backup og meta

ลูกร้องโวยวาย สาเหตุ และวิธีรับมือที่เหมาะสม

ลูกร้องโวยวาย สาเหตุ และวิธีรับมือที่เหมาะสม

ปัญหา ลูกร้องโวยวาย ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาหนักใจสำหรับพ่อแม่ ที่พบได้บ่อยครั้งในเด็กเล็ก อารมณ์ที่ฉุนเฉียวของเด็กๆ นั้นถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายในการเลี้ยงดูลูก ของพ่อแม่ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีรับมือเมื่อลูกร้องโวยวายอย่างถูกต้อง เพื่อให้ส่งผลเสียต่อลูกน้อยที่สุด

[embed-health-tool-vaccination-tool]

สาเหตุที่อาจทำให้ ลูกร้องโวยวาย

พัฒนาการทางด้านอารมณ์ถือเป็นหนึ่งในพัฒนาการตามปกติของเด็กๆ สำหรับเด็กบางคนอาจมีปัญหาด้านพัฒนาการทางด้านอารมณ์ ทำให้พวกเขามีอารมณ์ที่ฉุนเฉียว โมโหได้ง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ บางครั้งไม่พอใจอะไรก็ร้องไห้โวยวาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดอารมณ์เหล่านี้เป็นผลมาจากปัญหาพื้นฐานบางประการเหล่านี้

โรคสมาธิสั้น (ADHD)

จากการศึกษาพบว่าเด็กร้อยละ 75 ของเด็กที่มีอารมณ์ฉุนฉียวนั้นมักจะมีปัญหาสมาธิสั้น เด็กในกลุ่มสมาธิสั้นมักจะไม่มีสมาธิในการทำอะไรได้นานๆ เบื่อง่ายทำให้เมื่อต้องทำในสิ่งที่ไม่ชอบจะทำให้เด็กเหล่านี้มีอารมณ์ที่ฉุนเฉียวได้ง่าย

ความวิตกกังวล

ความวิตกกังวลในเด็ก ถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กมีอารมณ์ที่ฉุนเฉียว เมื่อพวกเขาเกิดความเครียดและมีความวิตกกังวล อาจทำให้พวกเขาแสดงออกมามากกว่าที่เป็น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับเด็กที่เจอเหตุการณ์ที่ไม่ดี หรือต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่น่าอึดอัด

มีปัญหาด้านการเรียนรู้

เด็ก ๆ ที่มีปัญหาในการด้านเรียนรู้ เมื่อต้องทำในสิ่งที่เข้าไม่เข้าใจ แบบเดิมซ้ำ ๆ ซ้ำไปซ้ำมา อาจก่อให้เกิดความหงุดหงิดขึ้น จนเข้าโวยวายและระเบิดอารมณ์ที่มีออกมา

ซึมเศร้าและอาการหงุดหงิด

เด็กที่มีอารมณ์รุนแรงและฉุนเฉียวบ่อยๆ มักจะมีอาการซึมเศร้าและอาการหงุดหงิด ซึ่งเด็กในกลุ่มนี้เป็นเด็กที่พร้อมจะประทุอารมณ์ออกมาได้ทุกเมื่อ ดังนั้นผู้ปกครองควรระมัดระวังคำพูด และควรเลือกใช้คำพูดเป็นอย่างมากเพื่อไม่ให้กระทบต่อพวกเขา

ออทิสติก

เด็กที่มีปัญหาออทิสติกมักจะคุ้นชินกับกิจวัตรเดิม ๆ ที่ทำในทุกวัน เพราะเขาจะรู้สึกว่าปลอดภัยทั้งทางร่างกายอารมณ์ ดังนั้นหากเกิดการเปลี่ยนแปลง อาจทำให้เขามีอารมณ์ที่รุนแรงขึ้นมาได้

ลดปัญหา ลูกร้องโวยวาย อย่างไรให้ได้ผล

  • ให้ความสนใจกับลูก เมื่อเขาทำหรือมีพฤติกรรมที่ดีผู้ปกครองควรให้ความสนใจ อาจจะชมเชย หรือบอกเขาว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นสิ่งที่ดี
  • ให้เขาได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง การให้เขาได้มีตัวเลือก และได้ตัดสินใจด้วยตัวเองนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี เมื่อเขาได้เลือกสิ่งที่ตนเองชอบจะช่วยให้เขามีความสุขขึ้น
  • ควบคุมสภาพแวดล้อม การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับเขาช่วยให้เขามีอารมณ์ที่ดีขึ้น หลีกเลี่ยงหรือกำจัดสิ่งของที่จะไปกระตุ้นอารมณ์ฉุนเฉียวขึ้นมาได้ นอกจากนี้การงดกิจกรรมที่เข้าไม่ชอบก็สามารถช่วยลดความหงุดหงิดของลูกได้
  • ช่วยให้เขาเรียนรู้ทักษะใหม่ การได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ เมื่อพวกเขาทำได้ คำชมเชยเล็กๆ ยิ่งช่วยให้เขามีกำลังใจทำสิ่งใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ที่สำคัญผู้ปกครองควรเลือกกิจกรรมที่เหมาะกับลูก และรู้ขีดจำกัดของลูก

เมื่อลูกร้องโวยวายทำอย่างไรดี

เมื่อลูกร้องไห้โวยวายสิ่งแรกที่ผู้ปกครองควรทำคือ มีสติ ใจเย็น ไม่โวยวายหรือใช้อารมณ์โมโหของตนเองในการจัดการปัญหา สาเหตุที่ทำให้ลูกโวยวายนั้นเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายๆ อย่าง หากโมโหหิวก็ควรหาอะไรให้เขากิน หรือหากโมโห อารมร์ฉุนเฉียวเพราะรู้สึกไม่สบายตัวก็ช่วยหาที่สบายๆ ให้เขาอยู่ หรือให้เขาได้พักงีบสักหน่อย แต่หากเกิดอารมณ์ฉุนเฉียว เกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องความสนใจ วิธีที่ดีที่สุดในการลดพฤติกรรมนี้คือ การเพิกเฉย หากอารมณ์ฉุนเฉียวเกิดขึ้นหลังจากที่ลูกของคุณถูกปฏิเสธให้ใจเย็น ๆ และอธิบายให้เขาเข้าใจ หากอธิบายอย่างไรเขาก็ไม่ยอมฟังให้พยายามพาเข้าไปทำกิจกรรมอื่น

หลังจากที่พวกเขาอารมณ์สงบลงแล้ว คุณไม่ควรให้รางวัล แต่ควรกอดและช่วยสร้างความมั่นใจว่าอย่างไรก็ยังคงรักเขา  แต่การทำแบบนี้ไม่ใช่สิ่งที่ดี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Taming Tantrums vs. Managing Meltdowns

https://www.understood.org/en/learning-thinking-differences/child-learning-disabilities/sensory-processing-issues/taming-tantrums-vs-managing-meltdowns

Why Do Kids Have Tantrums and Meltdowns?

https://childmind.org/article/why-do-kids-have-tantrums-and-meltdowns/

Temper Tantrums

https://kidshealth.org/en/parents/tantrums.html

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/12/2022

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาณออทิสติกในวัยรุ่น และวิธีดูแลที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็ก คืออะไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 28/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา