banner

ลองประเมินความเสี่ยงมะเร็งของคุณ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งปอด ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งรังไข่ ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งตับ ออนไลน์

ทำความรู้จักกับมะเร็ง

โรคมะเร็ง

มะเร็ง อาการ สาเหตุ และการรักษา

มะเร็ง หมายถึงกลุ่มโรคที่เซลล์ในร่างกายมีการพัฒนาอย่างผิดปกติจนอาจไม่สามารถควบคุมได้อีกทั้งยังสามารถลุกลามและเข้าทำลายเนื้อเยื่อปกติในอวัยวะส่วนอื่น ๆได้อย่างรวดเร็ว หากไม่ทำการตรวจและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกายและอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต การตรวจคัดกรอง การรักษา และการป้องกันมะเร็งจึงอาจเป็นวิธีที่จะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตจากมะเร็งได้ คำจำกัดความมะเร็ง คืออะไร มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ภายในร่างกาย ซึ่งเซลล์มะเร็งอาจเจริญเติบโตมากขึ้น จนเกิดเป็นเนื้อร้าย เนื้องอก ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉพาะจุด หรือในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาจลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงหรือกระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ผ่านทางหลอดเลือดหรือทางเดินน้ำเหลือง โรคมะเร็งยังแบ่งออกเป็นหลายชนิดขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นจุดกำเนิดของโรค และอาจเห็นเป็นเนื้อร้ายชัดเจน เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม ในขณะที่มะเร็งบางชนิดอาจไม่เห็นเป็นเนื้อร้าย เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว อาการอาการของมะเร็ง อาการเฉพาะของมะเร็งแต่ละชนิดอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งและอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ แต่อาการทั่วไปที่พบบ่อย มีดังนี้ มีก้อนเนื้อเกิดขึ้นในร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง เช่น ผิวเหลือง ผิวคล้ำ ผิวแดง แผลที่รักษาไม่หาย หรือไฝบนผิวหนังอาจเปลี่ยนไป อาการหายใจลำบาก กลืนลำบาก หรือไอเรื้อรัง ร่างกายอ่อนเพลีย การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก อาจลดลงหรือเพิ่มขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ การเปลี่ยนแปลงของลำไส้หรือกระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้อาหารไม่ย่อยหรือรู้สึกไม่สบายตัวหลังรับประทานอาหาร เสียงแหบ ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่ออย่างเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ มีไข้เรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ หรืออาจมีเหงื่อออกตอนกลางคืน มีเลือดออก เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด เลือดออกจากช่องคลอดกะปริบกะปรอย หรือมีรอยช้ำโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรเข้าพบคุณหมอหากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น หรือสงสัยว่าอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเพื่อตรวจคัดกรองและเริ่มกระบวนการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ สาเหตุสาเหตุของการเกิดมะเร็ง มะเร็ง อาจมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอภายในเซลล์ โดยยีนจะมีชุดคำสั่งเพื่อบอกให้เซลล์ทำหน้าที่ต่าง ๆ […]

การตรวจคัดกรองมะเร็ง

โรคมะเร็ง

ตรวจมะเร็ง คัดกรองโรคเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว

การตรวจมะเร็งมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจความผิดปกติในร่างกาย เช่น การเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ เนื้องอก เพื่อทำการรักษาและป้องกันการพัฒนากลายเป็นมะเร็ง ซึ่งอาจช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรค และอาจป้องกันการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเป็นประจำทุกปี เพื่อช่วยให้สามารถตรวจพบสัญญาณของมะเร็งและทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ การตรวจมะเร็งมีอะไรบ้าง การตรวจคัดกรองมะเร็งที่มีเป้าหมายเพื่อค้นหาเซลล์ที่ผิดปกติเพื่อการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องการกันลุกลามและกลายเป็นมะเร็ง มีดังนี้ การตรวจแมมโมแกรม (Mammography) เป็นการทดสอบเพื่อตรวจหามะเร็งเต้านมในผู้หญิงที่ไม่แสดงอาการของโรค การตรวจเต้านม อาจเริ่มด้วยการคลำสัมผัสรอบ ๆ เต้านมเพื่อตรวจหาก้อนเนื้อที่ผิดปกติ สามารถรับการตรวจด้วยคุณหมอหรือสามารถตรวจได้ด้วยตัวเองเป็นประจำ เพื่อหาก้อนเนื้อที่ผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบก้อนเนื้อที่ผิดปกติ ควรทำการตรวจด้วยแมมโมแกรมที่ โดยการเอกซเรย์ภาพเต้านมเพื่อตรวจหาเนื้องอกที่ไม่สามารถตรวจพบด้วยการคลำหรือสัมผัสหา นอกจากนี้ การตรวจแมมโมแกรมยังสามารถตรวจพบแคลเซียมที่สะสมอยู่ซึ่งอาจบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม วิธีการตรวจคุณหมอจะถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมด้านละ 2 รูป ซึ่งฟิล์มเอกซเรย์ที่ออกมาจะแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของก้อนเนื้อและแคลเซียมที่สะสมในเต้านม การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) สามารถใช้ทดสอบเพียงอย่างเดียวหรือใช่ร่วมกับการทดสอบหาเชื้อ HPV ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพิจารณาของคุณหมอ เพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้นและป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ เพราะช่วยให้สามารถพบและรักษาเซลล์ที่ผิดปกติได้ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง โดยคุณหมอจะใช้เครื่องมือสอดผ่านและถ่างช่องคลอด จากนั้นจะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากมดลูกไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งได้ ตรวจฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus: HPV) สามารถใช้ทดสอบหาเชื้อ HPV เพียงอย่างเดียวหรือใช่ร่วมกับการตรวจแปปสเมียร์ ทั้งนี้ […]

โรคมะเร็ง

ตรวจเลือดหามะเร็ง ทำอย่างไร ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

โรคมะเร็ง เกิดจากเซลล์ในร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติจนพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง โรคมะเร็งมีหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งบางชนิดอาจไม่แสดงอาการในระยะแรก การตรวจสุขภาพเป็นประจำและการตรวจคัดกรองด้วยการ ตรวจเลือดหามะเร็ง จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เพราะอาจช่วยให้ทราบถึงการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง รวมถึงประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะภายในว่าได้รับผลกระทบจากมะเร็งหรือไม่ สัญญาณเตือนโรคมะเร็งที่ควรเข้าตรวจคัดกรอง สัญญาณเตือนของโรคมะเร็งที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็ง มีดังนี้ น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนที่พบได้บ่อย มีไข้นานเกิน 3 วัน โดยเฉพาะหากมีไข้นานหลายสัปดาห์ และมีเหงื่อตอนกลางคืน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง รู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา แม้จะนอนหลับพักผ่อนแล้วก็ยังไม่หายเหนื่อย อาการไอ เสียงแหบ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง และมะเร็งต่อมไทรอยด์ ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น ผิวเหลืองหรือแดงผิดปกติ มีอาการคัน เป็นผื่น อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งตับ มะเร็งรังไข่ มะเร็งไต หรือหากมีตุ่มนูน ไฝ ปาน ขึ้นใหม่บนผิวหนัง อาจเกิดจากโรคมะเร็งผิวหนัง เป็นแผลเรื้อรังหรือแผลหายช้า อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งผิวหนัง หรือหากเป็นแผลในปากเรื้อรัง อาจเกิดจากโรคมะเร็งในช่องปาก ซึ่งความเสี่ยงโรคนี้จะยิ่งเพิ่มขึ้นหากสูบบุหรี่ เคี้ยวยาสูบ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลือดออกผิดปกติ เช่น มีเลือดปะปนในอุจจาระ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งลำไส้ มะเร็งทวารหนัก หรือหากปัสสาวะมีเลือดผสม […]

กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

การเดิน ออกกำลังกาย ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ได้จริงหรือ

ถึงแม้โรคมะเร็งจะเกิดจากความผิดปกติของเซลล์อวัยวะภายในร่างกาย แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไป หากคุณมีการดูแลสุขภาพตนเองให้ดีด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็อาจสามารถช่วยให้ลดความเสี่ยงของการโรคมะเร็งได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับ การเดิน ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการบริหารร่างกายแบบพื้นฐานโดยไม่ต้องใช้แรงเยอะให้เหนื่อยกาย มาฝากทุกคนกันค่ะ ทำไม การเดิน ออกกำลังกาย ถึง ป้องกันมะเร็ง ได้ การเดิน ออกกำลังกาย ถือเป็นการบริหารร่างกายในระดับเบา ที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัย และไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลา หรือสถานที่ใด คุณก็สามารถออกกำลังกายด้วยการเดินได้ทุกเมื่อ ซึ่งการเดินออกกำลังกาย หรือการออกกำลังทุกประเภทอย่างเป็นประจำ อาจมีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ลดระดับอินซูลิน (Insulin) และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้มีการทำงานที่ดีขึ้น พร้อมทั้งยังปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในช่วงระหว่างการรักษาโรคมะเร็งในเชิงบวกได้อีกด้วย จากการวิจัยของสมาคมโรคมะเร็งแห่งอเมริกา พบว่า การออกกำลังกายเพียงแค่การเดิน ก็อาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ ได้ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมลิออยด์ มะเร็งตับ เป็นต้น อีกทั้งทางสมาคมโรคมะเร็งแห่งอเมริกายังแนะนำอีกว่าในการเดินการออกกำลังกายให้มีประสิทธิภาพนั้น ควรเดินอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ถึง 20% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย การเดินออกกำลังกาย […]

เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

การบริโภค อาหารออร์แกนิก ลดความเสี่ยงมะเร็ง ได้จริงหรือไม่

อาหารออร์แกนิกเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในช่วงหลายปีมานี้ และยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ไม่ลดลง หลายๆ คนมีความเชื่อว่าการรับประทาน อาหารออร์แกนิก ลดความเสี่ยงมะเร็ง และมีส่วนในการช่วยให้สุขภาพดีขึ้น มีความปลอดภัยต่อร่างกายมากกว่า แถมยังมีรสชาติที่ดีกว่า วันนี้ Hello คุณหมอ อยากจะชวนทุกคนมาหาคำตอบเรื่อง อาหารออร์แกนิก ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งกันได้จริงหรือไม่ ทำความเข้าใจเรื่องผลิตภัณฑ์ ออร์แกนิก คำว่า ออร์แกนิก (Organic) เป็นคำที่ใช้เรียกกระบวนการการผลิตอาหารรูปแบบหนึ่ง ที่มีการปลูกหรือเพาะเลี้ยงโดยไม่ใช้สารเคมี ฮอร์โมนหรือสารกำจัดวัชพืชศัตรูพืชต่างๆ และไม่ใช้พืชที่มี การตัดแต่งพันธุกรรม (GMO) ในการเพาะปลูก นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์จากออร์แกนิก ยังไม่มีส่วนผสมของสารกันบูด สีผสมอาหารและผงชูรสอีกด้วย การปลูกพืชออร์แกนิกมักจะใช้ปุ๋ยที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยที่หมักจากซากพืช มูลสัตว์ ซึ่งปุ๋ยคอกที่ใช้ก็จะต้องได้มาจากมูลสัตว์ที่มีการเลี้ยงแบบออร์แกนิกด้วย ไม่ฉีดฮอร์โมนหรือให้ยาปฏิชีวนะใดๆ นอกจากประโยชน์ต่อสุขภาพที่จะได้รับจากการรับประทานอาหารออร์แกนิกแล้ว การทำเกษตรแบบออร์แกนิกยังมีส่วนช่วยให้คุณภาพดินและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอีกด้วย อาหารออร์แกนิกก็มีมากมายหลายรูปแบบด้วยกัน ทั้งแบบที่แปรรูปและะผัก ผลไม้แบบสด ไม่ว่าจะเป็น ผลไม้ ข้าว นมหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปแล้ว ความเกี่ยวข้องระหว่างสารกำจัดศัตรูพืชกับโรคมะเร็ง สารกำจัดศัตรูพืชเป็นสารที่ถูกใช้เพื่อป้องกันไม่ให้พืชเกิดเชื้อรา รวมไปถึงป้องกันแมลงและศัตรูพืชอื่นๆ ไม่ให้เข้าทำลาย กัดกินพืชที่เราปลูก หน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า สารกำจัดศัตรูเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้สุขภาพแย่ลง สารเคมีบางชนิดที่ใช้ในเชิงเกษตร มีส่วนเกี่ยวข้องทีทำให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยที่รับรองหรือมีหลักฐานยืนยันมากเพียงพอ ว่าสารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืช มีส่วนทำให้เกิดโรคมะเร็งได้จริงๆ เพราะในสารกำจัดศัตรูพืชมีสารเคมีหลาหลายชนิดเป็นส่วนประกอบและปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งก็มาจากหลายปัจจัยเช่นกัน ทำให้เป็นการยากที่จะระบุว่าสารกำจัดศัตรูพืชมีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง […]

โรคมะเร็ง

วัคซีนมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้จริงหรือ

วัคซีน คือ สารชนิดนึ่งที่ฉีดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันร่างกายจากไวรัสที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ โรคมาลาเรีย โควิด 19 โดยวัคซีนจะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีที่สามารถป้องกันเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมอีกครั้ง ระบบภูมิคุ้มกันก็จะทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมนั้น ๆ ซึ่ง วัคซีนมะเร็ง ก็มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายรู้จักเซลล์มะเร็ง รวมถึงทำหน้าที่ในการโจมตีและทำลายเซลล์มะเร็งนั่นเอง การติดเชื้อไวรัสอาจมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งหลายชนิด ตัวอย่างเช่น มะเร็งปากมดลูก อาจเกิดจากไวรัสเอชพีวี (HPV) ในขณะที่มะเร็งตับอาจเกิดจากไวรัสดับอักเสบบี (HBV) ซึ่งในปัจจุบัน มีการพัฒนาวัคซีนหลายชนิดที่ช่วยป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีและไวรัสตับอักเสบบี โดยวัคซีนเหล่านี้อาจอาจมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของการก่อตัวของเซลล์มะเร็งที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสเอชพีวีและไวรัสตับอักเสบบีได้ ประเภทของวัคซีนมะเร็ง ประเภทของวัคซีนมะเร็ง มีดังต่อไปนี้ วัคซีนจากโปรตีนหรือเปปไทด์ เป็นโปรตีนที่มีโมเลกุลเล็ก และมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง วัคซีน DNA และ RNA คือ วัคซีนที่ผลิตจาก DNA หรือ RNA ที่มักพบในเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจช่วยให้เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองและทำลายเซลล์มะเร็ง วัคซีนไวรัส นักวิทยาศาสตร์อาจทำการเปลี่ยนไวรัสในห้องปฏิบัติการที่เรียกว่า เวกเตอร์ไวรัส และใช้เป็นพาหะเพื่อนำส่งแอนติเจนของมะเร็งเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ตอบสนองต่อเวกเตอร์ไวรัส ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันอาจรับรู้และตอบสนองต่อแอนติเจนของมะเร็ง นอกจากนี้คุณหมออาจใช้วิธีการรักษามะเร็งที่เรียกว่า T-VEC ที่คล้ายกับวัคซีนไวรัส โดยใช้สายพันธุ์ของไวรัสเริม นำไปเปลี่ยนแปลงยีนเพื่อระบุให้ไวรัสทำลายเซลล์มะเร็ง เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง มะเร็งศีรษะและลำคอ […]

การวินิจฉัยและการรักษามะเร็ง

โรคมะเร็ง

วิธีตรวจมะเร็ง ด้วยเทคนิคทางการแพทย์

มะเร็ง เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายสร้างเซลล์ที่ผิดปกติและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยโรคมะเร็งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2563 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากที่สุดเกือบ 10 ล้านคน และอาจมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทย สถาบันมะเร็งแห่งชาติกล่าวว่าปัจจุบันสถิติผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ยังคงเพิ่มขึ้น 139,206 คน/ปี และมีอัตราเสียชีวิต 84,073 คน/ปี ซึ่งมะเร็งที่ถูกค้นพบมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปากมดลูก ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยหากสังเกตพบว่า ตนเองมีอาการผิดปกติ เช่น ไอ เสียงแหบ โดยไม่ทราบสาเหตุ รับประทานอาหารลำบาก เลือดออกทางทวารหนัก ผิวหนังเป็นแผล มีตุ่มหรือเป็นก้อน ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็ง หรือตรวจวินิจฉัยมะเร็งในทันที เพื่อรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ มะเร็ง เกิดจากอะไร มะเร็ง เกิดจากเซลล์ในร่างกายมีการแบ่งตัวหรือเจริญเติบโตรวดเร็วจนไม่สามารถควบคุมได้ จนอาจเกิดเป็นเนื้อร้าย เนื้องอก นอกจากนี้ เซลล์มะเร็งอาจสามารถแพร่กระจายไปทั่วทั้งร่างกาย ทำลายเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง […]

โรคมะเร็ง

ระยะของมะเร็ง แต่ละระยะบอกอะไรกับเราบ้าง

ระยะของมะเร็ง เป็นดัชนีชี้วัดความเสี่ยงของโรคมะเร็งที่จะบอกว่ามะเร็งที่เป็นอยู่นั้นมีระดับความอันตรายมากน้อยเพียงใด ยิ่งระยะของมะเร็งอยู่ในลำดับต้น ๆ ก็ยิ่งมีค่าความเสี่ยงน้อย แต่ถ้าหากระยะของมะเร็งมีตัวเลขความเสี่ยงที่สูง นั่นอาจหมายถึงอันตรายต่อชีวิตที่ต้องระวัง บทความนี้ของ Hello คุณหมอ จะพาทุกท่านมารู้จักกับ ระยะของโรคมะเร็ง และความสำคัญของมะเร็งในแต่ละระยะค่ะ ระยะของมะเร็ง คืออะไร ระยะของโรคมะเร็ง (Cancer Stage) คือ ระบบตัวชี้วัดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง โดยหลังจากผู้ป่วยได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยเนื้องอก เนื้อร้าย เซลล์มะเร็ง หรือเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง เพื่อทราบความเสี่ยงว่ามีแนวโน้มจะเป็นมะเร็งหรือไม่ เมื่อทำการตรวจคัดกรองเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะใช้หน่วยที่เรียกว่า ระยะของโรคมะเร็ง ในการแจ้งผลแก่ผู้เข้ารับการตรวจคัดกรอง เพื่ออธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าชิ้นเนื้อดังกล่าวเป็นมะเร็งในระยะใด และเนื้อร้ายดังกล่าวมีขนาดเท่าใด เกิดขึ้นที่ใด มีการแพร่กระจายหรือไม่ สามารถทำการรักษาได้หรือไม่ หรือมีความเสี่ยงใด ๆ จากเนื้องอกนั้นหรือไม่ ระยะของมะเร็ง สำคัญอย่างไร ระยะของโรคมะเร็ง เป็นหน่วยวัดที่มีประโยชน์ทั้งต่อแพทย์และผู้ป่วย ดังนี้ แพทย์สามารถรู้ถึงขนาด และตำแหน่งที่เกิดเนื้องอกหรือเซลล์มะเร็ง แพทย์สามารถวินิจฉัยและระบุแนวทางในการรักษามะเร็งต่อผู้ป่วยได้ ระยะของโรคมะเร็ง ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงของมะเร็ง และประเมินโอกาสในการรักษาได้ แพทย์สามารถกำหนดระยะเวลาในการรักษา และระยะเวลาในการพักฟื้นตัวหลังเข้ารับการรักษาได้ ผู้ป่วยมีข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจเพื่อเข้ารับการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ ผู้ป่วยได้รับทราบถึงระดับความรุนแรงของมะเร็งที่ตนเองเป็น โดยอาจจะอยู่ในระดับที่ไม่มีความรุนแรง ระดับที่ต้องรับการผ่าตัด ระดับที่มีเริ่มเป็นอันตราย หรือระดับที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วนที่สุด ระยะของมะเร็ง มีกี่ระดับ ระยะของโรคมะเร็ง โดยทั่วไปจะมีการแบ่งออกเป็น 4 […]

โรคมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็ง รูปแบบ และความเสี่ยงที่ควรรู้

โรคมะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากการเซลล์ในร่างกายเจริญเติบโตมากและเร็วผิดปกติ ทำให้เกิดเซลล์มะเร็งและสะสมเป็นเนื้องอกหรือก้อนเนื้อ มะเร็งบางชนิดอาจไม่แสดงอาการใด ๆ ในระยะแรก แต่โดยทั่วไปอาจสังเกตได้จากอาการเหนื่อยล้าง่าย ไม่อยากอาหาร กลืนอาหารลำบาก ไอเรื้อรัง มีไข้ เหงื่อออกมากในตอนกลางคืน สีผิวเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตนเองมีอาการดังกล่าว ควรเข้าตรวจคัดกรองมะเร็ง เพราะหากพบว่าเป็นมะเร็งจะได้เข้ารับ การรักษาโรคมะเร็ง ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในการหายขาดจากโรคได้ ปัจจัยเสี่ยงมะเร็ง ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง มีดังนี้ อายุที่มากขึ้น ปกติแล้วเซลล์มะเร็งอาจใช้ระยะเวลานานหลายปีกว่าจะพัฒนาเป็นโรคมะเร็งและแสดงอาการ จึงอาจทำให้ตรวจพบโรคมะเร็งได้มากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคล กรรมพันธุ์ มะเร็งบางชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปสู่บุตรหลานได้ หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีความเสี่ยงนี้อาจไม่เป็นโรคมะเร็งเสมอไป ภาวะสุขภาพ ผู้ที่มีภาวะสุขภาพบางประการ เช่น ลำไส้ใหญ่อักเสบหรือเป็นแผลเรื้อรัง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หากสังเกตเห็นว่าตนเองมีอาการผิดปกติ หรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีดูแลรักษาที่เหมาะสม สภาพแวดล้อม การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสารก่อมะเร็ง เช่น ควันบุหรี่ สารเคมีในที่ทำงานอย่างแร่ใยหิน เบนซีน นิกเกิล อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ […]

โรคมะเร็ง

ข้อควรพิจารณาก่อน การรักษามะเร็ง

มะเร็ง คือโรคที่เกิดจากเซลล์ในร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติ ทำให้เนื้อเยื่อส่วนที่ดีของร่างกายถูกทำลาย และก่อให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนแข็งใต้ผิวหนังหรือเนื้องอกชนิดร้าย โดยอาจสังเกตได้จากอาการไอเรื้อรัง มีไข้ เหงื่อออกตอนกลางคืน เหนื่อยล้า รู้สึกเบื่ออาหาร กลืนอาหารลำบาก ปวดกล้ามเนื้อโดยไม่ทราบสาเหตุ หากมีสัญญาณเตือนดังกล่าว ควรเข้าตรวจคัดกรองมะเร็ง หากพบว่าเป็นมะเร็งจะได้ รักษามะเร็ง ได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาเกี่ยวกับข้อควรพิจารณาก่อนเข้ารับ การรักษามะเร็ง ตามคำแนะนำของคุณหมอ เพราะอาจช่วยให้สามารถเลือกวิธีการรักษามะเร็งได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด ทั้งยังอาจช่วยลดความเสี่ยงหรือผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาได้ด้วย [embed-health-tool-heart-rate] สาเหตุของโรคมะเร็ง โรคมะเร็งอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่เป็นส่วนหนึ่งในดีเอ็นเอ (DNA) ภายในเซลล์ ในดีเอ็นเอมียีนจำนวนมาก โดยยีนมีหน้าที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรมและควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย หากยีนผิดปกติหรือกลายพันธุ์ก็อาจส่งผลให้เซลล์เจริญเติบโตมากและเร็วกว่าปกติ จนอาจพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งได้ อีกทั้งปัจจัยดังต่อไปนี้ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ อายุ คนทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นมะเร็งได้ แต่อาจใช้เวลานานหลายปีกว่าเซลล์จะพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งและแสดงอาการ จึงอาจพบโรคมะเร็งได้บ่อยในผู้สูงอายุ พันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง ความผิดปกติดังกล่าวอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ภาวะสุขภาพ เช่น ลำไส้ใหญ่บวม โรคอ้วน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งบางชนิด หากสังเกตว่าตนเองมีอาการผิดปกติควรปรึกษาคุณหมอทันที พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก การตากแดดเป็นเวลานาน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจช่วยลดความเสี่ยงได้ สภาพแวดล้อม สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องทำงานที่สัมผัสกับสารเคมีที่อาจเป็นสารก่อมะเร็ง เช่น […]

สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน