backup og meta

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด อาการ สาเหตุ และการรักษา

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด อาการ สาเหตุ และการรักษา

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด คือ ภาวะที่รกแยกตัวออกก่อนกำหนดการคลอด เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของการตั้งครรภ์ โดยรกนั้นจะมีพัฒนาการในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อเลี้ยงดูทารกที่กำลังเติบโตระหว่างลอกตัว ภาวะรกลอกออกจากผนังด้านในมดลูกก่อนถึงกำหนดคลอด สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ เรียงจากไม่ร้ายแรงไปจนถึงร้ายแรงมาก

คำจำกัดความ

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด คืออะไร

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental Abruption) คือ ภาวะที่รกแยกตัวออกก่อนกำหนดการคลอด เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของการตั้งครรภ์ โดยรกนั้นจะมีพัฒนาการในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อเลี้ยงดูทารกที่กำลังเติบโตระหว่างลอกตัว ภาวะรกลอกออกจากผนังด้านในมดลูกก่อนถึงกำหนดคลอด สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ เรียงจากไม่ร้ายแรงไปจนถึงร้ายแรงมาก

รกที่แยกตัวออกจากผนังมดลูกไม่สามารถกลับไปเกาะติดใหม่ได้ จึงเป็นการจำกัดปริมาณออกซิเจนและสารอาหารให้กับทารก และมักทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์มีเลือดออกมาก โดยภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเหล่านี้อาจนำไปสู่การผ่าท้องทำคลอดก่อนกำหนด ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดนี้มักเกิดขึ้นแบบกะทันหัน และต้องเข้ารับการรักษาทันที

อาการ

อาการภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด มีอันตรายร้ายแรงมาก หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงมากในช่วงไตรมาสที่ 3 แต่สามารถเกิดได้หลังสัปดาห์ที่ 20 มีผู้ตั้งครรภ์เพียงแค่ 1% เท่านั้นที่จะเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด โดยภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดอาจมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • ปวดหลัง
  • อาจรู้สึกอ่อนเพลีย มีเหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว หรือเป็นลม
  • เจ็บครรภ์
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • อาจเกิดภาวะน้ำเดินรวมถึงมีเลือดปกออกมา
  • ท้องแข็งหรือมดลูกบีบตัว โดยมักบีบเป็นจังหวะ
  • อาจเกิดภาวะน้ำเดินรวมถึงมีเลือดปกออกมา
  • ทารกในครรภ์ดิ้นน้อยกว่าปกติหรืออาจไม่ดิ้น
  • ปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ
  • ทารกอยู่ในภาวะเครียด จากการตรวจหัวใจทารกในครรภ์
  • ความดันโลหิตต่ำ

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (ระดับ 1 2 หรือ 3) อาการอาจแตกต่างดังนี้

  • ระดับ 1 เลือดออกเล็กน้อยจากช่องคลอด มดลูกหดรัดตัวไม่รุนแรง ชีพจรคงที่ และอัตราการเต้นหัวใจของทารกคงที่ ทดสอบการแข็งตัวของเลือดปกติ
  • ระดับ 2 เลือดออกปานกลาง มดลูกอาจหดรัดตัวผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ ทารกอยู่ในภาวะเครียด และการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  • ระดับ 3 รุนแรงที่สุด สถานการณ์นี้อาจเกิดพร้อมกับเลือดออก และมดลูกหดรัดตัวมาก ความดันโลหิตต่ำ เลือดแข็งตัวยาก และทารกเสียชีวิตในครรภ์

อาจมีบางอาการไม่อยู่ในรายการข้างต้น ถ้าหากมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษา

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ไม่ได้เป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในบางครั้งอาการเจ็บแผลระหว่างตั้งครรภ์อาจเป็นสาเหตุของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด โดยอาการเจ็บแผลระหว่างตั้งครรภ์อาจมีดังนี้

  • อาการเจ็บแผลที่มีผลกระทบโดยตรงกับในช่องท้อง เนื่องจากหกล้ม อุบัติเหตุทางรถยนต์ ถูกตีหรือหกล้มระหว่างทำงาน
  • ผลกระทบจากแผลที่ถูกเย็บที่รกผิดตำแหน่ง เลือดออก มีก้อนเลือดหลังจากแผลตกสะเก็ด

ถ้าทำคลอดทารกด้วยวิธีผ่าตัดผิดวิธี ก็อาจนำไปสู่ความเสี่ยงของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดในผู้ป่วยได้

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะรกลอกตัวก่อนหนด

ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดอาจมีหลายปัจจัย เช่น

  • มีประวัติเคยเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนหนดจากการตั้งครรภ์ครั้งก่อน ก็อาจเสี่ยงที่จะเกิดกับครรภ์ถัดไป
  • ความดันโลหิตสูง อาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
  • เจ็บแผลในช่องท้อง อาการบาดเจ็บในช่องท้อง เช่น อุบัติเหตุ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนหนด
  • ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดอาจเกิดขึ้นในผู้ที่สูบบุหรี่หรือใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์
  • ระหว่างตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ถูกห้อมล้อมด้วยชั้นปกป้องที่เรียกว่า ถุงน้ำคร่ำ หากถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดคลอด อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น
  • การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ อาการใด ๆ ที่มีผลกระทบกับความสามารถในการแข็งตัวของเลือดทั้งหมด อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
  • ครรภ์แฝด หากมีครรภ์แฝดสองหรือแฝดสาม การให้กำเนิดแฝดคนแรกอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในมดลูก เป็นเหตุของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดก่อนการให้กำเนิดแฝดคนที่สอง
  • ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด อาจพบได้มากในผู้หญิงที่อายุมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยวินิจฉัยภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

คุณหมออาจวินิจฉัยภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดด้วยวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้

  • ประวัติทางการแพทย์
  • การตรวจร่างกาย
  • การทดสอบเลือดและทดสอบอื่น ๆ จากห้องปฏิบัติการ

การรักษาภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

คุณหมอจะให้ของเหลวบางชนิดและฉีดยาเพื่อให้ความดันโลหิตเป็นปกติ รวมทั้งอาจรักษาการไหลของปัสสาวะให้คงที่ ในกรณีฉุกเฉิน คุณหมออาจทำคลอดโดยการผ่าคลอดทารกหรือให้เลือดคุณแม่ ส่วนมากการคลอดเมื่อครบกำหนดมีสถานะแตกต่างกัน อาจคลอดแบบธรรมชาติ แต่ต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองที่ช่วยรับมือภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้รับมือกับภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดได้

  • การตรวจคัดกรองก่อนคลอดอย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหาภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด เพื่อจะได้มีเวลารับการรักษาในโรงพยาบาล
  • การรักษาโรค เช่น โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะรกลอกก่อนกำหนด

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ferri, Fred. Ferri’s Netter Patient Advisor. Philadelphia, PA: Saunders / Elsevier,
2012. Print edition. Page 75.
Basal cell and squamous cell skin cancers. http://www.nccn.org/professionals/physician_gls/f_guidelines.asp.
Accessed July 19, 2016.
What you need to know about melanoma and other skin cancers.  http://www.cancer.gov/cancertopics/wyntk/skin. Accessed July 19, 2016.
Basal cell carcinoma. http://www.aad.org/dermatology-a- to-z/diseases- and-treatments/a– -d/basal- cell-carcinoma. Accessed July 19, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/04/2022

เขียนโดย pimruethai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ร่างกายหลังคลอด คุณแม่มือใหม่ดูแลตนเองอย่างไรดี

ร่างกายหลังคลอด คุณแม่มือใหม่ดูแลตนเองอย่างไรดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 09/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา