banner

ลองประเมินความเสี่ยงเบาหวานของคุณ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน

Subot Icon

แบบทดสอบ คุมโรคเบาหวาน ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

โรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยใน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยใน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และยังอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในผู้ป่วยเบาหวาน ดังนั้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ นั่นคือ ต่ำกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ [embed-health-tool-bmi] โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยใน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และยังอาจเป็นสาเหตุของการการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังอาจมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่าคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวานถึง 2 เท่า เนื่องจากระดับน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจส่งผลให้โครงสร้างหลอดเลือดทำงานผิดปกติ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจส่งผลกระทบร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ประเภทของโรคเบาหวาน โรคเบาหวานอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 อาจเกิดจากปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม แม้ปัจจัยเหล่านี้จะยังไม่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำลายเซลล์ในตับอ่อน เนื่องจากตับอ่อนมีบทบาทสำคัญในการผลิตอินซูลิน ซึ่งช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนนำไปสู่โรคเบาหวาน ภาวะก่อนเบาหวาน เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคเบาหวาน ดังนั้น หากได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะก่อนเบาหวาน อาจป้องกันการพัฒนาของโรคด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยการลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แต่หากตรวจพบว่ามีภาวะก่อนเบาหวานแล้วไม่ได้รับการรักษาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็อาจพัฒนากลายเป็นโรคเบาหวานได้ในที่สุด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอ […]

โรคต่อมไทรอยด์

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)

ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน เป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากต่อมไทรอยด์ ที่ทำงานมากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินได้   คำจำกัดความต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน คืออะไร ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) เป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมไทรอยด์อยู่ในลำคอและสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ที่ควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย หน้าที่การทำงานบางประการของต่อมไทรอยด์ ได้แก่ ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด กระตุ้นการเผาผลาญ กระตุ้นการเต้นของหัวใจและระบบประสาท และความคุมความร้อนในร่างกาย แต่ฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไปส่งผลให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน พบได้บ่อยเพียงใด ต่อมไทรอยด์ทำงานเกินเป็นภาวะที่พบได้ทั่วไป ผู้หญิงมักมีภาวะดังกล่าวได้มากกว่าผู้ชายถึงสามเท่า แต่คุณสามารถลดโอกาสในการเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการ ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน อาการของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ได้แก่ กระสับกระส่าย มีเหงื่อออก อ่อนเพลีย หัวใจเต้นแรงหรือไม่เป็นจังหวะ หรือความผิดปกติเกี่ยวกับจังหวะการเต้นของหัวใจอื่น ๆ เช่น ภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ (Trial fibrillation) อาการอื่น ๆ ได้แก่ ดวงตาระคายเคือง น้ำหนักลด มีความไวต่อความร้อน ขับถ่ายอุจจาระหรือท้องเสียบ่อย ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกรฟส์ (Graves’s disease) มีต่อมไทรอยด์โต (โรคคอพอก) อาจมีตาโปน (Exophthalmos) สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ หัวใจเต้นเร็ว มีเหงื่อออกผิดปกติ มีอาการบวมที่คอส่วนล่าง หรือมีอาการอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ควรไปพบคุณหมอ และต้องอธิบายถึงความเปลี่ยนแปลง ที่คุณสังเกตได้โดยละเอียดเนื่องจากสิ่งบ่งชี้และอาการต่าง ๆ ของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน อาจสัมพันธ์กับภาวะอื่นๆ อีกจำนวนมาก หากคุณได้เข้ารับการรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินแล้ว หรือเข้ารับการรักษาในเร็ว ๆ […]

อาการของโรค

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism)

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญออกมาไม่เพียงพอ โดยต่อมไทรอยด์นี้ตั้งอยู่บริเวณส่วนด้านล่างลำคอ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเข้าไปในกระแสเลือด คำจำกัดความ ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism)  คืออะไร ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญออกมาไม่เพียงพอ โดยต่อมไทรอยด์นี้ตั้งอยู่บริเวณส่วนด้านล่างลำคอ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเข้าไปในประแสเลือด  อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า โรคไฮโปไทรอยด์ส่งผลกระทบต่อทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่หัวใจไปยังสมอง และจากกล้ามเนื้อไปถึงผิวหนัง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดข้อ ภาวะอ้วน ภาวะมีบุตรยาก โรคหัวใจ  พบได้บ่อยเพียงใด ภาวะไฮโปไทรอยด์ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย  แต่มักพบในผู้สูงอายุเพศหญิงที่อายุ 60 ปี  อาการอาการ ภาวะไฮโปไทรอยด์ ในช่วงแรกผู้ป่วยที่อยู่ใน ภาวะไฮโปไทรอยด์ อาจไม่มีอาการแสดงให้เห็น แต่จะรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย น้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งเราอาจคิดว่าเป็นแค่เพียงอาการอ่อนเพลียทั่วไป เราอาจจะเห็นสัญญาณและอาการที่ชัดเจนขึ้น โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้  ท้องผูก  ผิวแห้ง น้ำหนักเพิ่มขึ้น หน้าบวม  เสียงแหบ ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น กล้ามเนื้อมีอาการปวด กดเจ็บ และแข็งเกร็ง  มีอาการปวด แข็งเกร็ง หรือบวมที่ข้อต่อ  มีประจำเดือนมากกว่าปกติหรือผิดปกติ  ผมบาง หัวใจเต้นช้า ซึมเศร้า ความจำเสื่อม   กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผมบาง ท้องบวมมาก  กรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรืออยู่ในภาวะมิกซีดีมา (Myxedema) จะมีลักษณะอาการความดันโลหิตต่ำ อุณหภูมิในร่างกายลดลง ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุ ภาวะไฮโปไทรอยด์ สาเหตุส่วนใหญ่ของ ภาวะไฮโปไทรอยด์ เกิดจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์ […]

โภชนาการพิเศษ

โภชนาการสำหรับ ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ กินอะไรดีต่อโรค

ฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมการเจริญเติบโต ช่วยซ่อมแซมเซลล์ และการเผาผลาญ สำหรับผู้ที่มีปัญหาไทรอยด์ทำงานต่ำ อาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย ผมร่วง น้ำหนักขึ้น ซึ่งการเลือกรับประทานอาหารให้มีความเหมาะสม มีส่วนช่วยฟื้นฟูการทำงานของต่อมไทรอยด์และช่วยลดอาการของโรคได้ แม้อาหารจะไม่ใช้ปัจจัยเดียวที่ช่วยรักษาภาวะไฮโปไทรอยด์ได้ก็ตาม วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โภชนาการสำหรับ ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ ว่าควรเลือกรับประทานอย่างไรดี มาฝากกันค่ะ [embed-health-tool-bmi] ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) คืออะไร ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ฐานคอ มีรูปร่างคล้ายกับผีเสื้อ ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ในการสร้างและเก็บฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นต่อมที่มีผลต่อเซลล์หลาย ๆ เซลล์ในร่างกาย เมื่อต่อมไทรอยด์ได้รับสัญญาณที่เรียกว่า ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (Thyroid-Stimulating Hormone; TSH) ก็จะปล่อยฮอร์โมนไทรอยด์เข้าสู่กระแสเลือด สัญญาณนี้ถูกส่งมาจากต่อมใต้สมอง ซึ่งเป็นต่อมเล็ก ๆ เมื่อพบว่าระดับฮอร์โมนไทรอยด์อยู่ในระดับต่ำ แต่บางครั้งต่อมไทรอยด์ก็จะไม่ปล่อยฮอร์โมนนี้ออกมาแม้ว่าจะเกิดการกระตุ้นแล้วก็ตาม ทำให้ร่างกายเกิดภาวะที่เรียกว่า ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism) ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุด นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นอีกมากมายที่ทำให้เกิด ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน เช่น ขาดไอโอดีน ความผิดปกติทางพันธุกรรม การรับประทานยาบางชนิด และการผ่าตัดเอาไทรอยด์ออกบางส่วน ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญกับร่างกายเป็นอย่างมาก มีหน้าที่ในการควบคุมการเจริญเติบโต ซ่อมแซมเซลล์ และช่วยในการเผาผลาญ […]

ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

ไฮโปไทรอยด์ ส่งผลต่อโอกาสตั้งครรภ์อย่างไร

ไฮโปไทรอยด์ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอกซิน (Thyroxine) มากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนไทรอกซินเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ในการควบคุมเมแทบอลิซึม เพื่อผลิตพลังงานให้แก่ร่างกาย โดยภาวะไฮโปไทรอยด์อาจพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ และอาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ เช่น วงจรการตกไข่ ระดับโปรแลคตินสูง ความไม่สมดุลของฮอรโมนเพศ และหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก [embed-health-tool-ovulation] ไฮโปไทรอยด์ คืออะไร ไฮโปไทรอยด์ เกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอกซินมากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนไทรอกซินเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ในการควบคุมเมแทบอลิซึม เพื่อผลิตพลังงานให้แก่ร่างกาย โดยไฮโปไทรอยด์อาจพบได้บ่อยในเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ และอาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ เช่น วงจรการตกไข่ ระดับโปรแลคตินสูง ความไม่สมดุลของฮอรโมนเพศ และหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ไฮโปไทรอยด์ กับการตั้งครรภ์ ไฮโปไทรอยด์อาจส่งผลต่อการตกไข่ โดยปกติผู้หญิงที่มีประจำเดือนในแต่ละเดือน ไข่จะถูกปล่อยออกมาจากรังไข่ แต่สำหรับผู้หญิงที่มีภาวะไฮโปไทรอยด์ อาจตกไข่น้อยลงหรือไม่ตกไข่เลย ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ นอกจากนั้น ภาวะไฮโปไทรอยด์ยังอาจรบกวนการพัฒนาของตัวอ่อน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร หากคุณแม่ตั้งครรภ์โดยที่ไม่ได้รับการรักษาภาวะไฮโปไทรอยด์ อาจส่งผลให้ทารกคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระบบประสาท ดังนั้น ผู้ที่ต้องการมีบุตรหรือกำลังตั้งครรภ์ควรเข้ารับการตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์และได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาการของภาวะไฮโปไทรอยด์ อาการของภาวะไฮโปไทรอยด์ที่อาจเกิดขึ้น อาจมีดังนี้ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น น้ำหนักลดทั้งที่รับประทานอาหารในปริมาณปกติ เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ หงุดหงิด วิตกกังวล สูญเสียกระดูก กระดูกบาง การตรวจและรักษาภาวะไฮโปไทรอยด์ สำหรับการตรวจหาภาวะไฮโปไทรอยด์ คุณหมออาจตรวจร่างกายและตรวจเลือด เพื่อวัดระดับฮอรโมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) […]

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Disorder)

คำจำกัดความความผิดปกติของต่อมไทรอยด์คืออะไร ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (thyroid disorder) เป็นอาการที่ส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ต่อมที่มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ และอยู่ด้านหน้าของคอ ต่อมไทรอยด์มีบทบาทสำคัญในการควบคุมระบบเผาผลาญหลายระบบทั่วทั้งร่างกาย ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์แต่ละชนิด ล้วนส่งผลต่อโครงสร้าง หรือการทำงานของต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์อยู่ใต้ลูกกระเดือกโอบอยู่รอบๆ หลอดลม เนื้อเยื่อบางๆ ที่กลางต่อมเรียกว่าคอคอด (isthmus) เชื่อมกลีบของต่อมไทรอยด์ในแต่ละด้าน ต่อมไทรอยด์ใช้ไอโอดีนเพื่อสร้างฮอร์โมนที่สำคัญ ฮอร์โมนไทรอกซิน (Thyroxine หรือ T4) เป็นฮอร์โมนหลักที่ผลิตโดยต่อมนี้ หลังจากร่างกายลำเลียงฮอร์โมนไทรอกซินผ่านกระแสเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ฮอร์โมนไทรอกซินส่วนเล็กๆ ที่ออกมาจากต่อมไทรอยด์ จะเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนไทรไอโอโดไทโรนีน (triiodothyronine หรือ T3) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์มากที่สุด การทำงานของต่อมไทรอยด์ถูกควบคุมโดยการตอบสนองของกลไกที่เกี่ยวข้องกับสมอง เมื่อระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ต่อมไฮโพทาลามัส (hypothalamus) ในสมอง จะผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่าฮอร์โมนสำหรับปล่อยไทโรโทรปิน (thyrotropin releasing hormone หรือ TRH) ที่ทำให้ต่อมใต้สมอง (ตั้งอยู่ที่ส่วนฐานของสมอง) ปล่อยฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (thyroid stimulating hormone หรือ TSH) ฮอร์โมนดังกล่าวจะกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ปล่อยฮอร์โมนไทรอกซินเพิ่มขึ้น เนื่องจากต่อมไทรอยด์ถูกควบคุมโดยต่อมใต้สมอง และต่อมไฮโพทาลามัส ความผิดปกติของเนื้อเยื่อเหล่านี้ อาจส่งผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ และทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติได้เช่นกัน ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ประเภทต่างๆ ได้แก่ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) โรคคอพอก ก้อนเนื้อที่ต่อมไทรอยด์ มะเร็งต่อมไทรอยด์ ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน ปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ได้แก่ เหนื่อยล้า ไม่ค่อยมีสมาธิ […]

เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพอื่น ๆ
ดูทั้งหมด

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน