backup og meta

ยี่โถ (Oleander)

สรรพคุณของยี่โถ

ยี่โถคือพืชชนิดหนึ่ง แม้จะมีฤทธิ์อันตราย แต่เมล็ดและใบของยี่โถสามารถใช้รักษาอาการต่อไปนี้:

  • อาการของโรคหัวใจ
  • โรคหืด
  • โรคลมบ้าหมู
  • โรคมะเร็ง
  • อาการปวดประจำเดือน
  • โรคเรื้อน
  • ไข้มาลาเรีย
  • กลากเกลื้อน
  • อาการอาหารไม่ย่อย
  • กามโรค
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว
  • โรคผิวหนัง (เมื่อใช้ยี่โถทาบริเวณผิวหนัง)

ยี่โถงอาจทำให้เกิดอาการเสี่ยง แท้ง อย่างไรก็ตามควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนใช้ยี่โถ

ยี่โถอาจสามารถใช้รักษาอาการอื่นๆ ได้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์

กลไกการออกฤทธิ์

ยี่โถประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ดังนี้:

ไกลโครไซด์:

มีผลต่อหัวใจและอาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง

สารที่เป็นพิษ:

 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวิธีต่อไปนี้:

  • ยายับยั้งการสร้างหลอดเลือดเลี้ยงเซลล์มะเร็ง
  • สารยับยั้ง NF-kB ในเซลล์มะเร็ง
  • สาเหตุกระบวนการตายของเซลล์โดยธรรมชาติ
  • สาเหตุและเพิ่มระดับการกลืนกินตัวเองของเซลล์ที่ตายแล้ว เมื่อทดสอบในโรคมะเร็งตับอ่อน

รัฐบาลแอฟริกาใต้กำลังรับรองการใช้สารสกัดยี่โถสำหรับใช้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี

บางการศึกษากล่าวว่า สารสกัดยี่โถสามารถรักษาผู้ป่วยมะเร็งได้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ยี่โถ

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างรับประทานยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • หากเคยมีประวัติแพ้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งของยี่โถหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นๆ
  • หากมีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือสภาพทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากเคยมีประวัติการแพ้ต่างๆ แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่โถนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ยี่โถปลอดภัยหรือไม่

สำหรับเด็ก: การรับประทานใบยี่โถ ชาใบยี่โถ หรือเมล็ดยี่โถ อาจเป็นพิษถึงแก่ชีวิตได้ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

ช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร: ไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับการใช้ยี่โถในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรเลี่ยงการใช้เพื่อความปลอดภัย

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยี่โถ

  • รู้สึกแสบร้อนในปาก
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องร่วง
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดท้อง
  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจร้ายแรง

การรับประทานใบยี่โถ ชาใบยี่โถ หรือเมล็ดยี่โถ อาจเป็นพิษถึงแก่ชีวิตได้

ในบางราย อาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้ยี่โถ

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยี่โถอาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยาระหว่างกับยี่โถ ได้แก่:

ยาปฏิชีวนะ

มีข้อกังวลว่ายาปฏิชีวนะบางชนิดอาจเพิ่มปริมาณการดูดซึมยี่โถ และอาจเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงมากขึ้น ยาปฏิชีวนะ เช่น  อิริโทรมัยซิน อะซิโธรมัยซิน คลาริโทรมัยซิน เดเมโคลไซคลีน มิโนไซคลีน และเตตราไซคลีน

ไดจอกซีน

การใช้ยี่โถร่วมกับยาไดจอกซีอาจเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงมากขึ้น

ควินิน

ยี่โถและควินิน อาจมีผลกระทบต่อหัวใจเมื่อใช้ร่วมกัน อาจทำให้หัวใจได้รับผลกระทบร้ายแรง

ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้

ยี่โถอาจส่งผลกระทบต่อหัวใจ ซึ่งหัวใจต้องการโพแทสเซียม ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้อาจลดปริมาณโพแทสเซียมในร่างกายซึ่งระดับโพแทสเซียมต่ำอาจส่งผลกระทบต่อหัวใจและเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงจากการใช้ยี่โถ ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เช่น  บิซาโคดิล คาสคารา น้ำมันละหุ่ง เซนนา และอื่นๆ

ยาขับน้ำ (ยาขับปัสสาวะ)

ยาขับปัสสาวะอาจลงปริมาณโพแทสเซียมในร่างกาย ซึ่งระดับโพแทสเซียมต่ำอาจส่งผลกระทบต่อหัวใจและเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงจากการใช้ยี่โถ

ยาขับปัสสาวะที่อาจลงปริมาณโพแทสเซียมในร่างกาย เช่น คลอไรไทอะไซด์ คลอธาลิโดน ฟูโรซีไมด์ ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ และอื่นๆ

 แคลเซียมเสริมอาหาร

ยี่โถสามารถกระตุ้นการเต้นของหัวใจได้ แคลเซียมก็อาจส่งผลกระทบต่อหัวใจ การใช้ยี่โถร่วมกับแคลเซียมอาจทำให้หัวใจเต้นแรงเกินไป จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ก่อนใช้

ขนาดการใช้ยี่โถปกติอยู่ที่เท่าไร

ขนาดปกติของการใช้ยี่โถอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและการใช้ยาอื่น ๆ อาหารเสริมสมุนไพรไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบขนาดยาที่เหมาะสม

ยี่โถมีจำหน่ายในรูปแบบใด

ยี่โถอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • แคปซูล
  • ชาใบยี่โถ

*** Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาแต่อย่างใด ***

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Oleander. http://www.globalhealingcenter.com/natural-health/Oleander/. Accessed December 6, 2016

Oleander. https://www.drugs.com/npp/Oleander.html. Accessed December 6, 2016

Oleander. http://www.countrysun.com/ns/DisplayMonograph.asp?storeID=d51f5c28a6cd4d2ba22f22f3d576ea94&DocID=bottomline-Oleander. Accessed December 6, 2016

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/09/2019

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Ploylada Prommate


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะก่องข้าว สมุนไพรพื้นบ้านมากคุณประโยชน์

หน่อไม้ (Bamboo shoots)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/09/2019

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา