การใช้ประโยชน์ไครซิน
ไครซิน ใช้ทำอะไร
ไครซิน (Chrysin) เป็นสารเคมีประเภทที่เรียกว่าฟลาโวนอยด์ ไครซินเป็นสารธรรมชาติที่พบในพืชเช่นดอกเสาวรส ต้นซิลเวอร์ไลม์ และพืชในตระกูลเจอราเนียมและน้ำผึ้งและกาวผึ้งใช้รักษาอาการต่างๆ ดังนี้
- โรควิตกกังวล
- โรคเก๊าท์
- อาการอักเสบ
- เอดส์
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
- หัวล้าน
- มะเร็ง
ไครซินอาจมีคุณประโยชน์ในด้านอื่นๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรของท่าน
การทำงานของ ไครซิน เป็นอย่างไร
เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับ ไครซิน ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ อย่างไรก็ตามการวิจัยในห้องทดลองได้แนะนำว่าไครซินอาจจะเพิ่มฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่าเทสโทสเตอโรนและช่วยในการเพาะกาย แต่การวิจัยในคนไม่เห็นผลกระทบต่อระดับเทสโทสเตอโรน ปริมาณของไครซินที่ดูดซึมจากลำไส้นั้นมีไม่มาก ทำให้ไม่ค่อยมีผลกระทบ
ข้อควรระวังและคำเตือน
เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ ไครซิน
ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:
- ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
- กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
- มีอาการแพ้สารในไครซินยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
- มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
- มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ
ข้อกำหนดสำหรับไครซินนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่นๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
ไครซินมีความปลอดภัยแค่ไหน
ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ
การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:
ไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ไครซินกับคนที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ปลอดภัยไว้ก่อนควรหลีกเลี่ยงที่จะใช้
ความผิดปกติในการหยุดเลือด:
ไครซินอาจทำให้เลือดออกเพิ่มขึ้น อาจจะมีความกังวลว่าจะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นที่จะเกิดรอยช้ำและเลือดออกกับคนที่มีความผิดปกติในการหยุดเลือด
ศัลยกรรม:
ไครซินอาจจะทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง มีความกังวลว่าจะเพิ่มความเสี่ยงให้เลือดออกมากขึ้นระหว่างหรือหลังการผ่าตัด ให้หยุดการใช้ไครซินอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนตารางการผ่าตัด
ผลข้างเคียง:
ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว อาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆทั้งรุนแรงและไม่รุนแรงตามมาได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพิ่มเติม
ปฏิกิริยาระหว่างยา
**ไครซินอาจมีปฏิกิริยากับยาหรือภาวะทางการแพทย์ในปัจจุบันของท่าน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้
ไครซินอาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณทานหรือมีผลกระทบกับการรักษาของคุณในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาหมอสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนเสมอ
ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะมีปฏิกิริยากับไครซิน ได้แก่:
- ยาที่มีฤทธิ์ในการบล็อกการทำงานของฮอร์โมน มะเร็งบางประเภททำปฏิกิริยากับฮอร์โมนในร่างกาย มะเร็งที่ไวต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนคือมะเร็งที่ทำปฏิกิริยากับระดับเอสโตรเจนในร่างกาย การใช้ยากับมะเร็งที่ไวต่อฮอร์โมนเอสไตรเจนจะช่วยลดเอสโตรเจนในร่างกาย บางทีไครซินอาจจะช่วยลดเอสโตรเจนในร่างกายเช่นกัน การใช้ไครซินไปพร้อมๆ กับยารักษามะเร็งที่ไวต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนอาจจะลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายมากเกินไป ยาที่ใช้รักษามะเร็งที่ไวต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนได้แก่ aminoglutethimide (Cytadren), anastrozole (Arimidex), exemestane (Aromasin), letrozole (Femara), และอื่นๆ
- การให้ยาที่แปรรูปโดยตับ (Cytochrome P450 1A2 (CYP1A2) substrates) การให้ยาบางประเภทอาจจะแปรรูปและสลายโดยตับ ไครซินอาจจะลดความเร็วในการที่ตับสลายยา การใช้ไครซินควบคู่กับยาบาประเภทที่แปรรูปโดยตบจะเพิ่มผลกระทบหรือผลข้างเคียงของยานั้น ก่อนจะใช้ไครซินให้ปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพหากคุณใช้ยาที่แปรรูปโดยตับ การให้ยาที่แปรรูปโดยตับนั้นรวมถึง clozapine (Clozaril), cyclobenzaprine (Flexeril), fluvoxamine (Luvox), propranolol (Inderal), tacrine (Cognex), theophylline, zileuton (Zyflo), zolmitriptan (Zomig), และอื่นๆ
- การให้ยาที่แปรรูปโดยตับ (ยาที่ถูกกำจัดโดยกระบวนการ) มีปฏิกิริยากับไครซินร่างกายจะสลายยาบางประเภทโดยกำจัดมัน ตับจะช่วยสลายยาเหล่านี้ ไครซินอาจจะเพิ่มความเร็วในการแปรรูปยาโดยตับ จะลดความสามารถในการออกฤทธิ์ของยายาประเภทที่แปรรูปโดยตับรวมถึง acetaminophen, atorvastatin (Lipitor), diazepam (Valium), digoxin, entacapone (Comtan), estrogen, irinotecan (Camptosar), lamotrigine (Lamictal), lorazepam (Ativan), lovastatin (Mevacor), meprobamate, morphine, oxazepam (Serax), และอื่นๆ
ขนาดการใช้
ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ
ปกติแล้วควรใช้ไครซินในปริมาณเท่าใด
ปริมาณการใช้หญ้างวงช้างอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม
สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด
ไครซินอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:
- แคปซูล
- ผงไครซิน
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]