ภาวะสุขภาพบางประการ เช่น ภาวะเกี่ยวกับไตหรือหัวใจ สามารถทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งเรียกว่าความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ (secondary hypertension)
ยาบางชนิด เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด (birth control pills) หรือยาแก้หวัดที่วางจำหน่ายโดยทั่วไป (over-the-counter cold medicines) สามารถทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน ในผู้หญิงบางรายนั้น การตั้งครรภ์หรือยาฮอร์โมน (hormone therapy) อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้
ความดันโลหิตสูงที่เกิดจากการใช้ยา อาจหรืออาจไม่กลับสู่ภาวะปกติได้หลังจากการหยุดใช้ยา อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ โปรดปรึกษาแพทย์ หากความดันโลหิตไม่กลับสู่ภาวะปกติ
เด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปีที่เป็นความดันโลหิตสูงมักเป็นภาวะอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เช่น โรคไต การรักษาโรคประจำตัวอาจช่วยรักษาความดันโลหิตสูงได้
มีปัจจัยและภาวะหลายประการที่อาจมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ซึ่งได้แก่
- การติดบุหรี่
- ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
- การขาดการออกกำลังกาย
- ปริมาณเกลือที่มากเกินไปในอาหาร
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป (มากกว่า 1 ถึง 2 หน่วยต่อวัน)
- ความเครียด
- อายุที่มากขึ้น
- พันธุกรรม
- ประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง
- โรคไตเรื้อรัง
- ความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมหมวกไตและต่อมไทรอยด์ (Adrenal and thyroid disorders)
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea)
ปัจจัยเสี่ยง
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง
คุณมีความเสี่ยงในการเป็นความดันโลหิตสูง หากมีปัจจัยหนึ่งประการหรือมากกว่าดังต่อไปนี้