backup og meta

ดอกเสาวรส (Passion Flower)

ดอกเสาวรส (Passion Flower)

การใช้ประโยชน์ ดอกเสาวรส

ดอกเสาวรส ใช้ทำอะไร

ดอกเสาวรส (Passion flower) เป็นพืชที่นำมารักษาอาการ และโรคต่างๆ ได้ดังนี้

  • แก้ปัญหานอนไม่หลับ (insomnia)
  • ระบบการทำงานของลำไส้ที่ผิดปกติ (GI) ทำให้เกิดโรควิตกกังวล (GAD) กระวนกระวายและประหม่า
  • อาการชัก
  • โรคฮิสทีเรีย (Hysteria)
  • อาการวัยทอง
  • โรคสมาธิสั้น (ADHD)
  • อาการประหม่า และตื่นตัว
  • อาการใจสั่น
  • การเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • ความดันโลหิตสูง
  • อาการปวดกล้ามเนื้อ
  • บรรเทาอาการเจ็บปวด
  • โรคริดสีดวง

ดอกเสาวรสยังสามารถใช้ควบคู่ หรือผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ เช่น หญ้าฮอปส์ (hops) ต้นคาวา (kava) ต้นสกูลแคป (skullcap) ต้นวาเลอเรียน (valerian) เพราะจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ดอกเสาวรส สามารถใช้ในผลิตภัณฑ์กล่อมประสาท และเป็นตัวช่วยในการนอนหลับ แต่ต้องถูกยกเลิกให้ใช้ในปี ค.ศ. 1978 เพราะไม่มีการรับรองถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของสมุนไพรนี้ แต่อย่างไรก็ตามดอกเสาวรสนำไปเป็นส่วนประกอบหลักของผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือสามารถผสมกับสมุนไพรอื่นๆ ได้

การทำงานดอกเสาวรสเป็นอย่างไรบ้าง

มีการศึกษาไม่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของดอกเสาวรส ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามบางงานวิจัยได้กล่าวว่า สารเคมีของดอกเสาวรส จะช่วยให้หลับสบาย ไร้ความกังวล และบรรเทาอาการชักกระตุกของกล้ามเนื้อขณะที่คุณนอนหลับได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ดอกเสาวรส

ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรจะได้รับยาหรือสมุนไพรบำรุง ที่จัดจำหน่ายโดยแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ร่วมด้วย รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารที่มีส่วนประกอบของดอกเสาวรสหรือยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ดอกเสาวรสมีความปลอดภัยแค่ไหน

ดอกเสาวรสสามารถใช้ในการประกอบอาหาร และรับประทานได้ แต่สำหรับการนำมาทำเป็นยา หรือชา ผู้บริโภคควรทานในระยะสั้น (น้อยกว่า 2 เดือน) ในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะปลอดภัยกับร่างกาย

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ดอกเสาวรสมีอะไรบ้าง

ดอกเสาวรสอาจทำให้คุณเกิดอาการเวียนศีรษะ สับสน กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว และหลอดเลือดอักเสบ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน รวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น

ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงดังกล่าว ซึ่งหากพบอาการข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนการใช้เสมอ

ปฏิกิริยาระหว่างยา

การทานสมุนไพรนี้อาจมีผลต่อยาที่ทานในปัจจุบัน ดังนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์ก่อนใช้

กลุ่มตัวยาที่มักจะมีปฏิกิริยากับดอกเสาวรส คือกลุ่มยากล่อมประสาท (CNS depressants) เพราะดอกเสาวรสมีฤทธิ์ที่ทำเกิดความง่วงซึมหากรับประทานยายากลุ่มกล่อมประสาทเพิ่ม อาจทำให้ผู้บริโภคมีอาการง่วงมากเกินไป

ตัวอย่างกลุ่มยากล่อมประสาท เช่น ยาเพนโทบาร์บิทอล (Pentobarbital) , ยาฟีโนบาร์บิทัล (Phenobarbital) , เซโคบาร์บิตาล (Secobarbital) , ยาโคลนาซีแพม (Clonazepam) , ยาลอราซีแพม (Lorazepam) , ยาโซลพิเดม (Zolpidem) เป็นต้น

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้

ปกติแล้วควรใช้ดอกเสาวรสในปริมาณเท่าใด

  • สำหรับผู้ที่เป็นโรควิตกกังวล (GAD) : ควรทานปริมาณ 45 หยด ของสารสกัดจากดอกเสาวรส ทุกวัน และรูปแบบของยาเม็ดในปริมาณ 90 mg ต่อวัน
  • สำหรับผู้ที่เลิกยา Narcotic : ควรทานปริมาณ 60 หยด ของสารสกัดจากดอกเสาวรสผสมกับสารโคลนิดีนในปริมาณ 8 mg

ปริมาณการใช้ดอกเสาวรส อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้

  • แคปซูล
  • สารสกัดเข้มข้น
  • ดอกเสาวรสรูปแบบผง

Hello Health Group  ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Passionflower http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-871-passionflower.aspx?activeingredientid=871 Accessed July 02, 2020

Passionflower https://www.drugs.com/npc/passion-flower.html Accessed January 02, 2020

The Calming Effects of Passionflower https://www.healthline.com/health/anxiety/calming-effects-of-passionflower#calming .Accessed January 02, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ถังเช่า (Cordyceps)

จัดการอย่างไรกับอาการ นอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา