โรคเรื้อรัง: ปัญหาที่หยั่งรากลึกในเอเชีย

การเสียชีวิตของคนในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่าครึ่ง มีสาเหตุมาจาก “โรคเรื้อรัง” ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือโรคมะเร็ง 

มาลองเจาะลึกกันดูดีกว่าว่า โรคเรื้อรังเหล่านี้ส่งผลต่อคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไรบ้าง

down-icon
โรคเรื้อรัง: ปัญหาที่หยั่งรากลึกในเอเชีย

ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังประสบกับปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า การเสียชีวิตกว่า 55% ของคนในประเทศแถบนี้ มีสาเหตุมาจากโรคเรื้อรัง 

โรคเหล่านั้นได้แก่ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และ โรคมะเร็ง

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือสาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือที่เรียกว่าโรคในกลุ่ม NCDs เป็นโรคเรื้อรังที่จะไม่แพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น 

โรคเรื้อรังเหล่านี้ได้พรากชีวิตผู้คนไปกว่า 8.5 ล้านรายต่อปี 

มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า ประชากรในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเสี่ยงมากกว่าที่จะเสียชีวิตเนื่องจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเหล่านี้ 

  • ฟิลิปปินส์ (27.9%)
  • เมียนมาร์ (24.3%)
  • อินโดนีเซีย (23.1%)
  • มาเลเซีย (19.6%)
  • กัมพูชา (17.7%)
  • เวียนดนาม (17.4%)
  • ไทย (16.2%)
  • สิงคโปร์ (10.2%) 

ในขณะเดียวกัน ในไต้หวัน โรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง หรือหลอดเลือดแดงตีบเนื่องจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือด คือสาเหตุการเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 2 ขณะที่ในอินเดีย โรคไม่ติดต่อเรื้อรังก็เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตกว่า 60% โดยมีสาเหตุหลัก ๆ คือ โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง 

ความเจ็บป่วยที่คุกคามชีวิตเหล่านี้เกิดจากทางเลือกในการใช้ชีวิตบางอย่าง พฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชร์มากเกินไป การไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่อย่างหนัก มักส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังในที่สุด

การใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม ทั้งการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเป็นประจำ และการไม่สูบบุหรี่ อาจสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจก่อนวัยอันควร และโรคเบาหวานได้มากถึง 80%

คำถามที่เดียวที่ยังคงเหลืออยู่คือ แล้วเราจะทำอะไรกับมันได้บ้าง

ลักษณะพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่แย่และเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหล่านี้ยังคงไม่หายไปจากภูมิภาคนี้ จากแบบสำรวจผู้อ่านใน Hello Health ที่ได้สอบถามความคิดเห็นของผู้อ่านมากกว่าพันรายจากหลากหลายประเทศ ทั้งไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ไต้หวัน และอินเดีย เผยว่าผู้คนค้นหาเนื้อหา 3 หัวข้อนี้มากที่สุด

ด้านสุขภาพยอดนิยมที่มีการค้นหามากที่สุดในเอเชีย

จากผลการสำรวรผู้อ่าน Hello Health มากกว่า 9,000 รายทั่วเอเชีย ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน 2020

จากการสำรวจพบว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความกังวลเกี่ยวกับโรคเฉพาะอื่น ๆ มากกว่า

ปัญหาสุขภาพอันดับต้นๆ ของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

จากผลสำรวจของผู้อ่าน Hello Health พบว่า การควบคุมน้ำหนัก และ การจัดการความเครียด เป็นปัญหาสุขภาพอันดับต้นที่คนในเอเชียตะวันออกเฮียงใต้ให้ความกังวล

ปัญหาสุขภาพอันดับต้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัญหาสุขภาพอันดับต้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัญหาสุขภาพอันดับต้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัญหาสุขภาพอันดับต้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัญหาสุขภาพอันดับต้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัญหาสุขภาพอันดับต้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ไทย
โรคมะเร็ง
35
%
การควบคุมน้ำหนัก
32
%
การควบคุมความเครียด
29
%
next

ปัญหาทั้งสองยังอยู่ในรายการปัญหาสุขภาพที่ผู้คนมีต่อคู่สมรสหรือคนรัก รองมาจากโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง ในไทย มาเลเซีย  และเมียนมาร์

เมื่อพูดถึงปัญหาสุขภาพที่กังวลมากที่สุดสำหรับพ่อแม่ ปัญหาที่พบในอันดับต้น ๆ คือความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง และอาการปวดเรื้อรัง บ่งบอกว่าคนในเอเชียมีความกังวลเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง ทั้งต่อตนเองและต่อคนรอบข้าง

ผลลัพธ์จากเครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI): เปอร์เซ็นต์จำนวนผู้ป่วยโรคอ้วนในแต่ละประเทศผลลัพธ์จากเครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI): เปอร์เซ็นต์จำนวนผู้ป่วยโรคอ้วนในแต่ละประเทศผลลัพธ์จากเครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI): เปอร์เซ็นต์จำนวนผู้ป่วยโรคอ้วนในแต่ละประเทศผลลัพธ์จากเครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI): เปอร์เซ็นต์จำนวนผู้ป่วยโรคอ้วนในแต่ละประเทศผลลัพธ์จากเครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI): เปอร์เซ็นต์จำนวนผู้ป่วยโรคอ้วนในแต่ละประเทศผลลัพธ์จากเครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI): เปอร์เซ็นต์จำนวนผู้ป่วยโรคอ้วนในแต่ละประเทศผลลัพธ์จากเครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI): เปอร์เซ็นต์จำนวนผู้ป่วยโรคอ้วนในแต่ละประเทศผลลัพธ์จากเครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI): เปอร์เซ็นต์จำนวนผู้ป่วยโรคอ้วนในแต่ละประเทศ

ผลลัพธ์จากเครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI): เปอร์เซ็นต์จำนวนผู้ป่วยโรคอ้วนในแต่ละประเทศ

คำนวณจากผู้ใช้เครื่องคำนวณดัชนีมวลมวลกายของ Hello Health ตั้งแต่วันลที่ 30 มกราคม ถึง 29 กรกฏาคม 2021

Thailand
19.76
%
โรคอ้วน 1
9.34
%
โรคอ้วน 2
1.2
%
โรคอ้วน 3
โรคอ้วน 1: ค่าดัชนีมวลกายช่วง 30 - 34.9
โรคอ้วน 2: ค่าดัชนีมวลกายช่วง 35.0 - 39.9
โรคอ้วน 3: ค่าดัชนีมวลกายช่วง >= 40
next
1/8

หมวดหมู่ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในเว็บไซต์ Hello Health

ในหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรัง สุขภาพหัวใจ เป็นหมวดหมู่ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในเว็บไซต์ Hello Health ทั้งหมด โดยหมวดหมู่ย่อยที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือ ความดันโลหิตสูง ตามด้วยหมวดโรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ และหัวใจล้มเหลว

มะเร็งและโรคเบาหวาน ยังคงเป็นหมวดหมู่ยอดนิยมสำหรับผู้อ่านใน Hello Health โดยหัวข้อที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม

หมวดหมู่ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในเว็บไซต์ Hello Healthหมวดหมู่ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในเว็บไซต์ Hello Healthหมวดหมู่ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในเว็บไซต์ Hello Healthหมวดหมู่ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในเว็บไซต์ Hello Healthหมวดหมู่ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในเว็บไซต์ Hello Healthหมวดหมู่ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในเว็บไซต์ Hello Healthหมวดหมู่ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในเว็บไซต์ Hello Healthหมวดหมู่ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในเว็บไซต์ Hello Health

หมวดหมู่ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในเว็บไซต์ Hello Health

อ้างอิงจากการโต้ตอบกับเว็บไซต์ Hello Health ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ถึง 25 สิงหาคม 2564

ไทย
โรคมะเร็ง
สุขภาพหัวใจ
โรคเบาหวาน
โรคหลอดเลือดสมอง
next
1/8

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเรื้อรัง

โรคเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดในเอเชียคืออะไร และส่งผลต่อร่างกายอย่างไร อ่านข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่างได้เลย

โรคหัวใจ

งานวิจัยพบว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด และหัวใจล้มเหลว กำลังเพิ่มขึ้นสูงอย่างมากในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่

หนึ่งในโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดจากลักษณะพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ คือโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ภาวะที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยง เช่น คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน การไม่ออกกำลังกาย

โรคเรื้อรัง-ปัญหาที่หยั่งรากลึกในเอเชีย

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน เป็นโรคที่พบมากในเอเชีย นอกจากนี้ยังทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1.2 ล้านรายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 1.3 ล้านรายในประเทศในแถบแปซิฟิกตะวันตก ตามลำดับ จากข้อมูลของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ

ปัจจัยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น โรคอ้วน สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ทำให้ร่างกายต้านอินซูลิน คนที่เป็นโรคเบาหวานอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า 2-3 เท่า

โรคเรื้อรัง-ปัญหาที่หยั่งรากลึกในเอเชีย

โรคมะเร็ง

ใครก็สามารถเป็นโรคมะเร็งได้ แต่อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยอย่างอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อายุ กรรมพันธุ์ และการเปิดรับตัวกระตุ้นบางอย่างสำหรับโรคมะเร็งบางชนิด 

ทางเลือกในการใช้ชีวิตและสิ่งแวดล้อม อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ ในขณะเดียวกัน การสูบบุหรี่ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งปาก มะเร็งลำคอ และมะเร็งอื่น ๆ

โรคเรื้อรัง-ปัญหาที่หยั่งรากลึกในเอเชีย

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองมักเกิดขึ้นจากปัจจัยทางไลฟ์สไตล์ ทั้งความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน และคอเลสเตอรอลสูง แต่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง ดังนี้

  • การออกกำลังกายน้อย ไปจนถึงไม่ออกกำลังกาย
  • การกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การสูบบุหรี่

โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท โรคหลอดเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดสมองแตก โรคหลอดเลือดสมองตีบสามารถพบได้มากถึง 87% ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อกระแสเลือดที่ส่งออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงสมองถูกปิดกั้น อาจทำให้เซลล์ในสมองตาย และการทำงานของสมองลดลงในที่สุด 

โรคเรื้อรัง-ปัญหาที่หยั่งรากลึกในเอเชีย

โรคหลอดเลือดในสมองแตก เกิดขึ้นจากการที่หลอดเลือดในสมองแตก จนส่งผลให้มีอาการเลือดออกในสมอง ภาวะต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดโป่งพอง อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดในสมองแตก ซึ่งอาจทำให้ความดันในสมองเพิ่มขึ้น และทำให้เซลล์ในสมองตายได้

ประเด็นสำคัญ

  • โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง คร่าชีวิตชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปประมาณ 8.5 ล้านคน
  • ความกังวลด้านปัญหาสุขภาพอันดับต้น ๆ ของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับตนเองและคนรอบข้าง มักจะเรื่องของโรคเรื้อรังและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ทั้งการควบคุมน้ำหนัก การจัดการความเครียด และความดันโลหิตสูง
  • การใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการจัดการโรค เป็นหัวข้อที่มีคนค้นหามากที่สุดทางออนไลน์
  • สุขภาพหัวใจ เป็นหมวดหมู่ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในเว็บไซต์ Hello Health ทั้งหมด โดยหมวดหมู่ย่อยที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือ ความดันโลหิตสูง สำหรับประเทศส่วนใหญ่ ส่วนหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมได้แก่ โรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ หัวใจล้มเหลว โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน
  • การเรียนรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของโรคที่พบบ่อยเหล่านี้ อาจสามารถช่วยป้องกันและจัดการกับโรคได้
  • การใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม ทั้งการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเป็นประจำ และการไม่สูบบุหรี่ อาจสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจก่อนวัยอันควร และโรคเบาหวานได้มากถึง 80%

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?