banner

ตรวจเช็กสุขภาพ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคโควิด-19

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงสุขภาพระบบทางเดินอาหาร

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคต้อหิน

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงวัยหมดประจำเดือน

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งตับ ออนไลน์

Subot Icon

เครื่องมือค้นหา วัคซีนผู้ใหญ่ ออนไลน์

"สุขภาพ" น่ารู้

โรคเบาหวาน

การตรวจค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือด หรือ Hemoglobin A1C คือ อะไร สำคัญอย่างไร

Hemoglobin A1C คือ การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในกระแสเลือด หรือที่เรียกว่าการตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (HbA1c) ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอทราบถึงการควบคุมระดับน้ำตาลโดยรวมในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา สามารถใช้ในการคัดกรองภาวะก่อนเบาหวาน การวินิจฉัยโรคเบาหวาน และช่วยให้คุทราบถึงประสิทธิภาพของแผนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งการปรับพฤติกรรมสุขภาพและการใช้ยาในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับการรักษาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmr] Hemoglobin A1C คือ อะไร การตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี หรือ Hemoglobin A1C หรือ น้ำตาลสะสม เป็น การตรวจที่สามารถบอกถึงค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งสามารถตรวจได้โดยไม่ต้องอดอาหารมาก่อนล่วงหน้า ตามปกติแล้ว น้ำตาลกลูโคสที่อยู่ในกระแสเลือดจะจับกับฮีโมโกลบินซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในเซลล์เม็ดเลือดแดง และจะคงอยู่จนกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงจะหมดอายุขัย (ประมาณ 100-120 วัน) ดังนั้น หากรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ร่างกายเผาผลาญได้ไม่หมด ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก็จะมีน้ำตาลไปจับกับฮีโมโกลบินเพิ่มขึ้น และยิ่งระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้นเท่าไหร่ หรือ บ่อยครั้งขึ้น ก็จะส่งผลให้มีน้ำตาลที่จับกับฮีโมโกลบินเพิ่มงมากขึ้นตามไปด้วย ผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปีหรือมีความเสี่ยงโรคเบาหวาน ควรเข้ารับการตรวจ Hemoglobin A1C เพื่อคัดกรองโรคเบาหวานหรือภาวะก่อนเป็นเบาหวาน […]

เช็กความเสี่ยง

สุขภาพจิต

ตรวจโรคซึมเศร้า มีวิธีอะไรบ้าง

ตรวจโรคซึมเศร้า เป็นวิธีการตรวจโดยจิตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพจิตใจของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ โดยคุณหมอจะรับฟัง และให้ผู้ป่วยเล่าถึงอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน พฤติกรรมในอดีต รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน นอกจากนั้น อาจให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม รวมทั้งการตรวจสุขภาพร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การตรวจค่าตับและไต การตรวจสารพิษและสารเสพติด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจสมองร่วมด้วย [embed-health-tool-ovulation] โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวนเมื่อมีประจำเดือน คลอดบุตร หรือเข้าสู่วัยทอง หรืออาจเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ หรือการติดสารเสพติดรวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการโศกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ และอาจมีอาการปวดศีรษะและลำตัวร่วมด้วย ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ซึ่งหากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาโดยเร็วที่สุด อาการ โรคซึมเศร้า หากเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ หมดความสนใจต่อกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุข โศกเศร้า วิตกกังวล รู้สึกสิ้นหวัง ว่างเปล่า ไร้ค่า ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ หมดแรง อ่อนกำลัง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ […]

สุขภาพหัวใจ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีอาการอย่างไร เกิดจากสาเหตุใด

หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmia) เป็นภาวะผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ ซึ่งจะกระทบต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นในจังหวะที่เร็วหรือช้ากว่าปกติ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดลดลง จนเกิดอาการหายใจไม่อิ่ม อ่อนเพลีย วิงเวียน หน้ามืด วิงเวียนเหมือนจะเป็นลม เจ็บหรือแน่นหน้าอก หากมีอาการดังที่กล่าวมาและรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติหรือช้ากว่า ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-heart-rate] หัวใจเต้นผิดจังหวะ คืออะไร หัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ โดยหัวใจอาจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) หรือเต้นเร็วกว่าปกติ (Tachycardia) บางคนอาจสังเกตได้ว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่บางคนอาจไม่รู้สึกอะไรเลย ในบางกรณีอาจรุนแรงถึงชีวิตได้ หากรู้สึกว่าตัวเองมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ควรรีบไปพบคุณหมอและรับการวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสม หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจาก อะไร หัวใจเต้นผิดจังหวะอาจเกิดจากการส่งสัญญาณไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ประสานการเต้นของหัวใจผิดปกติหรือไฟฟ้าในห้องหัวใจลัดวงจร จนส่งผลต่อจังหวะการเต้นของหัวใจ แม้คนที่มีสุขภาพหัวใจแข็งแรงดีก็อาจเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มักเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ โรคหัวใจ (Heart disease) ภาวะระดับอิเล็กโทรไลต์อย่างโซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ในกระแสเลือดเสียสมดุล การบาดเจ็บที่หัวใจหรือความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด เช่น การไหลเวียนเลือดลดลง เนื้อเยื่อหัวใจแข็งตัว อยู่ในช่วงฟื้นตัวหลังจากผ่าตัดหัวใจ การติดเชื้อหรือการเจ็บป่วย การใช้ยารักษาโรคหรืออาหารเสริมบางชนิดที่ส่งผลต่อหัวใจ เช่น ยาไทรอยด์ ยาไซบูทรามีน (Sibutramine) ที่ใช้เร่งการเผาผลาญและลดความอยากอาหาร ยากระตุ้นการแข็งตัวขององคชาต อารมณ์เปลี่ยนแปลงกะทันหันหรือมีปัญหาด้านสุขภาพจิต […]

โรคเบาหวาน

10 อาการก่อนเป็นเบาหวาน ที่ควรรู้

อาการก่อนเป็นเบาหวาน เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (Prediabetes) ซึ่งจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่สูงถึงเกณฑ์เป็นโรคเบาหวาน โดยส่วนมากแล้วผู้มีภาวะก่อนเบาหวาน จะยังไม่มีอาการแสดงใด ๆ ที่ผิดปกติให้สังเกตหรือเป็นสัญญาณเตือน แต่หากละเลยหรือปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจส่งผลให้มีอาการเช่น หิวบ่อย กระหายน้ำ/ปัสสาวะบ่อย ดังนั้นผู้ที่มีความเสียงของโรคเบาหวานหรือมีภาวะก่อนเบาหวานแล้วจึงควรหมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ หรือหากพบอาการผิดปกติควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจละเอียดเพิ่มเติม [embed-health-tool-bmi] 10 อาการก่อนเป็นเบาหวาน ที่ควรรู้ เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจนเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน โดยไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะมีอาการแสดงของโรคที่คล้ายกัน เนื่องมากจากอาการเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุมาจากการที่ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากจนถึงระดับหนึ่ง หรือ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมานานเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ดังนั้นผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน หรือแม้จะเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวานแล้วแต่ยังมีระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่สูงมากนัก หรือเพิ่งเริ่มเป็น จึงมักไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ให้เห็น หรือ เป็นสัญญานเตือนที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้รับการดูแลสุขภาพให้ดี จนมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจทำให้มีอาการผิดปกติได้ดังนี้ หิวมาก เมื่อปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงถึงระดับหนึ่ง จะส่งผลให้ตับอ่อนกลับผลิตอินซูลินบกพร่องมากขึ้น จึงยิ่งทำให้เซลล์ในร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักไปใช้เผาผลาญได้อย่างที่ควร ส่งผลให้ร่างกายขาดพลังงาน จึงทำให้รู้สึกหิวบ่อยมากกว่าปกติ ความเหนื่อยล้า เมื่อร่างกายไม่ได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ จึงทำให้เกิดความเหนื่อยล้ามากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น ไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ จึงส่งผลให้มีอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ […]

สุขภาพทางเพศ

ตกขาวมีเลือดปน เกิดจากอะไร และอาการที่ควรเข้าพบคุณหมอ

ตกขาวมีเลือดปน เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดจากอาการก่อนประจำเดือนมาหรือประจำเดือนตกค้างหลังจากหมดรอบเดือนนั้น ที่ทำให้มีเลือดปนกับตกขาวและไหลออกมาทางช่องคลอด อย่างไรก็ตาม อาการนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการผิดปกติหรือเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที [embed-health-tool-ovulation] ตกขาว คืออะไร ตกขาว คือ เยื่อเมือกที่ทำหน้าที่ช่วยดักจับสิ่งสกปรก แบคทีเรีย และเซลล์ที่ตายแล้ว ถูกผลิตจากอวัยวะภายในช่องคลอด เช่น ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ ต่อมบาร์โธลิน ต่อมสกีน (Skene's gland) ผนังช่องคลอด ปากมดลูก โพรงมดลูกและท่อนำไข่ ก่อนจะถูกขับออกมาในรูปแบบของตกขาวที่ไหลออกจากช่องคลอด โดยมีส่วนช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ช่องคลอด ป้องกันช่องคลอดแห้งและลดอาการเจ็บแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ ตกขาวมักจะมีลักษณะเป็นเมือกหรือของเหลวใสหรือสีขุ่นเล็กน้อย ไม่ค่อยมีกลิ่นเหม็นและอาจมีปริมาณมากในช่วงที่ไข่ตกหรือก่อนมีประจำเดือน ตกขาวมีเลือดปน เกิดจากอะไร ตกขาวมีเลือดปน อาจเกิดจากอาการก่อนประจำเดือนมาหรือประจำเดือนตกค้าง ทำให้ตกขาวที่ไหลออกมาจากช่องคลอดมีสีแดงหรือสีน้ำตาลปนเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การตั้งครรภ์ ตกขาวมีเลือดปนอาจเป็นสัญญาณเตือนแรกที่เกิดจากตัวอ่อนฝังตัวในผนังมดลูก ทำให้มีเลือดออกผสมกับตกขาวและอาจมีอาการปวดท้องเกร็งหรือปวดท้องน้อยคล้ายกับปวดประจำเดือนร่วมด้วย ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 4-5 สัปดาห์ หากสังเกตว่าประจำเดือนไม่มานานกว่า 1 เดือน ควรตรวจสอบการตั้งครรภ์ด้วยชุดตรวจครรภ์หรือเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลโดยตรง การใส่หรือถอดอุปกรณ์คุมกำเนิด เช่น วงแหวนคุมกำเนิด ห่วงคุมกำเนิด อาจทำให้เกิดการหลุดลอกของเยื่อเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออก นำไปสู่ตกขาวมีเลือดปนไหลทางช่องคลอดได้ การติดเชื้อในช่องคลอด ที่อาจส่งผลให้ช่องคลอดอักเสบและมีเลือดปน โดยสังเกตได้จากอาการระคายเคือง […]

อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ไมเกรนเกิดจาก อะไร และบรรเทาอาการได้อย่างไร

ไมเกรน (Migraines) คือ อาการปวดศีรษะเรื้อรังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย โดยมักปวดศีรษะข้างเดียว หรือเริ่มจากปวดศีรษะข้างเดียวก่อนจะปวดศีรษะทั้งสองข้างอย่างรุนแรง อาจเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้งหรือเกิดขึ้นแทบทุกวัน สาเหตุที่ทำให้เกิดไมเกรนยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เป็นไปได้ว่า ไมเกรนเกิดจาก ความผิดปกติของระดับสารเคมีในสมองที่ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดและเส้นประสาทในสมอง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภายนอกอีกหลายปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้เกิดไมเกรนได้ เช่น ความเครียด ความร้อน สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง กลิ่นแรง ๆ แสงสว่างที่จ้าเกินไป การพักผ่อนไม่เพียงพอ ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในเพศหญิง การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน การไม่ได้ดื่มกาแฟในคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ การสูบบุหรี่ ทั้งนี้ การปวดไมเกรนอาจรุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ จึงควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ไมเกรนเกิดจาก อะไร ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า ไมเกรนเกิดจาก สาเหตุใด แต่อาจเกิดจากเซลล์ประสาททำงานผิดปกติและส่งสัญญาณไปกระตุ้นเส้นประสาทไตรเจมินัล (Trigeminal nerve) ให้เกิดความรู้สึกบริเวณศีรษะและใบหน้า ส่งผลให้ร่างกายปล่อยสารเคมีอย่างเซโรโทนิน (Serotonin) และสาร Calcitonin gene-related peptide (CGRP) ซึ่งเป็นนิวโรเปปไทด์ชนิดหนึ่งในร่างกายโดยสาร CGRP จะทำให้หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองบวม จากนั้นสารสื่อประสาทในสมองจะทำให้เกิดการอักเสบและความรู้สึกเจ็บปวด ปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระตุ้นให้เกิดไมเกรน อาจมีดังนี้ พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นไมเกรน อาจเสี่ยงเกิดไมเกรนได้มากกว่าคนทั่วไป เพศ เพศหญิงเสี่ยงเป็นไมเกรนมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะผู้หญิงวัย 15-55 […]

เคล็ดลับการออกกำลังกาย

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

อยากมี ซิกแพค ต้องกินอะไรและออกกำลังกายท่าไหน

ซิกแพค (Six Pack) คือ กล้ามเนื้อหน้าท้องที่แบนราบและแข็งแรง จนสามารถมองเห็นเป็นกล้ามเนื้อข้างซ้าย 3 มัด ข้างขวา 3 มัด ซึ่งรวมกันเป็นกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (Core Muscles) โดยสิ่งสำคัญในการสร้างซิกแพค คือ การรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย เช่น อาหารโปรตีนสูง ผัก ผลไม้ ธัญพืช ไขมันดี ร่วมกับการออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ อาหารสำหรับสร้าง ซิกแพค การเลือกกินอาหารอย่างเหมาะสมอาจช่วยสร้างซิกแพคได้รวดเร็วขึ้น ดังนี้ อาหารโปรตีนสูง โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและช่วยสร้างซิกแพคได้เป็นอย่างดี จึงควรกินโปรตีนให้มากขึ้นวันละ 1.5-2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อสร้างซิกแพคและลดไขมันหน้าท้อง โดยแหล่งโปรตีนที่ดีอาจมีดังนี้ โปรตีนจากสัตว์ เช่น ไก่ เนื้อวัว หมู แกะไม่ติดมัน ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน นม ชีส โยเกิร์ต เต้าหู้ โปรตีนจากพืช เช่น พืชตระกูลถั่ว ถั่วเลนทิล ถั่วลันเตา ถั่วชิกพี (Chickpea) อัลมอนด์ […]

เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

การออกกำลังกายสำหรับเด็ก ที่อาจช่วยพัฒนาความเคลื่อนไหวได้ดี

ไม่ว่าจะช่วงอายุใด การออกกำลังกาย ก็ย่อมเป็นกิจกรรมที่สำคัญเสมอที่ทุกคนควรหันมาขยับร่างกายบ้าง สัปดาห์ละ 1-2 วัน ก็ยังดี โดยเฉพาะเมื่อเริ่มฝึกตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก ที่นอกจากจะเป็นการส่งเสริมความแข็งแรงแล้ว ยังอาจทำให้เด็ก ๆ ค้นพบกีฬาที่ตนเองรัก และต่อยอดไปถึงอนาคตได้อีกด้วย [embed-health-tool-child-growth-chart] เด็ก ๆ ควรออกกำลังกาย มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากการเคลื่อนไหวของเด็กแต่ละช่วงวัยค่อนข้างแตกต่างกัน ทำให้บางกิจกรรมเด็กในบางคนก็ไม่สามารถทำได้เป็นระยะเวลานาน เพราะอาจเกิดความเสียหายต่อร่างกายขึ้น ตามคำแนะนำของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา ถึงระดับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับเด็กนั้น จึงถูกแบ่งออกตามช่วงอายุ ดังต่อไปนี้ เด็กก่อนวัยเรียน อายุ 3-5 ปี ควรมีการเคลื่อนไหวร่างกายตลอดทั้งวัน แต่อาจอยู่ในระดับเบา เช่น เดินวิ่งไปมา ภายในสวน และหรือในบ้าน เพื่อเป็นการพัฒนาด้านการเคลื่อนไหวและการเจริญเติบโตได้ไวขึ้น เด็กวัยเรียนจนถึงวัยรุ่น อายุ 6-12 ปี ควรออกกำลังกายในระดับปานกลางอย่างน้อย 60 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ หรืออาจเป็นการแอโรบิคเป็นประจำทุกวัน ประโยชน์ของ การออกกำลังกายสำหรับเด็ก หากลูกรักมีการขัยบร่างกาย หรือหมั่นออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ สามารถทำให้สุขภาพของลูกรักนั้นแข็งแรง ห่างไกลจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานประเภทที่ 2 ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นต้น เสริมสร้างความแข้งแรงของกล้ามเนื้อ […]

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ไขมันที่หลัง ลดได้ด้วยการควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย

ปกติการสะสมของไขมันมักกระจายอยู่ใต้ผิวหนังตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น รอบเอว แขน ขา ใบหน้า หรือแม้แต่ส่วนหลังของ ซึ่งการจัดการกับ ไขมันที่หลัง อาจทำได้ด้วยการออกกำลังกายควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ร่างกายไม่มีไขมันแล้ว ยังช่วยให้สุขภาพแข็งแรงอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] ไขมันที่หลัง ทั้ง 3 ส่วน ที่พบได้บ่อย ไขมันที่หลัง มักเกิดจากการสะสมของไขมันที่มักมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และความผิดปกติของระบบเผาผลาญในร่างกาย โดยไขมันส่วนนี้สามารถมีการกระจายออกไปบริเวณโดยรอบที่เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ได้แก่ ไขมันที่หลังส่วนบน มักอยู่บริเวณขอบสายเสื้อในที่มีเนื้อล้นออกมา หรือรักแร้นั่นเอง ไขมันกลางหลัง พบเจอได้ในส่วนหลังรอบ ๆ เอว ไขมันหลังส่วนล่าง มักจะอยู่บริเวณขอบกางเกง โดยสังเกตได้จากเนื้อล้นออกมาเมื่อใส่กางเกง อาหารที่ควรรับประทานเพื่อลดไขมันที่หลัง การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ อาจช่วยในการลดน้ำหนักหรือลดไขมันที่หลังได้ โดยเฉพาะอาหารที่ประกอบไปด้วย โปรตีน ไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุ อาหารจำพวกผักใบเขียว ผลไม้ ธัญพืช โปรตีนที่มีมันน้อยอย่างปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน รวมถึงไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น อะโวคาโด น้ำมันสกัดจากธรรมชาติ นอกจากนี้ ควรลดการบริโภคอาหารที่ประกอบด้วยน้ำตาล เกลือ และไขมันอิ่มตัว เช่น อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม ของหมักดอง ดังนั้น […]

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ออกกำลังกาย แต่น้ำหนักไม่ลด เป็นเพราะอะไรกันแน่

ออกกำลังกาย แต่น้ำหนักไม่ลดมักมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป กินอาหารที่มีโปรตีนน้อย กินอาหารขยะ  ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายได้รับแคลอรี่ ไขมัน และน้ำตาลมากกว่าปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายเผาผลาญออกไป จึงควรควบคุมปริมาณและประเภทของอาหาร ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม อาจจะช่วยให้ลดน้ำหนักได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่อาจทำให้น้ำหนักไม่ลดแม้จะออกกำลังกาย ออกกำลังกาย แต่น้ำหนักไม่ลดอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น กรรมพันธุ์ การออกกำลังกายน้อยเกินไป การออกกำลังกายผิดวิธี ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่ปัจจัยส่วนใหญ่ที่ทำให้น้ำหนักไม่ลดมักเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกินอาหาร ดังนี้ กินโปรตีนไม่เพียงพอ โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่อาจช่วยในการสดน้ำหนัก เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมันไม่ติดหนัง ปลา พืชตระกูลถั่ว เมล็ดพืช อาจช่วยลดความอยากอาหาร ลดมวลไขมัน เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งส่งผลดีต่อการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ช่วยทำให้น้ำหนักลดลงได้ งานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition Journal ปี พ.ศ. 2557 ทำการวิจัยเกี่ยวกับผลต่อความอยากอาหารเมื่อรับประทานอาหารอาหารเช้าที่มีโปรตีนสูงเทียบกับอาหารเช้าที่มีโปรตีนตามปกติในเด็กหญิงวัยรุ่นตอนปลายที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ซึ่งทำการทดลองแบบสุ่มในเด็กผู้หญิง 20 คน โดยให้รับประทานอาหารเช้าที่มีพลังงาน 350 กิโลแคลอรี่่ และมีโปรตีน 13 กรัม หรือ 35 กรัม หรืองดอาหารเช้า ต่อเนื่องเป็นเวลา 6 […]

เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพอื่น ๆ
ดูทั้งหมด

กินดี สุขภาพดี

สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน