backup og meta

รักษามะเร็งเต้านมด้วย การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม เป็นอย่างไร

รักษามะเร็งเต้านมด้วย การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม เป็นอย่างไร

การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (Breast censervation surgery) หรือที่เรียกกันว่า การผ่าเอาเฉพาะเนื้องอกออก (lumpectomy) การผ่าตัดเอาเต้านมออกบางส่วน (Partial mastetomy) การผ่าตัดเต้านมออกประมาณหนึ่งในสี่ (Quadrantectomy) หรือการผ่าตัดออกบางส่วน (Segmental mastetomy) การผ่าตัดวิธีนี้เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม โดยจะผ่าตัดเอาเฉพาะส่วนของเต้านมที่เป็นมะเร็งเท่านั้น ออกไป จำนวนของเนื้อเยื่อเต้านมที่ถูกผ่าออกขึ้นอยู่กับขนาดเเละตำเเหน่งของเนื้องอก รวมถึงปัจจัยอื่นๆ โปรดให้แน่ใจว่าคุณมีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับการผ่าตัด เช่น รอยเเผลเป็นจะเป็นอย่างไรหลังการผ่าตัด คุณจะสูญเสียเต้านมไปเท่าไหร่ เมื่อพิจารณาถึงเนื้อเยื่อดีใกล้เคียงที่อาจถูกผ่าออกเช่นกัน

ใครบ้างที่ควรรับ การผ่าตัดเเบบสงวนเต้านม

ข้อดีหลักของการผ่าตัดเเบบสงวนเต้านมก็คือ ผู้หญิงสามารถรักษาเต้านมส่วนมากไว้ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องสามารถเข้ารับการรักษาด้วยรังสี โดยปกติแล้วแพทย์จะประเมินตามหลักนี้เพื่อทำ การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม

  • มีเนื้องอกมะเร็งเต้านมเพียงที่เดียว เเละมีเส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 5 เซนติเมตร
  • มีเนื้องอกมะเร็งเต้านมที่เดียวหรือหลายที่ ซึ่งอยู่ใกล้กันมาก กระทั่งสามารถผ่าออกได้พร้อมกัน โดยไม่ทำให้สภาพเต้านมเปลี่ยนไปมากนัก
  • มีเนื้อเยื่อเพียงพอ เมื่อเนื้อเยื่อได้ถูกผ่าออกเเล้ว จะไม่ทำให้เต้านมผิดรูป
  • ไม่เป็นมะเร็งเต้านมแบบอักเสบ (Inflammatory breast cancer)
  • ไม่ได้ตั้งครรภ์
  • ยินดีที่จะรับการรักษาต่อด้วยรังสีบำบัด

ผู้หญิงบางคนอาจมีความกังวลด้วยความคิดที่ว่า การผ่าตัดเนื้อเยื่อออกไปน้อยกว่าจะเพิ่มความเสี่ยงในการกลับมาเป็นมะเร็งอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การตัดเต้านมในกรณีส่วนมาก ไม่ได้เพิ่มความเป็นไปได้ที่จะมีชีวิตได้ยืนยาวกว่า หรือให้ผลการรักษาที่ดีกว่า การศึกษาในผู้หญิงหลายพันคนมากกว่า 20 ปีเเสดงให้เห็นว่า เมื่อได้รับ การผ่าตัดเเบบสงวนเต้านม การเปลี่ยนไปใช้การตัดเต้านมแทนก็ไม่ได้เพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะรอดชีวิต

ขั้นตอนการผ่าตัด

การผ่าตัดนี้จะกินเวลาประมาณ 1 ถึง 2 ชั่วโมง อาจจำเป็นต้องวางคลิปโลหะเล็กๆ ในเต้านมเพื่อช่วยบอกตำเเหน่งเจาะจงที่ต้องผ่าออก ศัลยเเพทย์มักจะตรวจต่อมน้ำเหลืองของคุณด้วย จะมีการฉีดสารกัมมันตรังสีตามรอยหรือสารย้อมสีฟ้ารอบๆ เนื้องอก สารเหล่านี้จะไหลเวียนในเส้นทางเดียวกับเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะช่วยให้ศัลยเเพทย์สังเกตเห็นต่อมน้ำเหลืองที่จำเป็นต้องถูกผ่าออกเพื่อตรวจสอบ ระหว่างการพักฟื้น โปรดระลึกไว้ว่าควรโทรศัพท์หาเเพทย์ทันทีที่คุณสังเกตอาการใดๆ เช่น เเขนหรือมือบวม มีของเหลวคั่งใต้ผิว รอยเเดง หรืออาการติดเชื้ออื่นๆ ปกติเเล้ว คุณจะได้รับการรักษาด้วยรังสีบำบัดหลังจาก การผ่าตัดเเบบสงวนเต้านม

สิ่งที่ควรรับทราบ

ก่อนผ่าตัด คุณจะได้รับการชี้เเจ้งข้อมูลที่จำเป็นเหล่านี้

  • คำเเนะนำพิเศษให้ปฏิบัติในวันก่อนผ่าตัด
  • ขั้นตอนการผ่าตัดโดยสรุป
  • ข้อมูลเกี่ยวกับการพักฟื้นเเละการดูเเลหลังการผ่าตัด

ผลข้างเคียงของ การผ่าตัดเเบบสงวนเต้านม

ผลข้างเคียงหลังการผ่าตัดเเบบสงวนเต้านมบางส่วนเหล่านี้อาจเกิดขึ้น

  • ความเจ็บปวดหรืออาการกดเจ็บ
  • อาการบวมชั่วคราว
  • แผลเป็นเเบบเเข็งที่เกิดขึ้นระหว่างผ่าตัด
  • เต้านมเปลี่ยนรูป
  • ปวดเส้นประสาทในผนังทรวงอก รักเเร้เเละเเขนเป็นระยะเวลานาน (เรียกว่า อาการเจ็บปวดหลัง การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม)

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Breast Cancer, Lumpectomy, and Partial Mastectomy. http://www.webmd.com/breast-cancer/lumpectomy-partial-mastectomy. Accessed 15 October, 2016.

What is Lumpectomy?. http://www.breastcancer.org/treatment/surgery/lumpectomy/what_is. Accessed 15 October, 2016.

Breast-conserving surgery (lumpectomy). http://www.cancer.org/cancer/breastcancer/detailedguide/breast-cancer-treating-breast-conserving-surgery. Accessed 15 October, 2016.

Lumpectomy. http://my.clevelandclinic.org/health/treatments_and_procedures/hic_Breast_Cancer_Lumpectomy_and_Partial_Mastectomy. Accessed 15 October, 2016

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: ชลธิชา จันทร์วิบูลย์


บทความที่เกี่ยวข้อง

An interview with Dr Joseph Saba, Chief Executive Officer at Axios

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ มะเร็งเต้านมที่กลับมาใหม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา