backup og meta

กลุ่มอาการทีโอเอส (Thoracic Outlet Syndrome)

กลุ่มอาการทีโอเอส (Thoracic Outlet Syndrome)

กลุ่มอาการทีโอเอส (Thoracic Outlet Syndrome) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดและเส้นประสาทในช่องว่างระหว่างกระดูกและซี่โครงแรกของคุณ (เส้นประสาทบริเวณระหว่างฐานคอกับรักแร้ไปจนถึงด้านหน้าอก) เกิดการกดทับกัน ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดไหล่ และคอ มีอาการชาที่นิ้วมือ

คำจำกัดความ

กลุ่มอาการทีโอเอส (Thoracic Outlet Syndrome) คืออะไร

กลุ่มอาการทีโอเอส (Thoracic Outlet Syndrome) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดและเส้นประสาทในช่องว่างระหว่างกระดูกและซี่โครงแรกของคุณ (เส้นประสาทบริเวณระหว่างฐานคอกับรักแร้ไปจนถึงด้านหน้าอก)  เกิดการกดทับกัน ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดไหล่ และคอ มีอาการชาที่นิ้วมือ

พบได้บ่อยเพียงใด

กลุ่มอาการทีโอเอสมักพบได้ในเพศหญิงอายุ 20-40 ปี

อาการ

กลุ่มอาการทีโอเอส

อาการทีโอเอสเกิดจากการกดทับหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • ปวดบริเวณคอและไหล่
  • อาการชาบริเวณปลายแขนและนิ้วมือ
  • มือและแขนมีอาการอ่อนล้า
  • อาการบวมบริเวณแขน
  • มือ และแขนเย็นผิดปกติ

 ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของกลุ่มอาการทีโอเอส

โดยทั่วไปสาเหตุของกลุ่มอาการทีโอเอสนั้นคือการบีบรัดของเส้นประสาทหรือหลอดเลือด ซึ่งสาเหตุของการถูกบีบรัดจะแตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • ความผิดปกติทางร่างกายแต่กำเนิด  เช่น การมีซี่โครงในกระดูกงอกออกมาแต่กำเนิด
  • การได้รับบาดเจ็บ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ที่อาจทำให้เกิดการกระทบเทือนจิตใจจนทำให้เส้นประสาทเกิดการบีบรัด
  • การทำกิจกรรมเดิม ๆซ้ำ ๆ  เช่น การนั่งใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ รวมถึงนักกีฬาที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ เช่น นักว่ายน้ำ นักเบสบอล
  • การตั้งครรภ์ กลุ่มอาการทีโอเอสอาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ครั้งแรก เนื่องจากข้อต่อคลายระหว่างตั้งครรภ์

ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการทีโอเอส

  • เพศ เพศหญิงมีปัจจัยเสี่ยงต่อกลุ่มอาการทีโอเอสมากกว่าเพศชาย
  • อายุ โดยส่วนใหญ่เพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี มักได้รับความเสี่ยงสูง

 

 

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยกลุ่มอาการทีโอเอส

แพทย์อาจทำการตรวจหาความผิดปกในร่างกาย โดยระหว่างการสอบถามประวัตินั้น แพทย์จะทดสอบโดยให้ผู้ป่วยขยับคอ ไหล่และแขน  นอกจากนี้ยังทำการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ เพิ่มเติม ดังนี้

  • การเอกซเรย์ (X-Ray) ตรวจสอบโครงสร้างภายในร่างกายว่ามีซี่โครงซี่อื่นในร่างกายงอกมาหรือไม่
  • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic ResonanceImaging : MRI) เพื่อให้แพทย์สามารถมองเห็นภาพตำแหน่งความผิดปกติ ช่วยระบุตำแหน่งและสาเหตุของการเกิดโรค
  • เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography) เพื่อให้แพทย์เห็นประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท
  • การตรวจการชักนำประสาท (Nerve conduction study) แพทย์จะใช้กระแสไฟฟ้าระดับต่ำทดสอดเส้นประสาทเพื่อกระตุ้นไปยังกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ  ของร่างกาย

การรักษากลุ่มอาการทีโอเอส

 แพทย์จะเริ่มทำการรักษากลุ่มอาการทีโอเอส ในระยะแรกด้วยการจ่ายยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยานาพรอกเซน (Naproxen)  ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือในบางกรณีแพทย์อาจจ่ายยาละลายลิ่มเลือด  (Thrombolysis) ผ่านทางเส้นเลือดหรือหลอดเลือดแดง

ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง  สำหรับผู้ที่ที่มีอาการรุนแรงแพทย์อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อเอาชิ้นส่วนซี่โครงที่งอกออกมา โดยการผ่าตัดขยายเส้นเลือด (Angioplasty)

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษา

การป้องกันกลุ่มอาการทีโอเอสนั้นสามารถลดความเสี่ยงได้โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Thoracic Outlet Syndrome https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/thoracic-outlet-syndrome/symptoms-causes/syc-20353988. Accessed 12 June 2020

Thoracic Outlet Syndrome (TOS). https://www.medicinenet.com/thoracic_outlet_syndrome/article.htm. Accessed 12 June 2020

Thoracic Outlet Syndromes. https://www.healthline.com/health/thoracic-outlet-syndrome. Accessed 12 June 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/06/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการปวดหลังของคุณเกิดจาก เส้นประสาทถูกกดทับ หรือเปล่า?

โรคปลายประสาทอักเสบในผู้สูงอายุที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 18/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา