ปัจจัยเสี่ยงของโรคเรื้อรัง
โรคเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดในเอเชียคืออะไร และส่งผลต่อร่างกายอย่างไร อ่านข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่างได้เลย
โรคหัวใจ
งานวิจัยพบว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด และหัวใจล้มเหลว กำลังเพิ่มขึ้นสูงอย่างมากในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่
หนึ่งในโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดจากลักษณะพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ คือโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ภาวะที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยง เช่น คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน การไม่ออกกำลังกาย
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน เป็นโรคที่พบมากในเอเชีย นอกจากนี้ยังทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1.2 ล้านรายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 1.3 ล้านรายในประเทศในแถบแปซิฟิกตะวันตก ตามลำดับ จากข้อมูลของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ
ปัจจัยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น โรคอ้วน สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ทำให้ร่างกายต้านอินซูลิน คนที่เป็นโรคเบาหวานอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า 2-3 เท่า
โรคมะเร็ง
ใครก็สามารถเป็นโรคมะเร็งได้ แต่อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยอย่างอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อายุ กรรมพันธุ์ และการเปิดรับตัวกระตุ้นบางอย่างสำหรับโรคมะเร็งบางชนิด
ทางเลือกในการใช้ชีวิตและสิ่งแวดล้อม อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ ในขณะเดียวกัน การสูบบุหรี่ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งปาก มะเร็งลำคอ และมะเร็งอื่น ๆ
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองมักเกิดขึ้นจากปัจจัยทางไลฟ์สไตล์ ทั้งความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน และคอเลสเตอรอลสูง แต่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง ดังนี้
- การออกกำลังกายน้อย ไปจนถึงไม่ออกกำลังกาย
- การกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- การสูบบุหรี่
โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท โรคหลอดเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดสมองแตก โรคหลอดเลือดสมองตีบสามารถพบได้มากถึง 87% ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อกระแสเลือดที่ส่งออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงสมองถูกปิดกั้น อาจทำให้เซลล์ในสมองตาย และการทำงานของสมองลดลงในที่สุด
โรคหลอดเลือดในสมองแตก เกิดขึ้นจากการที่หลอดเลือดในสมองแตก จนส่งผลให้มีอาการเลือดออกในสมอง ภาวะต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดโป่งพอง อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดในสมองแตก ซึ่งอาจทำให้ความดันในสมองเพิ่มขึ้น และทำให้เซลล์ในสมองตายได้
ประเด็นสำคัญ
- โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง คร่าชีวิตชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปประมาณ 8.5 ล้านคน
- ความกังวลด้านปัญหาสุขภาพอันดับต้น ๆ ของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับตนเองและคนรอบข้าง มักจะเรื่องของโรคเรื้อรังและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ทั้งการควบคุมน้ำหนัก การจัดการความเครียด และความดันโลหิตสูง
- การใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการจัดการโรค เป็นหัวข้อที่มีคนค้นหามากที่สุดทางออนไลน์
- สุขภาพหัวใจ เป็นหมวดหมู่ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในเว็บไซต์ Hello Health ทั้งหมด โดยหมวดหมู่ย่อยที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือ ความดันโลหิตสูง สำหรับประเทศส่วนใหญ่ ส่วนหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมได้แก่ โรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ หัวใจล้มเหลว โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน
- การเรียนรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของโรคที่พบบ่อยเหล่านี้ อาจสามารถช่วยป้องกันและจัดการกับโรคได้
- การใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม ทั้งการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเป็นประจำ และการไม่สูบบุหรี่ อาจสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจก่อนวัยอันควร และโรคเบาหวานได้มากถึง 80%