backup og meta

สะระแหน่ (Peppermint)

สรรพคุณของสะระแหน่

สะระแหน่ใช้รักษาโรคหวัด การไอ การอักเสบที่ปากและลำคอ การติดเชื้อไซนัส การติดเชื้อทางเดินหายใจ และปัญหาทางเดินอาหาร

สะระแหน่อาจจะใช้ในการรักษาสุขภาพ เช่น:

  • ปัญหาประจำเดือน
  • ปัญหาเกี่ยวกับตับและถุงน้ำดี
  • ชักกระตุกในระหว่างขั้นตอนการส่องกล้อง
  • ใช้เป็นยากระตุ้น

นอกจากนี้ สะระแหน่ยังใช้กับผิว อาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเส้นประสาท ปวดฟัน ปากอักเสบ ข้อต่อ คัน ผื่นแพ้ ติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส การสวนแป้งแบเรียมในลำไส้ใหญ่ แบเรียม และใช้กันยุง นอกจากนี้ยังใช้ สะระแหน่ยังใช้สูดดมเพื่อรักษาอาการไอ หวัด และเป็นยาแก้ปวด สะระแหน่อาจได้รับการกำหนดไว้สำหรับการใช้งานอื่นๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ

กลไกการออกฤทธิ์

สะระแหน่อาจจะช่วยลดอาการชักเกร็งในระบบทางเดินอาหาร หากนำมาทาลงบนผิว อาจทำให้ผิวเกิดความร้อน ช่วยบรรเทาอาการปวดใต้ผิวหนังได้ ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้สะระแหน่:

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในสะระแหน่ ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสะระแหน่นั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

สะระแหน่ปลอดภัยหรือไม่

เด็ก:

ห้ามใช้สะระแหน่ในทารกหรือเด็กเล็ก เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาการหายใจที่แก่ชีวิต นอกจากนี้ชาสะระแหน่อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนในปากได้

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:

มีข้อมูลที่เชื่อถือได้เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สะระแหน่ ไม่ควรใช้สะระแหน่ในปริมาณมากหากกำลังตั้งครรภ์หรือช่วงให้นมบุตร

ผลข้างเคียง

สะระแหน่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างรวมทั้งอาการเสียดท้องและอาการแพ้ (ผื่นแดง ปวดศีรษะ และแผลในปาก) สะระแหน่ปลอดภัยสำหรับเด็กอายุ 8 ปีขึ้นไปเมื่อรับประทานกับยาที่มีการเคลือบพิเศษ (ลำไส้) เพื่อป้องกันการสัมผัสกับกระเพาะอาหารโดยตรง ในบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

ปฏิกิริยาระหว่างยา

สะระแหน่อาจมีปฏิกิริยากับยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้

ยาที่มีปฏิกิริยากับสะระแหน่ ได้แก่:

  • ไซโคลสปอไรน์ (Cyclosporine)

ปกติยานี้ จะใช้เพื่อป้องกันการต่อต้านอวัยวะที่ปลูกถ่าย ช่วยยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน สะระแหน่อาจมีประสิทธิภาพลดลงในขณะที่ร่างกายย่อยไซโคลสปอไรน์ ทำให้สารจากสะระแหน่อยู่ในกระแสเลือดมากขึ้น ไม่ควรใช้สะระแหน่ควบคู่กับไซโคลสปอไรน์

ยาที่ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร:

หากใช้สะระแหน่ร่วมกับยาลดกรดในกระเพาะอาหาร สะระแหน่อาจถูกทำลายและลดประสิทธิภาพลง ควร ใช้สะระแหน่อย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนหรือหลังยาลดกรด ซึ่งยาลดกรดมีดังต่อไปนี้:

  • ฟาโมติไดน์ (Famotidine) หรือเปปซิด (Pepcid)
  • ซิเมทิไดน์ (Cimetidine) หรือทากาเมท (Tagamet)
  • รานิทิไดน์ (Ranitidine) หรือแซนแท็ก (Zantac)
  • เอสโซเมพราโซล (Esomeprazole) หรือเนกเซียม (Nexium)
  • ลานโซพราโซล (Lansoprazole) หรือเพรวาซิด (Prevacid)
  • โอเมพราโซล (Omeprazole) หรือพริโลเซค (Prilosec)

โรคเบาหวาน:

จากการทดสอบในหลอดทดลองพบว่า สะระแหน่อาจลดน้ำตาลในเลือด ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ยาที่มีการเปลี่ยนแปลงจากตับ:

เนื่องจากตับมีการเผาผลาญยาเป็นปกติ ดังนั้น สะระแหน่จึงอาจได้รับผลดังกล่าวเช่นกัน ควรปรึกษากับผู้ให้บริการดูแลสุขภาพก่อนใช้

ยาความดันโลหิต:

การศึกษาทดลองในสัตว์พบว่า สะระแหน่อาจช่วยลดความดันโลหิตได้ ถ้าคุณใช้ยาเพื่อลดความดันโลหิตการใช้สะระแหน่อาจส่งผลให้ตัวยาเหล่านั้นมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

ภาวะกระเพาะอาหารที่ไม่ได้ผลิตกรดไฮโดรคลอริก (Achlorhydria):

ไม่ควรใช้สะระแหน่เคลือบลำไส้เล็ก ถ้าคุณมีอาการดังกล่าว เพราะสารเคลือบลำไส้อาจละลายเร็วเกินไปในกระบวนการเผาผลาญอาหาร

โรคท้องร่วง:

การใช้สะระแหน่เคลือบลำไส้ อาจทำให้ทวารหนักไหม้หากคุณมีอาการท้องร่วง

ขนาดยา:

ข้อมูลที่ได้รับไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์คุณก่อนใช้

ขนาดการใช้ปกติสำหรับสะระแหน่เป็นเท่าใด

เด็ก:

สำหรับการย่อยอาหารและกระเพาะอาหารผิดปกติในเด็กโตนั้น ขนาดยาที่แนะนำคือ 1 ถึง 2 มิลลิลิตร ทุกวัน

ผู้ใหญ่:

  • ชา: ใบสะระแหน่แห้ง 1 ช้อนชา ในน้ำเดือด 1 ถ้วยนาน 10 นาที; ความเครียดและหวัด ดื่ม 4 ถึง 5 ครั้งต่อวันระหว่างมื้ออาหาร ชาสะระแหน่ ค่อนข้างปลอดภัยแม้ในขนาดยามาก
  • แคปซูลเคลือบลำไส้: 1 ถึง 2 แคปซูล (2 มิลลิลิตร) 2 ถึง 3 ครั้งต่อวัน

อาการปวดหัวที่เกิดจากความตึงเครียด: ใช้น้ำมันสะระแหน่ 10% เป็นเอทานอล 90% ทาเบา ๆ บริเวณหน้าผากและปล่อยให้ระเหย

อาการคันและระคายเคืองผิว: ทาเมนโฮลเป็นสารออกฤทธิ์ใน สะระแหน่ในรูปครีมไม่เกิน 3 ถึง 4 ครั้งต่อวัน

ลดอาการกระตุกของลำไส้ใหญ่ระหว่างการสวนแบเรียม: เติมน้ำมันสะระแหน่ 8 มิลลิลิตร ลงในน้ำ 100 มิลลิลิตร พร้อมกับสารทะวีน (Tween) 80 ส่วนที่ไม่ละลายน้ำจะเอาออกไป จากนั้นจึงเติมสารละลายสะระแหน่ที่เหลืออีก 30 มิลลิลิตร ลงในโซลูชั่นแบเรียม 300 มล.

สำหรับกระเพาะอาหารผิดปกติ: ใช้น้ำมันสะระแหน่ 90 มก. ต่อวันร่วมกับน้ำมันมะรุม มีการใช้ผลิตภัณฑ์ผสมชนิดพิเศษที่ประกอบด้วยใบสะระแหน่และสมุนไพรอื่น ๆ ในขนาด 1 มิลลิลิตร สามครั้งต่อวัน

ขนาดการใช้สะระแหน่นี้อาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและพยาธิสภาพอื่น ๆ การใช้สะระแหน่อาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับขนาดยาที่เหมาะสม

สะระแหน่มีจำหน่ายอยู่ในรูปใด

สะระแหน่อาจมีจำหน่ายอยู่ในรูปแบบยาต่อไปนี้:

  • น้ำมัน
  • แคบซูล
  • ครีม
  • ชา

*** Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาแต่อย่างใด ***

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Peppermint. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/peppermint. Accessed November 28, 2016

Peppermint. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-705-peppermint.aspx?activeingredientid=705&activeingredientname=peppermint. Accessed November 28, 2016

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/12/2017

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะก่องข้าว สมุนไพรพื้นบ้านมากคุณประโยชน์

หน่อไม้ (Bamboo shoots)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 07/12/2017

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา