โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่น เป็นอีกปัญสุขภาพจิตที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย เนื่องจากวัยรุ่นทุกคนมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ และหากวัยรุ่นเป็นโรคสมาธิสั้นก็สามารถส่งผลกับการเจริญเติบโต พัฒนาการ การเรียน และการใช้ชีวิตของวัยรุ่นได้
โรคสมาธิสั้น ส่งผลต่อวัยรุ่นอย่างไร
โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่นอาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการเรียนได้ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่ได้รับการรักษาโรคสมาธิสั้นตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก และได้รับผลจากโรคต่อเนื่องมาถึงช่วงวัยรุ่น วัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้นอาจลืมทำงานหรือส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ทำหนังสือเรียนหาย รู้สึกเบื่อกับการนั่งเรียนนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน อาจกลายเป็นคนไม่สนใจการเรียนหรือบางคนอาจปรับตัวมาจริงจังกับการเรียนและการใช้ชีวิตมากเกินไปเนื่องจากเกิดความเครียด ทำให้เกิดผลกระทบต่อการเรียนรู้ทักษะทางด้านกีฬาและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างด้วย
โรคสมาธิสั้นในวันรุ่น เพิ่มความเสี่ยงสุขภาพจิตอื่น ๆ
โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่นอาจเพิ่มความเสี่ยงสุขภาพจิตด้านอื่น ๆ ได้ ทั้งความผิดปกติทางจิต พฤติกรรมและอารมณ์ ดังนี้
- ความผิดปกติทางพฤติกรรมซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดความรุนแรง และการกระทำผิดต่าง ๆ
- ความผิดปกติทางอารมณ์ทั้งความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า
- อาจเป็นเป้าหมายของการถูกกลั่นแกล้ง
- เสี่ยงใช้สารเสพติด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่
- เสี่ยงฆ่าตัวตาย
- อาจมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
การดูแล โรคสมาธิสั้นในวันรุ่น
โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่น ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของวัยรุ่นในหลายด้าน ครอบครัวและโรงเรียนจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้วัยรุ่นสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
การดูแลที่บ้าน
คุณอาจช่วยให้วัยรุ่นสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขโดยเริ่มต้นจากที่บ้าน ดังนี้
- วางทิศทางการเรียนและขีดเส้นจำกัดกิจกรรมบางอย่างอย่างชัดเจน
- กำหนดตารางประจำวัน และเก็บสิ่งรบกวนสมาธิ
- สนับสนุนในกิจกรรมที่วัยรุ่นสนใจ เช่น กีฬา งานอดิเรก ดนตรี
- ให้รางวัลหรือแสดงคำชื่นชมเมื่อวัยรุ่นมีพฤติกรรมที่ดี
- จัดกิจวัตรประจำวันของสมาชิกในครอบครัวให้เหมือนกัน เพื่อเอื้อต่อการทำกิจกรรมของลูก
- พูดคุยกับครูที่โรงเรียนเพื่อร่วมมือกันช่วยเหลือวัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้น
- ฝึกควบคุมอารมณ์เมื่อต้องการฝึกวินัยให้วัยรุ่นเป็นโรคสมาธิสั้น
- เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับวัยรุ่น
- ให้วัยรุ่นนอนหลับอย่างเพียงพอ วันละ 7-8 ชั่วโมง โดยอาจตั้งกฎการใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และแท็บเล็ต อย่างจริงจัง
- ใช้สมุดบันทึกจดงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของงานต่าง ๆ หรือสิ่งของที่ต้องไม่ลืม
การดูแลในโรงเรียน
- การอยู่ในสังคม เปิดโอกาสให้วัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีส่วนร่วมในสังคม เช่น เล่นกีฬาประเภททีมเพื่อเพิ่มปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับเพื่อน ๆ
- การทำงานทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเผยว่า การช่วยเหลือทางวิชาการร่วมกับการรักษาด้วยยา และการบำบัดพฤติกรรมร่วมกับการช่วยเหลือทางพฤติกรรมในห้องเรียน สามารถช่วยเหลือวัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้นได้อย่างมาก เช่น
- ขยายเวลาสอบ
- จัดที่นั่งพิเศษ
- มีเพื่อนช่วยจดบันทึกงาน
- มอบหมายงานด้วยลายลักษณ์อักษรและด้วยคำพูด
- จัดเวลาพักบ่อย ๆ
- มีชุดหนังสือเรียนไว้ที่บ้านด้วย
- การจัดการทางอารมณ์ วัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้นต้องการความช่วยเหลือจากที่บ้าน เพื่อช่วยให้สามารถเติบโตบนโลกภายนอกได้อย่างสมบูรณ์ ดังนี้
- แสดงความยินดีเมื่อวัยรุ่นทำสิ่งที่ถูกต้อง
- ช่วยลูกของคุณค้นหาจุดแข็งและความสามารถของตนเอง เพื่อมุ่งปฏิบัติไปที่สิ่งเหล่านั้นอย่างสร้างสรรค์และประสบความสำเร็จ
- สนับสนุนทุกความสนใจของลูก
- เข้ารับการบำบัดทางจิตใจเพื่อให้วัยรุ่นสามารถรับมือกับความรู้สึกวิตกกังวลหรือความภาคภูมิใจได้
- หลีกเลี่ยงการพูดคุยกันเมื่อยังอยู่่ในอารมณ์โกรธ
- สมาชิกครอบครัวควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมร่วมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
[embed-health-tool-bmi]