banner

สุขภาพดี

โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูก 2 ขวบ ท้องผูก สาเหตุและการรักษา

ลูก 2 ขวบ ท้องผูก เป็นปัญหาที่คุณแม่คุณพ่ออาจพบบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝึกให้ลูกขับถ่ายในช่วงอายุ 2-3 ขวบ เนื่องจากในช่วงอายุนี้ การบีบตัวของลำไส้ไม่ดีทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวช้าลงจนอาจทำให้อุจจาระแห้งและแข็ง ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารเส้นใยน้อย ลูกกลัวการเข้าห้องน้ำ การกลั้นอุจจาระ หรือการใช้ยาบางชนิด แม้อาการท้องผูกอาจเกิดขึ้นชั่วคราว แต่การรักษาและการป้องกันที่ถูกวิธีอาจช่วยลดอาการท้องผูกของลูกกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทำให้ลูก 2 ขวบท้องผูก สำหรับสาเหตุที่อาจทำให้ลูก 2 ขวบ ท้องผูก มีดังนี้ อาหาร เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย เช่น อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากนม ขนมหวาน รวมทั้งการดื่มน้ำไม่เพียงพอ และเด็ก ๆ มักจะรับประทานยาก เลือกรับประทาน รับ ประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ อาจทำให้อุจจาระแห้งและแข็ง ซึ่งเป็นปัญหาส่วนใหญ่ที่ทำให้ลูกท้องผูก ไม่ได้รับการฝึกเข้าห้องน้ำ ลูก 2 ขวบส่วนใหญ่สนใจการเล่นมากกว่าเรียนรู้การเข้าห้องน้ำ เด็กบางคนอาจรู้สึกอายเมื่อต้องร้องขอให้ผู้ใหญ่พาไปเข้าห้องน้ำ จึงอาจอั้นอุจจาระเป็นเวลานานทำให้อุจจาระแห้งและแข็งขึ้นจนกลายเป็นอาการท้องผูก การเปลี่ยนสถานที่และการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน ในบางครั้งการพาเด็กไปพักนอกบ้าน ไปโรงเรียนครั้งแรก หรือไปเข้าห้องน้ำสาธารณะอาจทำให้เด็กรู้สึกเขินอาย และไม่คุ้นชิน จนไม่อยากเข้าห้องน้ำ หรือเด็กบางคนอาจอุจจาระไม่ออกเมื่อต้องเข้าห้องน้ำนอกบ้าน การไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายมีส่วนช่วยให้อุจจาระเคลื่อนผ่านลำไส้ได้ง่ายขึ้น สำหรับเด็กบางคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือขยับร่างกายอาจส่งผลให้มีอาการท้องผูกได้ […]

สมวัย

ภาวะทุพโภชนาการ

เด็กขาดสารอาหาร เกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

เด็กขาดสารอาหาร เป็นภาวะที่เกิดจากการร่างกายของเด็กขาดสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโต จนมักส่งผลให้พัฒนาการแต่ละด้านของเด็กไม่เป็นไปตามวัย เช่น ทำให้เด็กเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ตัวเล็กกว่าเด็กในวัยเดียวกัน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ช้ากว่าปกติ  คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลเอาใจใส่โภชนาการของเด็กอยู่เสมอ ด้วยการให้เด็กรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม เพราะอาจช่วยป้องกันภาวะขาดสารอาหารในเด็กได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะขาดสารอาหาร คืออะไร ภาวะขาดสารอาหาร  (Malnutrition) คือภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ไขมัน อาจเกิดจากรับประทานอาหารน้อยเกินไป หรือจากการที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้อย่างเต็มที่ เป็นต้น จนส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย ทั้งยังอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้าและเติบโตไม่สมวัย เมื่อขาดพลังงาน ร่างกายจะสลายเนื้อเยื่อของตัวเองและเริ่มดึงไขมันที่สะสมในร่างกายมาใช้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ จากนั้นจะสลายสารอาหารอย่างโปรตีนในกล้ามเนื้อ ผิวหนัง ผม และเล็บ มาใช้เป็นพลังงาน จนเด็กดูซูบผอมและเจริญเติบโตช้าลง ภาวะขาดสารอาหารยังอาจทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติ โดยอาจเริ่มจากระบบคุ้มภูมิกัน เด็กที่มีภาวะขาดสารอาหารจึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ ทั้งยังอาจหายป่วยหรือแผลหายได้ช้าลง นอกจากนี้ การทำงานของหัวใจยังอาจช้าลงไปด้วย ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง ส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เด็กรู้สึกเบื่ออาหารจนไม่รับประทานอาหารตามปกติ และอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบในร่างกาย เช่น สมอง อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ไม่สนใจตัวเอง เก็บตัวไม่สุงสิงกับผู้อื่น หัวใจ อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ไต อาจทำให้เกิดภาวะร่างกายมีน้ำเกินหรือมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไตไม่สามารถควบคุมสมดุลของเหลวในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติได้ […]

โภชนาการเด็กวัยเรียน

อาหารว่าง เด็ก ที่เหมาะสม มีอะไรบ้าง

เด็กวัยเรียน เป็นวัยสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและทางสติปัญญา จึงควรได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้น นอกจากอาหารมื้อหลักแล้ว อาหารว่าง เด็ก ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ โดยอาหารว่างควรเป็นอาหารที่ช่วยเพิ่มพลังงานและสารอาหารที่มีประโยชน์ให้กับร่างกาย เพื่อช่วยให้เด็กมีพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดทั้งวัน เช่น เรียน ทำการบ้าน วิ่งเล่น เล่นกีฬา รวมถึงอาจช่วยลดความหิวระหว่างวันได้ด้วย อาหารว่าง เด็ก ที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเรียน เด็กวัยเรียนอาจมีความอยากอาหารตลอดทั้งวัน เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่ร่างกายและสมองกำลังพัฒนา จึงจำเป็นต้องได้รับพลังงานมากขึ้น การเสริมอาหารว่างที่หลากหลายและมีสารอาหารที่ครบถ้วนให้กับเด็กในปริมาณที่พอเหมาะ หรือประมาณ 2-3 มื้อ/วัน อาจช่วยเพิ่มพลังงานและช่วยลดความหิวระหว่างวันได้ ส่งผลให้เด็กมีสมาธิมากขึ้นในการเรียนและทำการบ้าน มีแรงในการวิ่งเล่น เล่นกีฬา หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณพ่อคุณแม่จึงควรจัดเตรียมอาหารว่างเพื่อสุขภาพที่เหมาะสำหรับเด็กวัยเรียน โดยอาจจัดเตรียมตามเมนูตัวอย่างต่อไปนี้ ผักและผลไม้สดหั่นพอดีคำ เช่น ส้ม กล้วย บลูเบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ แอปเปิ้ล แตงโม แครอท แตงกวา มะเขือเทศ โยเกิร์ตผสมผลไม้ต่าง ๆ หรือธัญพืชและถั่ว ขนมปังโฮลเกรนปิ้งโรยหน้าด้วยผลไม้ต่าง ๆ หรือธัญพืชและถั่ว ขนมปังโฮลเกรนปิ้งทาด้วยเนยถั่ว ครีมชีส โยเกิร์ต ทูน่ากระป๋อง […]

สุขภาพเด็ก

เด็กไม่ค่อยกินข้าว สาเหตุและวิธีแก้ไข

เด็กไม่ค่อยกินข้าว อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาการบดเคี้ยว ปัญหาสุขภาพ การกินของว่างบ่อยเกินไป การแพ้อาหาร ซึ่งอาจลดความอยากอาหารของเด็กทำให้เด็กกินข้าวได้น้อยลง ส่งผลทำให้พ่อแม่กังวลใจว่าเด็กอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เสี่ยงเกิดปัญหาขาดสารอาหาร พัฒนาการทางสมองและร่างกายล่าช้า ซึ่งการส่งเสริมให้เด็กกินอาหารหลากหลายในปริมาณที่มากขึ้นและรู้ถึงความสำคัญของอาหารอาจช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ เด็กไม่ค่อยกินข้าว เด็กไม่ค่อยกินข้าว อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ ดังนี้ ปัญหาทางประสาทสัมผัส (Sensory) เด็กไม่ค่อยกินข้าว อาจมีสาเหตุมาจากประสาทสัมผัสการรับรู้รสชาติ สีสัน กลิ่น หรืออาการแพ้อาหารบางชนิด เนื่องจากเด็กบางคนอาจไม่ชอบรสชาติของผัก ไม่ชอบสีและกลิ่นของอาหารบางชนิด หรืออาจมีอาการแพ้อาหาร เช่น แพ้แลคโตส ความไวต่อสัมผัสเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กรู้สึกไม่อยากกินข้าว ปัญหาการรับประทานอาหาร เด็กบางคนอาจมีอาการที่ส่งผลกระทบต่อการรับประทานอาหาร เช่น เด็กฟันน้ำนมงอกหรือฟันน้ำนมหลุด เด็กปวดฟัน เจ็บคอ เด็กไอหรือสำลักอาหารบ่อยครั้ง เด็กมีกรดไหลย้อน มีแผลในปากหรือลำคอ ปัญหาเหล่านี้อาจทำให้เด็กรู้สึกวิตกกังวลหรือเครียดเมื่อต้องรับประทานอาหาร อาจมีความรู้สึกกลัวความเจ็บปวดเมื่อเคี้ยวอาหาร กลัวการสำลัก ซึ่งอาจทำให้การกินอาหารลำบากขึ้น ความสุขในการกินอาหารลดลง ส่งผลให้ เด็กไม่ค่อยกินข้าว การกินอาหารบ่อยเกินไป การให้เด็กกินอาหารว่างบ่อยเกินไปอาจทำให้เด็กไม่ค่อยอยากกินข้าวมื้อหลัก เพราะอาจรู้สึกอิ่มจากอาหารว่างในระหว่างวัน นอกจากนี้ การให้เด็กกินอาหารว่างบ่อย ๆ โดยเฉพาะขนมหวาน น้ำอัดลม เค้ก คุกกี้ อาจเพิ่มแนวโน้มการเกิดโรคอ้วนในเด็กได้เช่นกัน ความเครียดและความวิตกกังวล ความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นภายในบ้านส่งผลให้เกิดอารมณ์เชิงลบ เช่น พ่อแม่ทะเลาะกัน ซึ่งอาจกระทบต่อเด็ก อาจทำให้เด็กรู้สึกเครียดและวิตกกังวลจนเด็กบางคนอาจเกิดความรู้สึกเบื่ออาหารและไม่ค่อยกินข้าวได้ ปัญหาสุขภาพ ปัญหาสุขภาพบางประการอาจส่งผลกระทบต่อความอยากอาหารของเด็กซึ่งอาจทำให้ เด็กไม่ค่อยกินข้าว เช่น หลอดอาหารอักเสบ (Eosinophilic […]

ช่วงวัยเรียน

การเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

การเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน อาจเกิดขึ้นได้ทั้งทางร่างกายและสมอง โดยแต่ละช่วงวัยก็จะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ เพศก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจทำให้การเปลี่ยนแปลงของเด็กแตกต่างกัน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน เพื่อช่วยให้เด็กมีการพัฒนาทางร่างกายที่ดีซึ่งจะส่งผลไปถึงพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา การเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน สำหรับการเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน อาจแบ่งออกได้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงทางสมอง โดยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อาจมีดังนี้ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของเด็กวัยเรียน เด็กวัยเรียน ในช่วงอายุตั้งแต่ 5-12 ปี อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหลายส่วน ดังนี้ เด็กวัยเรียนมักมีพัฒนาทางความสูงของร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เด็กวัยเรียนมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นด้วย เด็กวัยเรียนอาจมีการพัฒนาด้านความสมดุลของร่างกาย ทั้งการเคลื่อนไหว และการทรงตัว มวลกล้ามเนื้อจะเริ่มเปลี่ยนแปลง และมีความแข็งแรงมากขึ้น เด็กเริ่มพัฒนาลักษณะทางเพศมากขึ้น เช่น เด็กผู้หญิงเริ่มมีพัฒนาการของเต้านม มีขนตามร่างกาย ส่วนเด็กผู้ชายอาจเริ่มมีขนตามร่างกาย การเจริญเติบโตของอัณฑะและองคชาต ตัวอย่างพัฒนาการทางกายภาพแต่ละช่วงอายุ อาจมีดังนี้ 5 ขวบ การทรงตัวดีขึ้น ยืนบนเท้าข้างเดียวได้นานอย่างน้อย 10 วินาที กระโดดข้ามสิ่งของได้ ตีลังกา ใช้ช้อนส้อมได้ ควบคุมการขับถ่ายและใช้ห้องน้ำได้เอง 6-8 ขวบ กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น มีความสมดุลและความอดทนของร่างกายมากขึ้น ลักษณะทางกายภาพเริ่มพัฒนามากขึ้น 9-12 ขวบ ลักษณะทางกายภาพพัฒนาขึ้น มีพัฒนาทางกายภาพเพิ่มขึ้น เช่น หน้าอกใหญ่ขึ้น มีขนตามร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของเด็กผู้ชาย […]

พ่อแม่เลี้ยงลูก

นมกล่อง เด็กจะเริ่มกินได้เมื่อไหร่ และวิธีฝึกให้เด็กกินนมกล่อง

การกิน นมกล่อง (UHT milk) ชนิดที่เหมาะสม อาจช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและเสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน จึงควรเลือกชนิดของนมกล่องให้เหมาะสมกับเด็ก และควรฝึกให้เด็กกินนมกล่องเองได้ เพื่อเสริมสร้างนิสัยการกินนมเป็นประจำซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ควรระมัดระวังปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการกินนมกล่อง เช่น การแพ้นมวัว การย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้เด็กเกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่างเช่น ผื่นลมพิษ ท้องเสีย อาเจียน หรือการกินนมกล่องชนิดที่มีน้ำตาลสูง ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วนในเด็ก และฟันผุ [embed-health-tool-vaccination-tool] นมกล่อง เด็กจะเริ่มกินได้เมื่อไหร่ ในช่วง 6 เดือนแรกของเด็ก ควรให้เด็กกินนมแม่เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะนมแม่เป็นนมที่เด็กสามารถดูดซึมสารอาหารและย่อยได้ง่าย ทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แร่ธาตุอย่างแคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม วิตามินอย่าง วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินดี และมีแอนติบอดี้ที่ช่วยต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เมื่อเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป สามารถให้กินอาหารอื่น ๆ เสริมควบคู่กับไปการให้นมได้ เช่น ข้าวโอ๊ต ซุปปลา ฟักทองบด ไข่ต้ม […]

ใส่ใจการเรียนรู้

เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพอื่น ๆ
ดูทั้งหมด

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน