศ ที่พบบ่อยในผู้หญิง ปัญหาสุขภาพทางเพศหญิงที่สามารถพบเจอได้บ่อย และสามารถสร้างความวิตกกังวลให้สาว ๆ ได้ มีดังต่อไปนี้ โรคมะเร็ง โดยมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด 2 ชนิดในเพศหญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก เนื้องอกในมดลูก เนื้องอกที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ สุขภาพของคุณแม่ เป็นปัญหาที่พบในช่วงเวลาผู้หญิงตั้งครรภ์ และคลอดบุตร บางคนอาจมีโรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ด้วย สามารถคำนวณการตกไข่ได้ ที่นี่ การติดเชื้อเอชไอวี (Human immunodeficiency virus หรือ HIV) กลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกเชื้อไวรัสทำลายจนร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคทั้งหลายที่เข้าสู่ร่างกายได้ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองใน หนองในเทียม ซิฟิลิส สุขภาพจิต ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิต เช่น มีความวิตกกังวล ซึมเศร้า มากกว่าผู้ชาย ซึ่งปัญหาสุขภาพจิตเหล่านี้สามารถส่งผลต่อสุขภาพกายได้ด้วย ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะรักษาด้วยการใช้ยา รวมไปถึงการบำบัดจิต ปัญหาสุขภาพทางเพศ หรือสุขภาพการเจริญพันธุ์  สุขภาพทางเพศ หรือสุขภาพการเจริญพันธุ์ […]

สุขภาพทางเพศ

ไส้เลื่อนในผู้หญิง อาการ การวินิจฉัย และการรักษา

ไส้เลื่อนในผู้หญิง คือภาวะที่ลำไส้เคลื่อนที่มายังผนังช่องท้อง ส่งผลให้เกิดอาการบวม โดยเฉพาะในบริเวณหน้าท้อง สะดือ ขาหนีบ และอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องคล้ายกับเวลามีประจำเดือน หากพบว่ามีอาการปวดท้องผิดปกติ และมีอาการบวม ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว [embed-health-tool-ovulation] ไส้เลื่อนคืออะไร ไส้เลื่อน คือ อาการที่ลำไส้เคลื่อนตัวออกจากจุดเดิมมายังผนังช่องท้อง จนมองเห็นเป็นลักษณะก้อนกลม บวม สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายจุด เช่น หน้าท้อง สะดือ สะโพก ขาหนีบ โดยทั่วไปแล้วไส้เลื่อนไม่ถือว่าเป็นอันตรายที่รุนแรง แต่ถึงอย่างนั้นไส้เลื่อนก็ไม่สามารถหายเองได้ และจำเป็นต้องมีการผ่าตัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะก่อให้เกิดอันตราย ไส้เลื่อนในผู้หญิง เป็นอย่างไร อาการไส้เลื่อนในผู้หญิงนั้น ช่วงระยะแรกจะไม่มีอาการใดให้สังเกตหรือรู้สึกได้ อาจจะต้องใช้เวลานานเป็นเดือนหรือเป็นปีจนกว่าจะมีอาการแสดงออกมา แต่ถ้าหากไส้เลื่อนไปเกิดตรงบริเวณที่ผนังหน้าท้องมีความบอบบาง จะก่อให้เกิดอาการปวดท้องขึ้นมา มากไปกว่านั้น อาการปวดไส้เลื่อนในผู้หญิงที่มักจะพบได้บ่อย ๆ ก็คือ มีอาการปวดแบบเรื้อรังที่กระดูกเชิงกรานอย่างเฉียบพลัน และปวดเป็นระยะเวลานาน ไส้เลื่อนในผู้หญิง แตกต่างจากไส้เลื่อนในผู้ชายอย่างไร โดยทั่วไปแล้ว อาการของ ไส้เลื่อน ในผู้หญิงและไส้เลื่อนในผู้ชายจะไม่แตกต่างกันเท่าไหร่นัก จะต่างกันอยู่บ้างก็ตรงที่ ไส้เลื่อนในผู้หญิงนั้นจะเกิดในบริเวณที่มีความลึกลงไปในร่างกาย ทำให้ยากต่อการสังเกต ขณะที่ไส้เลื่อนในผู้ชายจะสามารถมองเห็นเป็นก้อนเนื้อนูน ๆ ได้ชัดเจนกว่า หรือเป็นก้อนนูนที่ใหญ่กว่าไส้เลื่อนในผู้หญิง การวินิจฉัยไส้เลื่อนในผู้หญิง วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าเป็นไส้เลื่อนหรือไม่ คือการสังเกตดูว่ามีก้อนนูน ๆ ขึ้นที่บริเวณหน้าท้อง หน้าขา หรือขาหนีบหรือไม่ หรือหากรู้สึกว่ามีอาการปวดเชิงกรานแบบเรื้อรัง ปวดขึ้นมาแบบเฉียบพลันและใช้เวลานานมากแต่ละครั้งกว่าอาการปวดจะหายไป หากมีลักษณะอาการดังกล่าว […]

สุขภาพหญิง

การตรวจคัดกรองโรคในผู้หญิง สำคัญอย่างไร เบื้องต้นควรตรวจอะไรบ้าง

การ ตรวจคัดกรองโรค ในผู้หญิง คือ การทดสอบในเบื้องต้นเพื่อหาสัญญาณของโรคหรือสภาวะสุขภาพในผู้หญิง ไม่ว่าจะมีอาการที่อาจเป็นสัญญาณของโรคหรือไม่ก็ตาม หากผู้หญิงเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคแล้วพบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคใด ๆ อาจปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคนั้น ๆ ลดลงได้ หรือหากตรวจคัดกรองแล้วพบโรคตั้งแต่ในระยะแรก ก็อาจช่วยให้รักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือช่วยเพิ่มโอกาสในการหายจากโรค [embed-health-tool-bmi] การ ตรวจคัดกรองโรค ในผู้หญิง เบื้องต้นมีอะไรบ้าง การตรวจวัดความดันโลหิต ผู้หญิงควรตรวจอย่างน้อยทุก ๆ 2 ปี หากพบว่า ค่าความดันโลหิตในหลอดเลือดขณะหัวใจบีบตัว หรือค่าความดันตัวบน คือ 120-139 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิตในหลอดเลือดขณะหัวใจคลายตัว หรือค่าความดันตัวล่าง คือ 80-89 มิลลิเมตรปรอท ควรเข้ารับการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง หากค่าความดันตัวบนเกิน 130 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันตัวล่างเกิน 80 มิลลิเมตรปรอท ควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการลดระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม  สำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ อาจยิ่งต้องเข้ารับการตรวจวัดความดันโลหิตให้บ่อยขึ้น และควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลตัวเองจากคุณหมออย่างเคร่งครัด การตรวจวัดไขมันในเลือด คุณหมออาจแนะนำให้เริ่มเข้ารับการตรวจวัดไขมันในเลือดเมื่ออายุ 20 ปี และตรวจซ้ำทุก ๆ 5 ปี […]

สุขภาพหญิง

สุข สวย สตรอง ทั้งกายและใจ แบบฉบับปู ไปรยา

ปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก เป็นหนึ่งในหญิงไทยที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยและสามารถไปเฉิดฉายในระดับอินเตอร์ด้วยความสามารถ ความรักในอาชีพ และความทะเยอทะยาน ตั้งแต่ช่วงก่อนโควิดระบาด ปูย้ายมาอยู่เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เรียนการแสดงและแคสงานต่าง ๆ  ภาพยนตร์ฮออลีวูดเรื่อง Paradise City ที่ปูแสดงนำร่วมกับ จอห์น ทราโวลต้า และ บรู๊ซ วิลcลิส กำลังจะเข้าฉายภายในปี พ.ศ. 2565 นี้ นอกจากนี้ ปูยังทำธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพในประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า Freshly by Praya เนื่องในวันสตรีสากลโลก (International Women’s Day) Hello คุณหมอ ได้มีโอกาสพูดคุยกับปูเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ การใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายในสหรัฐอเมริกา และเคล็ดลับในการใช้ชีวิตให้มีความสุข มีเคล็ดลับในการดูแลสุขภาพกายและใจอย่างไรบ้างคะ ปูมองว่าการออกกำลังกายมันสำคัญมาก การที่ได้ขยับเขยื้อนร่างกาย มีเหงื่อออก เพราะว่าสุดท้ายแล้วมันก็สอดคล้องและพ่วงกันหมดเลย สุขภาพใจก็เกี่ยวกับการที่เราดูแลร่างกาย เมื่อก่อน ปูวิ่งมาราธอน ปูค่อนข้างจริงจังกับการออกกำลังกายมาก แต่ตอนนี้ปูจะทำเพื่อ wellness (สุขภาพ/ความสุขสมบูรณ์) มากกว่า ก็คือไม่เหมือนเมื่อก่อน คือไม่ได้เน้นว่าต้องมีซิกแพคตลอดเวลา แต่กล้ามเนื้อหน้าท้องก็ยังดูดี มองว่าไม่ต้องกดดันตัวเองมาก ไม่ต้องอดอาหาร […]

การเลิกบุหรี่

ผู้หญิงกับบุหรี่ อันตรายต่อสุขภาพที่มากกว่าผู้ชาย

คุณอาจเคยได้ยินว่าการสูบบุหรี่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเพศและวัยไหนก็ได้รับผลเสียจากบุหรี่ทั้งนั้น แต่ทราบหรือไม่ว่าผลเสียของการสูบบุหรี่ต่อผู้หญิงนั้น รุนแรงกว่าผลที่เกิดกับผู้ชาย และนี่คือสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ผู้หญิงกับบุหรี่ ความเชื่อมโยงของ ผู้หญิงกับบุหรี่ ผู้หญิงที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปอดสูงกว่า งานวิจัยเผยว่า ผู้หญิงที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive lung disease/COPD) เป็นสองเท่า ซึ่งรวมถึงอาการถุงลมโป่งพอง และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง แม้ว่าปริมาณการสูบบุหรี่จะเท่ากับผู้ชายก็ตาม เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้สูบบุหรี่แล้ว ผู้หญิงที่สูบบุหรี่มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมากกว่าถึง 22 เท่า ราว 20% ของผู้สูบบุหรี่ทั่วโลกเป็นผู้หญิง ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ในจำนวนผู้ที่สูบบุหรี่ราวหนึ่งพันล้านคนทั่วโลก เป็นผู้หญิงถึง 200 ล้านคน โดยเป็นผู้หญิงในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว 22% และผู้หญิงในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 9% และสิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ จำนวนผู้หญิงที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในบางประเทศ จำนวนผู้ชายและผู้หญิงที่สูบบุหรี่มีประมาณใกล้เคียงกัน จากการสำรวจของกรมอนามัยโลก อัตราการสูบบุหรี่ที่สูงที่สุด อยู่ในผู้หญิงกลุ่มอายุระหว่าง 25 ถึง 44 ปี 64% ของผู้เสียชีวิตจากควันบุหรี่มือสองเป็นเพศหญิง การได้รับควันบุหรี่มีอันตรายเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ ในแต่ละปี มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากควันบุหรี่มือสองถึง 430,000 ราย โดยร้อยละ 64 ของผู้เสียชีวิตเป็นหญิง ควันบุหรี่มือสองสำหรับผู้หญิงนั้นมีอันตรายมากกว่าการสูบบุหรี่ด้วยตนเองเสียอีก บริษัทด้านการตลาดพุ่งเป้าหมายไปที่ผู้หญิงโดยการนำเสนอบุหรี่รสอ่อน บุหรี่รสอ่อน ไม่ได้หมายความว่า มีสารพิษน้อยกว่าหรือปลอดภัยกว่า การสูบบุหรี่ประเภทนี้ ทำให้ผู้สูบสามารถสูดหายใจได้ลึกขึ้นและถี่ขึ้น เพื่อรับปริมาณนิโคตินที่มากพอ […]

ประจำเดือน การตั้งครรภ์ และวัยหมดประจำเดือน

เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพอื่น ๆ
ดูทั้งหมด

การดูแลตัวเอง/การรักตัวเอง

สุขภาพหญิง

ฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง จะสังเกต และปรับสมดุลฮอร์โมนได้อย่างไรบ้าง

สาวๆ เคยไหม อยู่ดีๆ ก็ปวดท้อง ท้องอืด รู้สึกไม่สบายตัว หรือรู้สึกว่าสุขภาพผิดปกติไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ความจริงแล้ว ตัวการที่อยู่เบื้องหลังปัญหาสุขภาพเหล่านั้นของคุณอาจเป็น “ฮอร์โมน” ก็ได้ ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์และอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย หากฮอร์โมนไม่สมดุล ก็สามารถส่งผลให้ร่างกายทำงานผิดปกติได้ ว่าแต่สาวๆ จะสามารถสังเกตภาวะ ฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง ได้อย่างไร แล้วจะปรับสมดุลฮอร์โมนได้ด้วยวิธีใดบ้าง Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณแล้ว [embed-health-tool-ovulation] สัญญาณของ ฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง ปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง สามารถสังเกตได้จากปัญหาสุขภาพเหล่านี้ ประจำเดือนมาไม่ปกติ รอบการมีประจำเดือนของผู้หญิงส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 21-35 วัน แต่หากรอบประจำเดือนของคุณแตกต่างกันมาก หรือประจำเดือนไม่มาหลายเดือน นั่นอาจหมายความว่าร่างกายของคุณหลั่งฮอร์โมนเพศอย่างเอสโตรเจน หรือโปรเจสเตอโรนออกมาน้อยหรือมากเกินไป หรือหากคุณเป็นผู้หญิงวัย 40 หรือ 50 ก็อาจเป็นเพราะคุณกำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรืออยู่ในวัยหมดประจำเดือน แต่ประจำเดือนผิดปกติก็อาจเป็นเพราะภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovarian Syndrome หรือ PCOS) ได้ ฉะนั้น หากประจำเดือนมาไม่ปกติเรื้อรัง ควรปรึกษาคุณหมอ อย่าปล่อยไว้ เป็นสิวเรื้อรัง การมีสิวประปราย หรือมักมีสิวในช่วงก่อนมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากคุณเป็นสิวเรื้อรังก็อาจเป็นสัญญาณของฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิงได้ ปัญหาสิวเรื้อรังนั้นอาจเกิดจากร่างกายของคุณหลั่งฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายออกมามากเกินไป จึงทำให้ต่อมไขมันทำงานผิดปกติ และส่งผลต่อเซลล์ผิวหนังรอบรูขุมขน […]

เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ผู้หญิง อย่างไร ให้ไปถึงจุดสุดยอด

การ กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ให้กับผู้หญิง ทั้งก่อนและระหว่างทำกิจกรรมทางเพศหรือร่วมรัก ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะการกระตุ้นอารมณ์ในแต่ละบริเวณที่ไวต่อความรู้สึก เช่น ช่องคลอด ปุ่มกระสัน อาจช่วยให้ผู้หญิงเกิดอารมณ์ร่วม มีความสุขกับการร่วมรัก และทำให้ ผู้หญิงเสร็จ ได้ง่ายขึ้น สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงไปถึงจุดสุดยอดได้ยาก หากผู้หญิงเกิดอารมณ์ทางเพศและทำให้ ผู้หญิงเสร็จ ได้ง่าย อาจส่งผลดีต่อการทำกิจกรรมทางเพศ แต่ในบางครั้ง ก็อาจมีปัจจัยบางประการที่ส่งผลให้ผู้หญิงไม่ค่อยมีอารมณ์ทางเพศและไปถึงจุดสุดยอดได้ยาก เช่น ปัญหาทางสุขภาพร่างกาย การไม่ถูกเล้าโลม หรือเร้าอารมณ์ก่อนมีเพศสัมพันธ์ ความเครียด อาการเหนื่อยล้า ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคุณ ยาบางชนิด สิ่งสำคัญที่อาจช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ และทำให้ผู้หญิงสามารถร่วมรัก หรือทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ ได้อย่างสุขสมมากขึ้น ก็คือ การทำให้ผู้หญิงรู้สึกผ่อนคลาย ไม่กดดัน และควรเล้าโลมจนแน่ใจแล้วว่า ผู้หญิงพร้อมร่วมรักจริง ๆ อาจสังเกตได้จาก มีน้ำหล่อลื่นไหลออกจากอวัยวะเพศฝ่ายหญิงจนทำให้บริเวณนั้นชื้นแฉะ เป็นต้น จึงค่อยลงมือทำกิจกรรม วิธีนี้อาจช่วยให้กิจกรรมทางเพศที่ทำร่วมกันมีประสิทธิภาพขึ้น และไปถึงจุดสุดยอดด้วยกันทุกฝ่าย จุดของผู้หญิงที่ไวต่อการสัมผัสและการ กระตุ้นอารมณ์ การเล้าโลม สัมผัส หรือกระตุ้น บริเวณดังต่อไปนี้บนร่างกายของผู้หญิง อาจช่วยเพิ่มอารมณ์ทางเพศ และทำให้ผู้หญิงถึงจุดสุดยอดได้ง่ายขึ้น ช่องคลอด ช่องคลอด คือ ช่องกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านในร่างกาย เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมดลูกและอวัยวะเพศภายนอก การสัมผัสกับปากช่องคลอด หรือบริเวณจุดจีสปอต […]

การคุมกำเนิด

การทำหมันหญิง กับข้อเท็จจริงที่ทุกคนควรรู้

การทำหมันหญิง คือ วิธีการคุมกำเนิดประเภทหนึ่งสำหรับเพศหญิง โดยเป็นการคุมกำเนิดแบบถาวรที่ได้ผล และยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ จึงเป็นทางเลือกยอดนิยมสำหรับเพศหญิงที่ไม่ต้องการมีบุตร หรือไม่ต้องการมีบุตรเพิ่ม [embed-health-tool-ovulation] การทำหมันหญิง คืออะไร การทำหมันหญิง (Tubal ligation หรือ Tubal Sterilization) คือ วิธีการคุมกำเนิดประเภทหนึ่งสำหรับเพศหญิง เป็นการคุมกำเนิดแบบถาวร โดยการตัดหรืออุดท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้าง ป้องกันอสุจิเดินทางมาปฏิสนธิกับไข่ ลดโอกาสในการตั้งครรภ์ 100% อย่างไรก็ตาม การทำหมันนี้ไม่สามารถป้องกันจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ จึงควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การทำหมันหญิงนอกจากจะสามารถคุมกำเนิดได้อย่างถาวรแล้ว ยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ได้อีกด้วย จึงเป็นทางเลือกยอดนิยม สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการมีบุตร หรือไม่ต้องมีบุตรเพิ่ม การทำหมันหญิงประเภทต่าง ๆ การทำหมันหญิงแบ่งออกตามช่วงเวลาที่ทำหมันออกเป็นประเภทต่าง ๆ ต่อไปนี้ การทำหมันเปียก หรือเรียกอีกอย่างว่า การทำหมันหลังคลอด หมายถึง การทำหมันทันทีหลังจากคลอดบุตร ไม่ว่าจะคลอดตามธรรมชาติ หรือทำการผ่าคลอด โดยปกติแล้วคุณหมอจะเริ่มทำหมันให้ภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังจากคลอดลูก เนื่องจากเป็นช่วงที่ผนังหน้าท้องมีความยืดหยุ่นสูง ทำให้สามารถผ่าตัดได้อย่างสะดวก สามารถเย็บปิดแผลได้อย่างมิดชิดสวยงามมากกว่า นอกจากนี้ ยังเป็นช่วงเวลาที่ผ่านการอดน้ำอดอาหารมาพร้อมแล้ว ทำให้สามารถลงมือทำหมันได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาอดน้ำอดอาหารเพิ่ม การทำหมันแห้ง หมายถึง การทำหมันในช่วงเวลาอื่น ที่ไม่ใช่ช่วงเวลาหลังคลอด หรือทำหมันหลังจากคลอดไปแล้ว 6 […]

การดูแลทารก

การดูแลทารกแรกเกิด ขั้นพื้นฐาน สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

การดูแลทารกแรกเกิด เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรศึกษาวิธีการดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐานเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการห่อตัวทารกแรกเกิด การเลือกผ้าอ้อม การอาบน้ำให้กับทารก แต่สิ่งสำคัญในการดูแลทารกแรกเกิด ก็คือ ความระมัดระวัง เนื่องจากร่างกายของทารกแรกเกินยังไม่แข็งแรงเท่าที่ควร [embed-health-tool-vaccination-tool] การดูแลทารกแรกเกิด ขั้นพื้นฐาน มีอะไรบ้าง การดูแลทารกแรกเกิด เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนสำหรับคุณพ่อคุณแม่ทุกคน เนื่องจาก ทารกแรกเกิดมีร่างกายที่ยังไม่แข็งแรงพอ เช่น กระดูก ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบควบคุมอุณหภูมิ ทำให้คุณพ่อแม่จึงจำเป็นต้องเรียนรู้การดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐานเอาไว้  ดังนี้ วิธีห่อตัวทารกแรกเกิด การห่อตัวของทารก เป็นการทำให้เด็กทารกรู้สึกได้ถึงความอบอุ่น สบายใจ และปลอดภัย แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ควรจะรัดแน่นจนเกิดไป เพราะอาจทำให้ทารกอึดอัด หรืออาจมีไข้ได้ โดยวิธีการห่อตัวทารกที่ดีนั้นมีวิธี 5 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ กางผ้าสะอาด รูปสี่เหลี่ยมที่ต้องการห่อตัวทารกออก พับมุมบนลงมาเล็กน้อย พร้อมกับวางทารกลงบนผ้าในท่านอนหงายให้ศีรษะอยู่เหนือมุมพับขึ้นไปเล็กน้อย จับผ้ามุมซ้ายห่อเริ่มตัวทารกอย่างนุ่มนวล พาดจากซ้ายมาขวา และสอดเข้าไปด้านหลังทารกให้อยู่ใต้แขนขวา จับมุมผ้าด้านล่างช่วงขาทารกห่อขึ้นมา แต่ไม่ให้แน่นจนเกินไป ให้ดึงขึ้นพอมีที่ว่างให้ทารกยืดขา งอขาได้สะดวก จับผ้ามุมขวาห่อเข้ามาเหมือนขั้นตอนที่ 2 พาดจากขวามาซ้าย และสอดเข้าไปด้านหลังทารกใต้แขนซ้าย ซึ่งจะเห็นได้ว่าทารกจะเหลือแต่เพียงศีรษะ เพื่อให้พวกเขาได้หายใจสะดวก ข้อควรระวัง : ไม่ควรห่อทารกด้วยวิธีนี้ในช่วงอายุ 2 เดือนขึ้นไป เพราะอาจมีการพลิกตัวขณะห่อตัว สามารถทำให้เกิดการเสียชีวิตได้กะทันหัน […]

สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน