การใช้ประโยชน์
มัสตาร์ดใช้ทำอะไร
มัสตาร์ดใช้เพื่อ “ทำให้เสียงใส” ป้องกัการติดเชื้อ ทำให้อาเจียน เพิ่มการไหลเวียนของยูรีน (เป็นยาขับปัสสาวะ) เพื่อลดการกักเก็บน้ำและเพิ่มความอยากอาหาร
นอกจากนี้ มัสตาร์ดสามารถใช้กับบริเวณที่มีผลกระทบจากหวัดและการไอ เจ็บหน้าอก หลอดลมอักเสบ ข้อต่อปวดบวม อาการเจ็บคล้ายหลอดลมอักเสบ (โรคไขข้อ) โรคข้อเข่าเสื่อม ปวดหลัง (หรือปวดเอว) และอาการเจ็บปากและคอ บางครั้งอาจใช้เมื่ออาบน้ำเพื่อบรรเทาอาการอัมพาต
มัสตาร์ดอาจมีคุณประโยชน์อื่นๆ ได้อีก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่แพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์
การทำงานของมัสตาร์ดเป็นอย่างไร
มีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของมัสตาร์ดที่ไม่เพียงพอนัก จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลและนักสมุนไพรศาสตร์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อควรระวังและคำเตือน:
เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้มัสตาร์ด
ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่ :
- ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
- ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
- แพ้สารจากมัสตาร์ดหรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
- มีอาการป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีพยาธิสภาพอื่นๆ
- มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์
ข้อปฏิบัติในการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดที่น้อยกว่าการใช้ยารักษาโรค จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อรับรองความปลอดภัย ซึ่งการจะใช้ประโยชน์ของสมุนไพรนั้นต้องศึกษาความเสี่ยงก่อนใช้และควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้ดูแลหรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อน
มัสตาร์ดนั้นมีความปลอดภัยแค่ไหน
ในเด็กและผู้อายุ :
เด็กอายุต่ำกว่าหกปีและผู้สูงอายุไม่ควรใช้สารนี้
สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร:
ไม่ปลอดภัยหากใช้ระหว่างการตั้งครรภ์เพราะมีการศึกษาที่กล่าวว่ามัสตาร์ดอาจทำให้ประจำเดือนมาและเกิดการแท้งได้ ส่วนในระหว่างการให้นมบุตร ยังไม่มีข้อมูลรับรองความปลอดภัยมากพอจึงควรใช้เพียงในปริมาณที่มีในอาหารเท่านั้น
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้มัสตาร์ดมีอะไรบ้าง
การใช้มัสตาร์ดชาวที่บริเวณผิวเป็นเวลานานอาจทำให้ผิวแสบร้อนและพุพองได้
ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงซึ่งหากพบอาการข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์
ปฏิกิริยาระหว่างยา
ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับมัสตาร์ดมีอะไรบ้าง
การใช้ยาดังกล่าวนี้อาจเกิดปฏิกริยากับยาหรือการรักษาอื่นๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้
ขนาดการใช้
ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ
ปกติแล้วควรใช้มัสตาร์ดในปริมาณเท่าใด
น้ำมันมัสตาร์ด : รับประทาน 2.9 กรัมต่อวัน
เมล็ดมัสตาร์ด : รับประทานเป็นชาหรือใส่ผสมน้ำอาบเพื่อลดการเจ็บหน้าอกและไข้หวัด
แคปซูลมัสตาร์ด: สองแคปซูลวันละหนึ่งครั้งพร้อมดื่มน้ำตาม
ยาพอกมัสตาร์ดและพลาสเตอร์มัสตาร์ด :
- ยาพอกและพลาสเตอร์เป็นการเยียวยาอาการปวดข้อเข่า ปวดสะโพก ปวดคอ ปวดหลัง โรคประสาทและปวดกล้ามเนื้อ
- พอกยาที่บริเวณหน้าอก ปิดด้วยผ้าหนาๆ เพื่อให้เหงื่อออก
- ไม่ควรใช้พลาสเตอร์มัสตาร์ดที่ผิวโดยตรงเพราะจะทำให้แสบร้อน
- ควรแปะพลาสเตอร์ไว้นาน 20 นาทีขึ้นไป แต่หากผิวเริ่มแสบแดงควรเอาออกทันที
- การอาบน้ำอุ่นจะเป็นผลดีหลังเอายาพอกออก
ปริมาณในการใช้มัสตาร์ดอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม
มัสตาร์ดที่ใช้อยู่ในรูปแบบใด
อาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้ :
- แคปซูลมัสตาร์ด ผงมัสตาร์ดและยาเม็ด
- พลาสเตอร์หรือยาพอกมัสตาร์ด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]