งา เป็นพืชล้มลุก ที่มีทั้งเมล็ดงาขาวและเมล็ดงาดำ คนส่วนใหญ่มักนำเมล็ดงามาใช้ในการประกอบอาหารและเป็นเครื่องเทศต่างๆ แต่ก็ยังมีการนำ เมล็ดงา มาใช้ในทางยาด้วย เช่น สำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับคลอเรสเตอรอลสูง และสำหรับลดความดันโลหิต
การใช้ประโยชน์ของ เมล็ดงา
ประโยชน์ของการใช้ เมล็ดงา ในทางการแพทย์
ในผู้ใหญ่
- สำหรับโรคการอักเสบของระบบทางเดินอาหารและลำไส้
- สำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด
- สำหรับคลอเรสเตอรอลสูง
- สำหรับความดันโลหิตสูง
- สำหรับอาการคัดจมูก สเปรย์น้ำมันงา 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 14-20 วัน
ในเด็ก
- สำหรับอาการไอ
- สำหรับพัฒนาการของเด็กทารก และ การดูแลทารกแรกเกิด
อาจจะมีการให้ใช้เมล็ดงาสำหรับประโยชน์อื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อข้อมูลในการใช้เพิ่มเติม
การทำงานของ เมล็ดงา
จากงานวิจัยเกี่ยวกับอาหารเสริม สมุนไพรนี้ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่าเมล็ดงาใช้ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและช่วยเร่งการสมานแผล เมล็ดงาช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลจากอาหาร จะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เมล็ดงาอาจช่วยกำจัดแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดคราบหินปูน เมล็ดงามีแคลเซียมที่จะช่วยรักษาโรคกระดูกอ่อนในเด็ก เมล็ดงายังต้านการอักเสบและมีผลต่อต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย
ข้อควรระวังและคำเตือน
สิ่งที่ควรทราบก่อนใช้ เมล็ดงา
ควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนหากคุณมี
- ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นเวลาที่ควรได้รับยารักษาโรคเฉพาะที่แพทย์สั่งเท่านั้น
- กำลังใช้ยาอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงยาที่ซื้อโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
- แพ้สารที่อยู่ในเมล็ดงาหรือยาอื่น ๆ หรือสมุนไพรอื่น ๆ
- มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
- เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์
ข้อกำหนดสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มาก เพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์
ความปลอดภัยในการใช้เมล็ดงา
เมล็ดงานั้นปลอดภัยหากรับประทานในรูปของอาหาร
เมล็ดงานั้นปลอดภัยหากสอดเข้าไปในท้องผ่านทางจมูกหรือสเปรย์เข้าทางจมูกในระยะสั้น สเปรย์ทางจมูก (Nozoil) มีส่วนประกอบของน้ำมันงาที่ปลอดภัยถ้าใช้ต่อเนื่องกันถึง 20 วัน
แต่ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ ที่จะทราบว่าเมล็ดงานั้นปลอดภัยเมื่อใช้เป็นยาและให้โดยทางอื่น
ข้อควรระวังเป็นพิเศษและคำเตือน
ผู้ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เมล็ดงานั้นปลอดภัยหากรับประทานในปริมาณทั่วไปในอาหาร ไม่มีข้อมูลที่เพียงพอที่จะทราบว่าเมล็ดงานั้นปลอดภัยเมื่อใช้เป็นยาถ้าตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ปลอดภัยไว้ก่อนควรงดใช้
ในเด็ก งานั้นปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณทั่วไปในอาหาร เมล็ดงานั้นปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมในระยะเวลาสั้นๆ จะปลอดภัยถ้าใช้น้ำมันงา 5 มล.ก่อนนอนเป็นเวลา 3 วัน
สำหรับคนเป็นเบาหวาน เมล็ดงาอาจจะมีผลกับระดับน้ำตาลในเลือด โดยทฤษฎีแล้ว เมล็ดงาจะส่งผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือดของคนที่เป็นเบาหวาน
คนที่มีความดันต่ำ เมล็ดงาจะลดความดันโลหิตให้ต่ำลง โดยทฤษฎีแล้ว เมล็ดงาจะลดระดับความดันโลหิตให้ต่ำเกินไป โดยเฉพาะคนที่มีความดันโลหิตต่ำอยู่
การผ่าตัด เมล็ดงาอาจจะส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด โดยทฤษฎีแล้ว เมล็ดงาจะส่งผลกระทบต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างและหลังการผ่าตัด หากคุณวางแผนที่จะผ่าตัด หยุดการใช้เมล็ดงาเป็นยาอย่างน้อยก่อนการผ่าตัด 2 สัปดาห์
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของการใช้ เมล็ดงา
การใช้เมล็ดงาอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพ ดังนี้
- ลดระดับน้ำตาลในเลือด
- เพิ่มความเสี่ยงของการเลือดออก
- ลดความดันโลหิต
- ทำให้เซื่องซึม หรือมีผลระงับประสาท
ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง อาจจะมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์
ปฏิกิริยาระหว่างยา
การเกิดปฏิกิริยาเมื่อใช้ เมล็ดงา
อาหารเสริมสมุนไพรนี้อาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณรับประทานทานหรือมีผลกระทบกับการรักษาของคุณในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์สมุนไพรหรือแพทย์ก่อนที่จะใช้ เมล็ดงาอาจจะมีปฏิกิริยากับยาดังต่อไปนี้
ยา สมุนไพร อาหารเสริมที่เพิ่มความเสี่ยงในการเลือดออก
- Ginkgo biloba; aspirin
- ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (blood thinners) เช่น warfarin (Coumadin®) หรือ heparin
- ยาต้านเกล็ดเลือดเช่น clopidogrel (Plavix®)
- ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เช่น ibuprofen (Motrin®, Advil®) หรือ naproxen (Naprosyn®, Aleve®).
การใช้ยา สมุนไพร หรืออาหารเสริมที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
การใช้ยา สมุนไพร อาหารเสริมซึ่งทำให้เกิดอาการเซื่องซึมมากขึ้น
- benzodiazepines เช่น lorazepam (Ativan®)
- diazepam (Valium®)
- barbiturates เช่น phenobarbital
- narcotics เช่น codeine,
- ยาต้านเศร้าและแอลกอฮอล์
การใช้ยาที่ใช้ระบบเอ็นไซม์ cytochrome P450 ของตับ
นอกจากนี้ยังมียาและอื่นๆ อีก เช่น
- acetaminophen (Tylenol®)
- แอลกอฮอล์
- anabolic steroids
- angiotensin II-converting enzyme (ACE) inhibitors
- angiotensin-converting enzyme receptor blockers
- ยาลดกรด
- antiacne agents
- antianxiety agents
- ยาแก้อักเสบ
- ยาต้านมะเร็ง
- ยาต้านเชื้อรา
- ยาต้านการอักเสบ
- ยาต้านแผลพุพอง
- ยาขยายหลอดเลือด
- ยาลดคอเรสเตอรอล
- ซิสพลาติน
- ยาที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
- ยาที่มีผลต่อตับ
- ยาที่ป้องกันการคลื่นไส้อาเจียน
- เอสโตรเจน
- ยารักษาภาวะมีบุตรยาก
- เจนตามัยซิน
- ไอบูโพรเฟน
- ยาระบาย
- ยารักษาอาการทางระบบประสาท
- ยาแก้ปวด
- ทาม็อกซิเฟน
- ยาลดน้ำหนักและยาสมานแผล
ขนาดที่ใช้
ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาหมอสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยานี้ทุกครั้ง
ขนาดปกติที่ใช้เมล็ดงา
ขนาดที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ (18 ปีขึ้นไป)
- สำหรับคนที่โรคการอักเสบของระบบทางเดินอาหารและลำไส้ ให้รับน้ำมันงา 150 มล. ผ่านหลอดที่เข้าจมูกและผ่านไปยังท้อง
- สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด รับเมล็ดงา 25 ก.ต่อวันเป็นเวลา 5 สัปดาห์
- สำหรับคนที่มีคลอเรสเตอรอลสูง รับประทานน้ำมันงา 4.5 ก.ต่อวันเป็นเวลา 2 เดือน
- สำหรับคนที่มีความดันโลหิตสูง รับเมล็ดงา 60 มก. ต่อวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์
- สำหรับคนที่คัดจมูก รับสเปรย์น้ำมันงา 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 14-20 วัน
ขนาดและปริมาณที่แนะนำสำหรับเด็ก (อายุต่ำว่า 18 ปี)
- สำหรับผู้ที่ใช้สำหรับอาการไอ รับประทานน้ำมันงา 5 มล.ก่อนนอนเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน
- สำหรับการพัฒนาการของเด็กทารกและการดูแลทารกแรกเกิด นวดด้วยน้ำมันงา 20 มิลลิลิตรเป็นเวลา 4 สัปดาห์
ปริมาณการใช้อาหารเสริมสมุนไพรนี้อาจจะแตกต่างกันในแต่ละผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ สมุนไพรไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป กรุณาสอบถามหมอสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมสำหรับคุณ
รูปแบบของ เมล็ดงา
เมล็ดงาอาจหาได้ง่ายในรูปแบบ
- น้ำมันงา
- สารสกัดงาเหลว 120 มล.
- แคปซูลเมล็ดงา 60 มก.
- สเปรย์น้ำมันงา (NozoilT)
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]