backup og meta

เสพข่าวการเมืองอย่างมีสติ ก่อนเสี่ยงเป็น ภาวะเครียดทางการเมือง

เสพข่าวการเมืองอย่างมีสติ ก่อนเสี่ยงเป็น ภาวะเครียดทางการเมือง

สถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบันยังคงร้อนแรงและมีหลายประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ สิ่งที่สำคัญคุณควรรับข้อมูลข่าวสารอย่างมีสติ มีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว ความเครียดที่เกิดขึ้นสะสมระหว่างการรับข่าวการเมือง อาจนำไปสู่ ภาวะเครียดทางการเมือง ขึ้นได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักกับภาวะเครียดทางการเมืองและวิธีรับมือและป้องกันความเครียดจากการรับข่าวทางการเมืองกันค่ะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดูพร้อมกันเลย

ภาวะเครียดทางการเมือง (Political Stress Syndrome)

ไม่น่าเชื่อใช่ไหมคะว่าสถานการณ์การเมืองจะสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อสุขภาพจิตของเราได้ ความไม่แน่นอนทางการเมืองรวมถึงการเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองต่างๆ อันรวดเร็วย่อมส่งผลให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวลและความเครียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและอนาคตของประเทศ

ภาวะเครียดทางการเมืองเป็นชื่อเรียกอาการเครียดที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้ ในช่วงที่มีการจัดตั้งประธานาธิบดี ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ระบุว่า คนอเมริกันมีระดับความเครียดเพิ่มสูงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (รวมถึงปีที่เศรษฐกิจถดถอยที่เริ่มต้นในปี พ.ศ.2551) ความเครียดเหล่านี้มีสาเหตุมาจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ

ภาวะเครียดทางการเมืองจัดว่าเป็นโรคทางจิตหรือไม่?

ภาวะเครียดทางการเมืองไม่ใช่โรคที่เกิดจากปัญหาทางด้านสุขภาพจิต แต่เป็นเพียงกลุ่มอาการที่เกิดจากความเครียด ความรู้สึกวิตกกังวล ความเครียดที่ไม่สามารถคาดคะเนสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ Dr. Philip Levendusky ผู้อำนายการแผนกจิตวิทยา กล่าวว่า ภาวะเครียดทางการเมืองไม่สามารถจัดอยู่ในโรคชนิดหนึ่งได้ การตั้งชื่อโรคโดยการอิงจากสถานการณ์บ้านเมืองและทางสังคมที่ประชาชนให้ความสนใจ เป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล

เสพข่าวอย่างมีสติ กับ 3 วิธีรับมือและป้องกัน ภาวะความเครียดทางการเมือง ที่อาจเกิดขึ้น

หากคุณเสพข่าวทางการเมืองมากจนเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ เช่น ความรู้สึกวิตกกังวล ความเครียด ความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ เป็นต้น  เราสามารถบรรเทาความเครียดได้ดังนี้

  • ไม่ติดตามข่าวสารทางการเมืองนานเกิน 2 ชั่วโมง

การที่คุณติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องเดิมๆ นานจนเกินไป อาจทำให้คุณเกิดความเครียดมากกว่าเดิม แนะนำให้ให้แบ่งช่วงเวลาการติดตามข่าวสาร รวมถึงวิเคราะห์แหล่งข่าวที่ได้รับอย่างมีสติว่ามีความน่าเชื่อถือแค่ไหน

  • เปิดใจ รับฟังความคิดเห็น

คุณควรเปิดใจรับฟังความคิดเห็นทางการเมืองของผู้อื่น ติดตามข่าวสารทั้งสองด้านเพื่อรับข้อมูลข่าวสารที่แตกต่าง และยอมรับถึงความเป็นจริง

  • จัดลำดับความสำคัญ

คุณควรจัดลำดับความสำคัญ หรือเรียกง่ายๆ ว่าประเมินความสำคัญก่อนหลังให้ดี รับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองอย่างมีสติ ไม่ให้มามีบทบาทความสำคัญในชีวิตมากจนเกินไป

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับบทความที่นำมาฝากกันในวันนี้  ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองอาจทำให้คุณรู้สึกวิตกกังวลและรับข่าวสารเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด ดังนั้นก่อนที่คุณจะรับข่าวสารใดๆ ควรดูถึงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือของข่าว รับข่าวสารอย่างมีสติและวิเคราะห์ข่าวอย่างมีเหตุผล

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Managing stress related to political change. https://www.apa.org/helpcenter/stress-political-change?fbclid=IwAR3hD9MKOrIgCKB40uX6xG5cGLK-pxeCcBG0jsYChBNmYxItvZxwALMdxSA. Accessed 9 March 2020.

Psychologist: No, It’s Not Post-Election Stress ‘Disorder’.https://www.wbur.org/commonhealth/2017/03/10/psychologist-not-post-election-stress-disorder. Accessed 9 March 2020.

Post Election Stress Disorder: Is It a Thing? https://www.psychologytoday.com/us/blog/do-the-right-thing/201702/post-election-stress-disorder-is-it-thing. Accessed 9 March 2020.

5 Ways to Manage Politically Induced Stress. https://healthblog.uofmhealth.org/lifestyle/5-ways-to-manage-politically-induced-stress. Accessed 9 March 2020.

Politics Taking Mental, Physical Toll on Americans. https://www.webmd.com/balance/stress-management/news/20190925/politics-taking-mental-physical-toll-on-americans#1. Accessed 9 March 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

สิวกับความเครียด เกี่ยวข้องกันอย่างไร เครียดแล้วสิวขึ้นจริงหรือ?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา