backup og meta

โฟลิค คืออะไร สำคัญอย่างไรสำหรับคนท้อง

โฟลิค คืออะไร สำคัญอย่างไรสำหรับคนท้อง

โฟลิค หรือวิตามินบี 9 ช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตเซลล์ใหม่ เป็นวิตามินที่สำคัญสำหรับ คนท้อง และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติแต่กำเนิดที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลางคือการพัฒนาของสมองและไขสันหลังของทารก โดยควรเริ่มเสริมโฟลิคตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน นอกจากนี้ โฟลิคอาจช่วยป้องกันการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงช่วยในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดของหญิงที่ตั้งครรภ์ได้

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

โฟลิค คืออะไร 

โฟลิค คือ วิตามินบี 9 ที่สามารถพบได้ในผักใบเขียว เช่น หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี กระเจี๊ยบเขียว รวมถึงในอาหารจำพวกแป้ง ขนมปัง พาสต้า พืชตระกูลถั่ว นอกจากนี้ ยังมีกรดโฟลิคที่เป็นอาหารเสริมมักใช้ร่วมกับวิตามินบีอื่น ๆ โฟลิคมีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญโปรตีน และยังจำเป็นต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ต่อผู้หญิงที่วางแผนในการตั้งครรภ์ และกำลังตั้งครรภ์ เพราะช่วยลดความเสี่ยงของทารกที่จะเกิดความบกพร่องของระบบประสาทส่วนกลางทั้งสมอง ไขสันหลัง และท่อระบบประสาทด้วย

ประโยชน์ของ โฟลิค ต่อ คนท้อง

ประโยชน์ของกรดโฟลิคสำหรับคนท้อง อาจมีดังต่อไปนี้

  • ป้องกันภาวะโรคโลหิตจาง 
  • ป้องกันความผิดปกติของระบบท่อประสาทในทารก 
  • ช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน 
  • ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการอ่อนเพลีย
  • ช่วยแก้ปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอ
  • ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
  • ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ 
  • ช่วยรักษาอาการผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า 

อย่างไรก็ตาม กรดโฟลิคอาจไม่ได้ให้ประสิทธิผล ดังต่อไปนี้ 

  • ไม่ได้ช่วยรักษาภาวะโรคโลหิตจาง เนื่องจากขาดธาตุเหล็ก
  • ไม่ได้ช่วยรักษาท้องเสีย ท้องร่วง
  • ไม่ได้ช่วยให้การเจริญพันธุ์ของผู้ชายดีขึ้น
  • ไม่ได้ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นต้อกระจก 
  • ไม่ได้ช่วยป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ 
  • ไม่ได้ช่วยป้องกันกระดูกหัก กระดูกเปราะ หรือโรคกระดูกพรุน 
  • ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง 

โฟลิค สำคัญอย่างไรสำหรับคนท้อง 

ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ควรจะได้รับโฟลิคอย่างน้อย 0.4 มิลลิกรัมต่อวันอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนตั้งครรภ์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดความบกพร่องของระบบท่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมองและไขสันหลังของทารก ซึ่งเป็นการพัฒนาในช่วงแรกในการเจริญของตัวอ่อน หญิงตั้งครรภ์ที่มารับประทานโฟลิคภายหลังที่รู้ว่าตั้งครรภ์อาจทำให้เลยช่วงการพัฒนาระบบประสาทส่วนกลางของทารกในส่วนนี้ไป และเมื่อรับประทานโฟลิคก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ อาจช่วยป้องกันทารกและคุณแม่ตั้งครรภ์จากสิ่งเหล่านี้ เช่น 

ปริมาณโฟลิคที่ควรได้รับ

ปริมาณแนะนำที่ร่างกายควรได้รับโฟลิคในแต่ละช่วงอายุ เช่น 

  • สำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี 0.3 มิลลิกรัมต่อวัน
  • สำหรับเด็กอายุ 4-8 ปี 0.4 มิลลิกรัมต่อวัน
  • สำหรับเด็กอายุ 9-13 ปี 0.6 มิลลิกรัมต่อวัน
  • สำหรับเด็กอายุ 14-18 ปี 0.8 มิลลิกรัมต่อวัน 
  • ผู้ใหญ่เพศชาย คือ 0.15-0.2 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ผู้ใหญ่เพศหญิง คือ 0.15-0.18 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ คือ 0.6 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากแอลกอฮอล์อาจทำให้การดูดซึมของโฟเลตลดลง

ปริมาณโฟลิคที่ควรรับประทานในแต่ละวันสำหรับคนท้อง คือ 

  • ช่วงวางแผนการตั้งครรภ์ และไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์  คือ 0.4 มิลลิกรัมต่อวัน 
  • ช่วงไตรมาส 2-3 ของการตั้งครรภ์ คือ 0.6 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ช่วงให้นมลูก คือ 0.5 มิลลิกรัมต่อวัน

อาหารที่เป็นแหล่งสำคัญของโฟลิค

อาหารที่เป็นแหล่งของโฟลิค อาจมีดังต่อไปนี้

  • ซีเรียลอาหารเช้า
  • ผักใบเขียว เช่น กะหล่ำปลี คะน้า ผักโขม บร็อคโคลี่ หน่อไม้ฝรั่ง 
  • พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลูกไก่ ถั่วแดง ถั่วลิสง
  • ธัญพืชต่าง ๆ เช่น เมล็ดทานตะวัน 
  • ตับ ไม่ว่าจะเป็นตับหมู หรือตับไก่ 
  • ไข่ ควรทำให้สุก เนื่องจากอาหารที่ปรุงไม่สุกอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อควรระวังสำหรับการรับประทานโฟลิค

การรับประทานโฟลิคในปริมาณที่มากกว่า 1 มิลลิกรัมต่อวัน อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น 

  • ปวดท้อง
  • คลื่นไส้ 
  • เวียนศีรษะ 
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด 
  • สับสน มึนงง 
  • ท้องร่วง
  • ปัญหาการนอนหลับ 

นอกจากนี้ อาจทำให้ไปยับยั้งการทำงานของวิตามินบี 12 และส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ รวมถึงมีงานวิจัยบางชิ้นเผยว่า การรับประทานกรดโฟลิค 0.8-1.2 มิลลิกรัมต่อวันต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง ภาวะหัวใจวายในผู้ที่เป็นโรคหัวใจได้ 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Folic Acid. https://www.cdc.gov/ncbddd/folicacid/about.html. Accessed October 29, 2021 

Folic Acid and Pregnancy. https://www.webmd.com/baby/folic-acid-and-pregnancy#1. Accessed October 29, 2021 

B vitamins and folic acid. https://www.nhs.uk/conditions/vitamins-and-minerals/vitamin-b/. Accessed October 29, 2021 

Folic Acid and Pregnancy. https://kidshealth.org/en/parents/preg-folic-acid.html. Accessed October 29, 2021 

Folate (Folic Acid) – Vitamin B9. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/folic-acid/. Accessed October 29, 2021 

Folic Acid. https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-1017/folic-acid. Accessed October 29, 2021 

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/09/2022

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารที่คนท้องห้ามกิน มีอะไรบ้าง

ท้องแรก ควรดูแลตัวเองอย่างไรเพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 18/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา