ยา ฟลูไซโทซีน (Flucytosine) มักจะใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อราที่รุนแรงภายในร่างกาย ยานี้อยู่ในกลุ่มของยาต้านเชื้อรา (Antifungal Drugs) มักจะใช้ร่วมกับยาอื่น
ข้อบ่งใช้
ยาฟลูไซโทซีนใช้สำหรับ
ยาฟลูไซโทซีน (Flucytosine) มักจะใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อราที่รุนแรงภายในร่างกาย ยานี้อยู่ในกลุ่มของยาต้านเชื้อรา (Antifungal Drugs) มักจะใช้ร่วมกับยาอื่น ยานี้ทำงานโดยการชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิด
วิธีการใช้ยา ฟลูไซโทซีน
รับประทานยานี้ โดยปกติคือวันละ 4 ครั้ง (ทุกๆ 6 ชั่วโมง) หรือตามที่แพทย์กำหนด หรือตามที่แพทย์กำหนด เพื่ออาการท้องไส้ปั่นป่วน อย่ากลืนยาแคปซูลทั้งหมดสำหรับหนึ่งครั้งในเวลาเดียวกัน ควรเว้น 15 นาทีถ้าหากต้องรับประทานมื้อละมากกว่า 1 เม็ด
ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ น้ำหนักตัว และการตอบสนองต่อการรักษา
ยานี้จะทำงานได้ดีที่สุดหากรักษาระดับของยาในระดับที่คงที่ ดังนั้นจึงควรใช้ยานี้โดยเว้นระยะเวลาให้เท่ากัน เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน
ใช้ยานี้อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะครบกำหนด แม้ว่าอาการจะหายไปภายในไม่กี่วัน การหยุดใช้ยาเร็วเกินไปอาจทำให้เชื้อรากลับมาเติบโตอีกและทำให้กลับมาติดเชื้ออีกครั้ง
โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณไม่หายไปหรือแย่ลง
การเก็บรักษายา ฟลูไซโทซีน
ยาฟลูไซโทซีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาฟลูไซโทซีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ไม่ควรทิ้งยาฟลูไซโทซีนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูก สอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง
ข้อควรระวังและคำเตือน
ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา ฟลูไซโทซีน
ก่อนใช้ยาฟลูไซโทซีน แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ต่อยานี้ หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบไม่ออกฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับไต ปัญหาเกี่ยวกับตับ การทำงานของไขกระดูกลดลง จำนวนเม็ดเลือดลดลง (เม็ดเลือดแดงหรือเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด) การฉายรังสีบำบัด (Radiation Treatment) ภาวะแร่ธาตุไม่สมดุล เช่น ระดับโพแทสเซียมในร่างกายต่ำ
ล้างมือให้สะอาดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการติดต่อผู้มีอาการติดเชื้อที่สามารถแพร่สู่ผู้อื่นได้ เช่น โรคอีสุกอีใสหรือไข้หวัดใหญ่ ปรึกษาแพทย์หากคุณมีการเปิดรับเชื้อเมื่อเร็วๆ นี้หรือหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
อย่าสร้างภูมิคุ้มกันหรือรับวัคซีนโดยไม่ปรึกษากับแพทย์ หลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้ที่เพิ่งรับวัคซีนเชื้อเป็น เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบพ่นจมูก
เพื่อลดโอกาสในการเกิดรอยบาด รอยช้ำ หรือการบาดเจ็บ ควรระมัดระวังในการใช้ของมีคมเช่นมีดโกนและกรรไกรตัดเล็บ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมเช่นกีฬาที่ต้องการการปะทะ
การทำงานของไตจะลดลงเมื่อคุณมีอายุเพิ่มขึ้น ยานี้กำจัดโดยไตดังนั้นผู้สูงอายุจึงมีปฏิกิริยาไวต่อผลข้างเคียงของยานี้มากกว่า
ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยา
ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายานี้สามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้หรือไม่ ยานี้อาจส่งผลกระทบทารกได้จึงไม่แนะนำการให้นมบุตรขณะใช้ยานี้ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร
ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา
ยาฟลูไซโทซีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)
การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้
- A= ไม่มีความเสี่ยง
- B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
- C= อาจจะมีความเสี่ยง
- D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
- X= ห้ามใช้
- N= ไม่ทราบแน่ชัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของการใช้ยา ฟลูไซโทซีน
อาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องร่วงเกิดขึ้น โปรดอ่านเพิ่มเติมในส่วนวิธีการลดอาการท้องไส้ปั่นป่วน หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้นโปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที
โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้เนื่องจากคำนวณแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ
แจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นแต่รุนแรงดังต่อไปนี้
- สัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับไต เช่น ปริมาณของปัสสาวะเปลี่ยนแปลง
- สัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับตับ เช่น คลื่นไส้อาเจียนเรื้อรัง ปวดท้อง ปัสสาวะสีคล้ำ ดวงตาหรือผิวหนังเป็นสีเหลือง
- สัญญาณของโรคโลหิตจาง เช่น เหนื่อยล้าผิดปกติ หายใจเร็ว ผิวซีด หัวใจเต้นเร็ว
- สัญญาณของการติดเชื้อ เช่น เป็นไข้ หนาวสั่น ไอ เจ็บคอเรื้อรัง
- สัญญาณของการตกเลือด เช่น มีรอยช้ำหรือเลือดออกง่าย เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน อุจจาระสีเลือด สีดำ หรือคล้ายถ่านหิน อาเจียนคล้ายกากกาแฟ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเป็นตะคริว
การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้ ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด
ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร
ปฏิกิริยาของยา
ปฏิกิริยากับยาอื่น
ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่ ยาไซตาราบีน (Cytarabine) ยาอื่นที่อาจส่งผลต่อไต รวมถึงยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) หรือนาพรอกเซน (Naproxen) ยาอื่นที่อาจจะลดการทำงานของไขกระดูก หรือลดจำนวนเซลล์เม็ดเลือด หรือทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่นการทำเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง (Cancer Chemotherapy) ยาไตรเมโทพริม (Trimethoprim) หรือยาซัลฟาเมทอกซาโซน (Sulfamethoxazole)
ยานี้อาจส่งผลกระทบต่อผลการตรวจในห้องแล็บบางชนิด รวมถึงการตรวจเซรั่มครีอะตินีน (Serum Creatinine) และอาจทำให้ผลตรวจเป็นเท็จได้ โปรดแจ้งบุคลากรในห้องแล็บและแพทย์ของคุณทุกคนให้ทราบว่าคุณกำลังใช้ยานี้
ยาฟลูไซโทซีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์
ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์
ยาฟลูไซโทซีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น
ยาฟลูไซโทซีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ขนาดยาฟลูไซโทซีนสำหรับผู้ใหญ่
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อแคนดิดาในระบบทางเดินปัสสาวะ (Candida Urinary Tract Infection)
การติดเชื้อที่รุนแรงเนื่องจากเชื้อสายพันธุ์แคนดิดา และ/หรือ เชื้อคริปโตคอกคัส (ทั้งการติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อบุหัวใจอักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เยื่อบุสมองอักเสบ และการติดเชื้อภายในปอด) 50 ถึง 150 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมง (ใช้ร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บี [amphotericin B])
อีกทางเลือกหนึ่ง คำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (IDSA) คือ 100 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง (ใช้ร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บี หรือยาฟลูโคนาโซล [fluconazole])
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อแคนดิดาในกระแสเลือด (Candidemia)
การติดเชื้อที่รุนแรงเนื่องจากเชื้อสายพันธุ์แคนดิดา และ/หรือ เชื้อคริปโตคอกคัส (ทั้งการติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อบุหัวใจอักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เยื่อบุสมองอักเสบ และการติดเชื้อภายในปอด) 50 ถึง 150 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมง (ใช้ร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บี)
อีกทางเลือกหนึ่ง คำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาคือ 100 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง (ใช้ร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บี หรือยาฟลูโคนาโซล)
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อคริปโตคอกคัส (Cryptococcal Meningitis) – ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกัน (Immunocompetent Host)
การติดเชื้อที่รุนแรงเนื่องจากเชื้อสายพันธุ์แคนดิดา และ/หรือ เชื้อคริปโตคอกคัส (ทั้งการติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อบุหัวใจอักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เยื่อบุสมองอักเสบ และการติดเชื้อภายในปอด) 50 ถึง 150 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมง (ใช้ร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บี)
อีกทางเลือกหนึ่ง คำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาคือ 100 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง (ใช้ร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บี หรือยาฟลูโคนาโซล)
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อคริปโตคอกคัส – ผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressed Host)
การติดเชื้อที่รุนแรงเนื่องจากเชื้อสายพันธุ์แคนดิดา และ/หรือ เชื้อคริปโตคอกคัส (ทั้งการติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อบุหัวใจอักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เยื่อบุสมองอักเสบ และการติดเชื้อภายในปอด) 50 ถึง 150 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมง (ใช้ร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บี)
อีกทางเลือกหนึ่ง คำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาคือ 100 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง (ใช้ร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บี หรือยาฟลูโคนาโซล)
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคคริปโตค็อกโคสิส (Cryptococcosis)
การติดเชื้อที่รุนแรงเนื่องจากเชื้อสายพันธุ์แคนดิดา และ/หรือ เชื้อคริปโตคอกคัส (ทั้งการติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อบุหัวใจอักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เยื่อบุสมองอักเสบ และการติดเชื้อภายในปอด) 50 ถึง 150 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมง (ใช้ร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บี)
อีกทางเลือกหนึ่ง คำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาคือ 100 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง (ใช้ร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บี หรือยาฟลูโคนาโซล)
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อราที่เยื่อบุหัวใจ (Fungal Endocarditis)
การติดเชื้อที่รุนแรงเนื่องจากเชื้อสายพันธุ์แคนดิดา และ/หรือ เชื้อคริปโตคอกคัส (ทั้งการติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อบุหัวใจอักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เยื่อบุสมองอักเสบ และการติดเชื้อภายในปอด) 50 ถึง 150 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมง (ใช้ร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บี)
อีกทางเลือกหนึ่ง คำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาคือ 100 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง (ใช้ร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บี หรือยาฟลูโคนาโซล)
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อราทั่วร่างกาย
การติดเชื้อที่รุนแรงเนื่องจากเชื้อสายพันธุ์แคนดิดา และ/หรือ เชื้อคริปโตคอกคัส (ทั้งการติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อบุหัวใจอักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เยื่อบุสมองอักเสบ และการติดเชื้อภายในปอด) 50 ถึง 150 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมง (ใช้ร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บี)
อีกทางเลือกหนึ่ง คำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกาคือ 100 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง (ใช้ร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บี หรือยาฟลูโคนาโซล)
การปรับขนาดยาสำหรับไต
ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) 20 ถึง 40 มล./นาที 12.5 ถึง 37.5 มก./กก. รับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง
ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 10 ถึง 20 มล./นาที 12.5 ถึง 37.5 มก./กก. รับประทานทุกๆ 24 ชั่วโมง
ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์น้อยกว่า 10 มล./นาที 12.5 ถึง 37.5 มก./กก. รับประทานทุกๆ 24 ถึง 48 ชั่วโมงขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของเซรั่มยา
ข้อควรระวัง
ควรใช้ยาฟลูไซโทซีนด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างมากในผู้ป่วยไตบกพร่อง เนื่องจากยาฟลูไซโทซีนนั้นจะกำจัดโดยไตเป็นหลัก ภาวะไตบกพร่องอาจจะทำให้มียาสะสมในร่างกายมากเกินไป ควรเฝ้าระวังระดับของยาฟลูไซโทซีนเพื่อดูว่ามีการกำจัดยาโดยไตได้อย่างเพียงพอหรือไม่ ควรปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยที่มีไตบกพร่องเพื่อป้องกันการสะสมของยาที่ออกฤทธิ์ ควรเฝ้าระวังสถานะของไตอย่างใกล้ชิดในผู้ป่วยทุกคน
ยาฟลูไซโทซีนควรใช้ด้วยความระมัดระวังอย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่มีการกดไขกระดูก ผู้ป่วยจะมีโอกาสมากกว่าที่จะเกิดภาวะการกดไขกระดูกหากเป็นโรคเกี่ยวกับเลือด กำลังรักษาด้วยการฉายรังสีบำบัด หรือใช้ยาอื่นที่อาจจะกดไขกระดูกได้ หรือเคยรับการรักษาเช่นการใช้ยาหรือการฉายรังสี ความเป็นพิษต่อไขกระดูกนั้นอาจไม่สามารถรักษาให้หายได้และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตในผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ควรเฝ้าระวังสถานะของเลือดสำหรับผู้ป่วยทุกคนอย่างใกล้ชิด
ค่าความเข้มข้นของยาฟลูไซโทซีนในเลือดสูงสุดไม่ควรเกิน 100 ไมโครกรัม/มล. ระดับของเซรั่มในระยะยาวที่เกินกว่า 100 ไมโครกรัม/มล. อาจจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความเป็นพิษ โดยเฉพาะที่ระบบทางเดินอาหาร (ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน) เลือด เช่นภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Leukopenia) หรือภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia) และตับ (ตับอักเสบ)
ควรเฝ้าระวังตับอย่างใกล้ชิด เช่นการตรวจอัลคาไลน์ฟอสฟาเตส (Alkaline Phosphatase) การตรวจค่าเอสจีโอที (SGOT) และค่าเอสจีพีที (SGPT) และสถาวะของอิเล็กโทรไลต์ (electrolytes) ของผู้ป่วยทุกราย
ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการใช้ยาฟลูไซโทซีนในการศึกษาทั่วร่างกายสำหรับผู้ป่วยเด็ก ทารกจำนวนน้อยเคยได้รับกรรักษาด้วยยาฟลูไซโทซีนในขนาด 25 ถึง 200 มก./กก./วัน พร้อมกับหรือปราศจากยาแอมโฟเทอริซิน บี เพื่อรักษาการติดเชื้อราแคนดิดาทั่วร่างกาย ไม่มีรายงานพบผลข้างเคียงที่ไม่คาดว่าจะพบในผู้ป่วยเหล่านี้ แต่ควรตระหนักไว้ว่าพบภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia) และภาวะเลือดเป็นกรด (Acidemia) ในผู้ป่วยคนหนึ่งที่ใช้ยาฟลูไซโทซีนร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บี และพบภาวะเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยคนที่สองที่ใช้แค่ยาฟลูไซโทซีนเท่านั้น พบภาวะเกล็ดเลือดต่ำชั่วคราวในผู้ป่วยเพิ่มเติมอีกสองคน หนึ่งในนั้นก็ใช้ยาแอมโฟเทอริซิน บีด้วย
การฟอกไต (Dialysis)
ผู้ป่วยที่ต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) ทุกๆ 48 ถึง 72 ชั่วโมง 20 ถึง 50 มก./กก. ตามหลังจากทำการฟอกเลือด
ยาฟลูไซโทซีนนั้นสามารถกำจัดได้ด้วยการฟอกไต (50% ถึง 100%) ควรให้ยาหลังจากทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
คำแนะนำอื่นๆ
อาจสามารถลดหรือหลีกเลี่ยงอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนได้หากรับประทานยาแคปซูลทีละน้อยๆ
ควรใช้ยาฟลูไซโทซีนร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บีเพื่อรักษาการติดเชื้อแคนดิดาทั่วร่างกายและโรคคริปโตค็อกโคสิสเนื่องจากความฉุกเฉินในการดื้อต่อยาฟลูไซโทซีน ผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาแอมโฟเทอริซิน บีได้อาจจะใช้ยาฟลูโคนาโซลร่วมกับยาฟลูไซโทซีน
ระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับธรรมชาติและความรุนแรงของการติดเชื้อ
ขนาดยา ฟลูไซโทซีน สำหรับเด็ก
ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อราทั่วร่างกาย
การติดเชื้อที่รุนแรงเนื่องจากเชื้อสายพันธุ์แคนดิดา และ/หรือ เชื้อคริปโตคอกคัส (ทั้งการติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อบุหัวใจอักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เยื่อบุสมองอักเสบ และการติดเชื้อภายในปอด)
อายุน้อยกว่า 1 เดือน แนะนำ 25 ถึง 100 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 12 ถึง 24 ชั่วโมง (ใช้ร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บี)
อายุ 1 เดือน ถึง 18 ปี แนะนำ 50 ถึง 150 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมง (ใช้ร่วมกับยาแอมโฟเทอริซิน บี)
รูปแบบของยา
ขนาดและรูปแบบของยามีดังนี้
- ยาแคปซูลสำหรับรับประทาน
กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด
หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที
กรณีลืมใช้ยา
หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]