การจัดการความเครียด

สถานการณ์ในแต่ละวัน อาจทำให้เราเกิดความเครียด และหากเราไม่รู้จัก วิธีจัดการความเครียด ที่เหมาะสม อาจส่งผลให้เครียดสะสม หรือเครียดรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ การจัดการความเครียด อย่างถูกวิธี จึงเป็นอีกหนึ่งทักษะที่คุณควรเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง

เรื่องเด่นประจำหมวด

การจัดการความเครียด

7 วิธี 'รีเฟรชสมอง' ผ่อนคลายความเครียด ไม่ต้องพึ่งยา

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสถานการณ์ต่างๆ ที่เราเจออยู่ทุกวัน อาจทำให้เกิด ‘ภาวะเครียด’ ได้โดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาส่วนตัว ความขัดแย้งในความสัมพันธ์ หรือภาระงานที่หนักอึ้ง ซึ่งความเครียดไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต อารมณ์ ความคิด การนอนหลับ และสภาพจิตใจของเราเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อร่างกายทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และเบาหวาน เป็นต้น ดังนั้น วันนี้เราจึงได้รวบรวม 7 วิธีแก้เครียดที่ทุกคนสามารถทำตามได้เองง่ายๆ ที่จะช่วยรีเฟรชสมองและจิตใจให้กลับมาสดใสและสดชื่นพร้อมลุยวันใหม่อีกครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งยา ตามมาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง?  1. รับประทานอาหารที่มี NANA นานะ เป็นส่วนประกอบ  นานะ (N-acetylneuraminic acid) หรือที่รู้จักกันในชื่อสามัญว่า ‘กรดไซอะลิค’ (Sialic Acid) มีส่วนช่วยเพิ่มการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของเซลล์ รวมถึงช่วย​​ส่งเสริมการแบ่งเซลล์และการเพิ่มจำนวนของเซลล์ ซึ่งการขาดนานะอาจทำให้เกิด Oxidative Stress หรือภาวะที่ร่างกายขาดความสมดุลระหว่างอนุมูลอิสระ (Free Radicals) และสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ซึ่งภาวะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและโรควิตกกังวล โดยนานะสามารถพบได้ในอาหารบางจำพวก โดยเฉพาะในรังนกแท้ที่มีส่วนประกอบของ นานะ (Nana) หรือ กรดไซอะลิคในสัดส่วนที่สูงถึง […]

สำรวจ การจัดการความเครียด

การจัดการความเครียด

ฝึกสมาธิ สร้างความสงบใจ ด้วยศาสตร์แห่ง ซาเซน (Zazen)

การมีสมาธิที่ดี เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญ ที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพจิตที่ดี เพราะสภาพจิตใจที่ว้าวุ่น ไร้สมาธิ และเต็มไปด้วยความกังวลใจนั้น อาจจะนำไปสู่ความเครียดและความวิตกกังวลได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาพาทุกคนมารู้จักกับ ซาเซน หลักการทำสมาธิ ที่โดดเด่นในเรื่องของการฝึกจิตและการสงบใจ เพื่อการสร้างสมาธิ และสุขภาพจิตที่ดีขึ้นของเรากันค่ะ ทำความรู้จักกับศาสตร์แห่ง ซาเซน ซาเซน (Zazen) คือเทคนิคการฝึกสมาธิรูปแบบหนึ่ง ตามหลักความเชื่อแบบเซน (Zen) นิกายหนึ่งในพุทธศาสนามหายาน ที่นับถือกันอย่างแพร่หลายในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แนวความคิดแบบเซนนั้นมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย และพัฒนาต่อที่ประเทศจีน ก่อนที่แนวคิดนี้จะถูกเผยแพร่เข้าสู่ประเทศเกาหลีและญี่ปุ่นต่อมาในภายหลัง วิธีการปฏิบัติธรรมตามหลักของซาเซนนั้นจะมีอยู่ 4 วิธีหลัก ๆ คือการนั่งสมาธิ การเดินจงกรม การศึกษาพระธรรม และการทำงาน โดยมีเป้าหมายหลักของการปฏิบัติซาเซน อยู่ที่การเพิกเฉยต่อความคิดทั้งปวง ให้ตัวผู้ปฏิบัติธรรมได้รับรู้สึกสัมผัสและความรู้สึกทั้งหมดที่เกิดขึ้นและผ่านไป ทำให้ตระหนักถึงความเป็นจริง ว่าไม่มีสิ่งใจจีรังยั่งยืน ทำให้สามารถปล่อยวาง และเกิดความสงบขึ้นในจิตใจได้ ประโยชน์ของการฝึกสมาธิตามหลักของซาเซน การฝึกสมาธิแบบซาเซนนั้น นอกเหนือจากจะทำให้มีจิตใจที่สงบ ไม่ฟุ้งซ่านแล้ว ยังอาจส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายดังต่อไปนี้ ช่วยลดความเครียด มีงานวิจัยที่พบว่า การทำสมาธิแบบซาเซนเป็นประจำ สามารถช่วยลดความวิตกกังวลและความเครียด สองปัจจัยหลักที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพทั้งสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากการฝึกสมาธินั้นจะทำให้ผู้ฝึกรู้สึกถึงความเงียบสงบและความสงบ หลายคนยังเลือกวิธีการฝึกสมาธิเพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต เช่น โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า ได้อีกด้วย การบำบัดยาเสพติด หลักการฝึกสมาธิแบบซาเซนนั้นถูกใช้เป็นหนึ่งในโปรแกรมของแผนการบำบัดยาเสพติดที่ประเทศไต้หวัน เนื่องจากการฝึกแบบซาเซนนั้นสามารถช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจ […]


การจัดการความเครียด

ความกังวลส่งผลต่อการรับรส ให้เปลี่ยนไปได้จริง หรือแค่คิดไปเอง

เมื่อเกิดความเครียดและความวิตกกังวล นอกจากจะสร้างความไม่สบายใจให้กับตัวเองแล้ว ปัญหาความเครียดและความวิตกกังวลเหล่านี้ ยังส่งผลต่อร่างกายในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หายใจถี่ขึ้น ความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับแต่ละคน ที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ ความวิตกกังวลยังส่งผลต่อการรับรส อีกด้วย ซึ่งเป็นผลกระทบที่หลาย ๆ คนอาจไม่เข้าใจว่าเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปหาคำตอบว่า ความเครียด ความกังวลส่งผลต่อการรับรส ได้อย่างไร ความเครียดและความกังวลส่งผลต่อการรับรส ได้อย่างไร จากงานวิจัยพบว่า สำหรับบางคนเมื่อเกิดความเครียดหรือความวิตกกังวล การรับรสชาติบางรสชาติอาจจะรับรสได้น้อยลง จากการวิจัยในปี 2012 พบว่า ความเครียดมีส่วนทำให้การรับรสชาติเค็มและหวานลดลง ทำให้ในช่วงที่เกิดเครียด จะทำให้พวกเขารับประทานอาหารรสชาติเค็มขึ้นและหวานขึ้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในปี ค.ศ. 2011 ที่ได้ทำการวิจัยผู้ที่ตกอยู่ในสถาการณ์ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล เช่น การที่ต้องพูดในที่สาธารณะ การแก้ไขโจทย์คณิตศาสตร์ที่ยาก จากการทดลองพบว่า เมื่อพวกเขาเกิดความวิตกกังวล การรับรสหวานลดลง และทำให้พวกเขารับประทานอาหารรสชาติหวานมากขึ้น นอกจากรสชาติหวานและเค็มแล้ว สำหรับบางคนเมื่อเกิดความเครียด อาจทำให้ปากได้รสชาติรสโลหะอีกด้วย ซึ่งแพทย์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า รสชาติโลหะที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ แต่แพทย์คาดว่าเมื่อเกิดความเครียดจนทำให้ปากแห้ง ทำให้น้ำลายในปากน้อยลง จนปากเกิดรสชาติขมและรสโลหะ วิธีแก้ปัญหาเมื่อ ความกังวลส่งผลต่อการรับรส […]


การจัดการความเครียด

วิธีรับมือเมื่อต้อง อยู่คนเดียวช่วงเทศกาล ทำยังไงไม่ให้เหงาจนกระทบสุขภาพ

ในช่วงเทศกาล โดยเฉพาะเทศกาลที่มีวันหยุดยาวอย่างปีใหม่ หรือสงกรานต์ ถือเป็นโอกาสดีที่คนส่วนใหญ่จะได้หยุดงาน และได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว หรือคนรัก แต่ก็ยังมีคนอีกส่วนหนึ่งที่ต้อง อยู่คนเดียวช่วงเทศกาล ไม่ได้ไปเฉลิมฉลองกับคนที่พวกเขารัก ยิ่งช่วงนี้ โรคโควิด-19 ระบาดรุนแรงขึ้น จนทำให้การเดินทาง และการพบปะ หรือใช้เวลาร่วมกับผู้อื่นกลายเป็นเรื่องยาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนส่วนใหญ่จะต้องอยู่คนเดียว หรือรู้สึกเหงามากเป็นพิเศษ ว่าแต่เราจะรับมือกับความเหงาอย่างไรไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ Hello คุณหมอ จะพาไปดูกันเลย วิธีรับมือเมื่อต้อง อยู่คนเดียวช่วงเทศกาล ทำความเข้าใจว่าคุณไม่ได้ตัวคนเดียว การต้องอยู่คนเดียวในช่วงเทศกาลอาจทำให้คุณรู้สึกเหงาและว้าเหว่ ยิ่งคุณต้องการใช้เวลาร่วมกับครอบครัว เพื่อน หรือคนรักมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งเหงามากขึ้นเท่านั้น แต่คุณควรจำไว้ว่า แม้คุณจะต้องอยู่ลำพัง ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณตัวคนเดียว หรือไม่มีใคร เพราะเดี๋ยวนี้ สัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตครอบคลุมแทบจะทุกพื้นที่ คุณจึงสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่คุณคิดถึงผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นสื่อโซเชียล การวิดีโอคอล หรือการสนทนาแบบได้ยินแค่เสียงตามปกติ ทำให้ตัวเองรู้สึกดีและผ่อนคลาย การกำจัดความเหงาออกไปให้สิ้นซากอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่คุณก็บรรเทาความเหงาและทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นได้ ด้วยกิจกรรมผ่อนคลายสุดโปรดของคุณ เช่น การแช่น้ำอุ่น การอ่านหนังสือ การดูหนัง การฟังเพลง การเล่นเกม การเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ การใช้เวลาและมีสมาธิอยู่กับกิจกรรมโปรด จะทำให้คุณลืมความเหงาไปได้ ทั้งยังช่วยให้คุณรับรู้ถึงคุณค่าของตัวเอง หรือพึงพอในใจตัวเอง (Self-esteem) มากขึ้นด้วย ไม่หมกตัวอยู่แต่ในบ้าน แม้คุณจะไม่ได้ใช้เวลาร่วมกับคนที่คุณต้องการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องอยู่คนเดียวตลอดช่วงเทศกาล […]


การจัดการความเครียด

สู้หรือหนี กลไกรับมือความเครียด ที่คุณควรรู้จักให้ดีขึ้น

เวลาต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ตึงเครียด เจอเหตุการณ์อันตราย หรือมีภัยคุกคาม ร่างกายของเราจะรับมือกับสภาวะเหล่านั้นด้วยการตอบสนองแบบ สู้หรือหนี เพื่อความอยู่รอด ว่าแต่การตอบสนองแบบสู้หรือหนีที่ว่าคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร เราไปหาคำตอบจากบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันเลย การตอบสนองโดยการ สู้หรือหนี คืออะไร การตอบสนองโดยการสู้หรือหนี (Fight-or-Flight Response) หรือที่เรียกว่า การตอบสนองต่อความเครียดแบบฉับพลัน (Acute Stress Response) เป็นปฏิกิริยาทางสีรระ หรือการตอบสนองทางร่างกาย (Physiological Response) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความหวาดกลัวทางกายหรือทางจิตใจ ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อสมองหลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวและเตรียมพร้อมที่จะสู้ หรือหนีเอาตัวรอดจากสถานการณ์เหล่านั้น ตัวอย่างสถานการณ์ที่ร่างกายมักตอบสนองด้วยสภาวะสู้หรือหนี เช่น การเหยียบเบรก เพราะรถคันหน้าหยุดกะทันหัน ออกไปเดินเล่นแล้วเจอสุนัขขู่ สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะ สู้หรือหนี เมื่อต้องเผชิญกับความเครียดที่เกิดขึ้นทันที (Acute Stress) สมองของเราจะหลั่งฮอร์โมนบางชนิดออกมากระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System; SNS) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System; ANS) มีหน้าที่ตอบสนองหรือรับมือกับความเครียด หรือที่เรียกว่า ภาวะสู้หรือหนี นั่นเอง หลังจากระบบซิมพาเทติกทำงาน ต่อมหมวกไตจะถูกกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนในกลุ่มแคททีโคลามีน (Catecholamines) อย่างนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) และเอพิเนฟริน (Epinephrine) หรือที่เรียกว่าอะดรีนาลีน (Adrenaline) […]


การจัดการความเครียด

รู้หรือไม่? การ สวดมนต์ มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด

การ สวดมนต์ ถือว่าเป็นพิธีกรรมทางศาสนาพุทธที่ปฏิบัติสืบเนื่องมาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ศึกษาหลักธรรมในรูปแบบของการสวดมนต์ นอกจากนี้เสียงที่เปล่งออกมาขณะนั่งสวดมนต์ยังส่งผลดีต่อสุขภาพอีกด้วย แต่จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความ Hello คุณหมอ ค่ะ สวดมนต์ พุทธคุณบำบัดจิตใจ  การ สวดมนต์ ในทางศาสนพุทธ  หรือทางภาษาธรรมที่เรียกว่า พุทธวจนะ คือการสวดมนต์เพื่อถ่ายทอดหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า หากเราสวดมนต์เป็นประจำทุกวันเช้า-เย็น ไม่เพียงแต่ส่งผลดีทางด้านสุขภาพจิตใจ แต่ยังส่งผลดีต่อสุขภาพกายอีกด้วย  อย่างไรก็ตาม การสวดมนต์ของทุกศาสนา ถือได้ว่าเป็นการประกอบพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่ในสมัยบรรพบุรุษสืบเนื่องต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน  โดยอานิสงส์ของการสวดมนต์นั้นไม่ว่าจะในศาสนาไหนก็ส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ เช่น ฝึกสมาธิ บำรุงสุขภาพหัวใจ ปรับสมดุลระบบการหายใจ  ช่วยบรรเทาความวิตกกังวล ความเศร้า ช่วยส่งเสริมสภาพจิตใจ เป็นต้น  สวดมนต์บำบัดสุขภาพกาย-สุขภาพใจ ดร.นพ.ธวัชชัย อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า การสวดมนต์นั้น ถือเป็นทางออกอย่างหนึ่งที่จะบำบัดโรคได้  ซึ่งการสวดมนต์นั้นไม่ได้เพียงแต่จะช่วยบำบัดทางด้านสุขภาพใจแต่ยังบำบัดทางด้านสุขภาพกายได้เป็นอย่างดี   การสวดมนต์บำบัด คือหลักการหนึ่งของ Vibrational Therapy เป็นการใช้คุณสมบัติของคลื่นเสียงบางคลื่นที่มีความสม่ำเสมอมาบำบัดความเจ็บป่วย หากสวดมนต์ 10-15 นาทีขึ้นไป จะทำให้ร่างกายหลั่งสารซีโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีคุณสมบัติ ช่วยควบคุมความหิว ควบคุมอารมณ์   อย่างไรก็ตาม ได้มีผลการศึกษา การวิจัยที่ระบุว่า หลักการของ Vibrational Therapy ในการสวดมนต์ สามารถช่วยบำบัดสุขภาพได้เป็นที่น่าพอใจ เช่น […]


การจัดการความเครียด

ความสัมพันธ์กับอาหาร เมื่อความรู้สึก อาหารและสุขภาพล้วนสัมพันธ์กัน

ความสัมพันธ์กับอาหาร ก็เปรียบเสมือนความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นความแบบเพื่อน ความสัมพันธ์แบบคนรัก ที่จะต้องใช้เวลาจึงจะดีขึ้นได้ หลาย ๆ คนอาจจะงงว่าความสัมพันธ์กับอาหารคืออะไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับอาหารมาให้อ่านกัน ความสัมพันธ์กับอาหาร คืออะไร ความสัมพันธ์กับอาหารเป็นเรื่องของการรับประทานอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพ ซึ่งความสัมพันธ์กับอาหารที่ดีนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่เราไม่กำหนดหรือบังคับการรับประทานอาหารของตนเองมากจนเกินไป และเป็นรูปแบบการรับประทานอาหารที่นอกจากดีต่อใจแล้วยังต้องดีต่อสุขภาพอีกด้วย ที่สำคัญคุณจะต้องไม่รู้สึกผิดเมื่อรับประทานอาหารเหล่านั้นเข้าไปแล้ว ความสัมพันธ์กับอาหารนั้นไม่ได้แตกต่างจากความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่น ๆ เลย เป็นความสัมพันธ์ที่ต้องใช้เวลาจึงจะดีขึ้นได้ ความสัมพันธ์ที่ดีกับอาหารไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพหรือประเภทของอาหารที่รับประทาน แต่ขึ้นอยู่กับการเลือกรับประทานอาหารอย่างไร และเหตุผลที่เลือกรับประทานมากกว่า ดังนั้น หากคุณมีความสัมพันธ์ที่ดีกับอาหารก็จะช่วยให้รู้สึกไม่เครียด ไม่กังวลเมื่อรับประทานอาหาร สัญญาณที่บ่งบอกว่า ความสัมพันธ์กับอาหาร ของคุณไม่ดี การจะเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับอาหารได้ อันดับแรกคุณจะต้องรู้ก่อนว่าอะไรที่เรียกว่าความสัมพันธ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับอาหาร เพื่อที่จะได้เริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับอาหารได้อย่างถูกต้อง สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับอาหาร รู้สึกผิดเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงหรือจำกัดอาหารที่ไม่รู้สึกว่า ‘ไม่ดีต่อสุขภาพ’ มีกฎในการรับประทานอาหาร เช่น รายการที่ห้ามกินเด็ดขาด กังวลกับแคลอรี่ที่รับประทานมากเกินไป ปล่อยให้ร่างกายหิว โดยที่ไม่รับประทานอาหาร กังวลหรือมีความกลัวการถูกตัดสินจากผู้อื่น เกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหาร สร้างความสัมพันธ์กับอาหาร ให้ดีขึ้นด้วยวิธีเหล่านี้ อนุญาตให้ตัวเองรับประทานอาหารโดยไม่มีเงื่อนไข สำหรับบางคนที่อยู่ในช่วงลดน้ำหนัก อาจสร้างเงื่อนไขในการรับประทานอาหารให้ตัวเอง เช่น เมื่อรับประทานมื้อกลางวันมาก ก็เลือกที่จะงดมื้อเย็น แม้ว่าร่างกายจะหิวขนาดไหนก็ตาม ซึ่งการสร้างเงื่อนไขในรูปแบบเช่นนี้ ถือว่าไม่ถูกต้องนัก หากร่างกายหิวก็ควรรับประทาน เพราะอาหารแต่ละมื้อมีความสำคัญในแบบที่แตกต่างกันออกไป หยุดโทษตัวเอง บางครั้งหมูกระทะ ไอศกรีม หรือขนมหวาน ก็ยั่วยวนใจจนเราไม่สามารถอดใจที่จะไม่กินได้ แต่พอกินเข้าไปก็โทษตัวเองอยู่บ่อย ๆ ว่าไม่ควรรับประทานอาหารเหล่านี้ เพราะมันจะทำให้อ้วนและไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งการโทษตัวเองจะยิ่งทำให้เกิดความเครียด และวิตกกังวล ที่สำคัญจะยิ่งทำให้เราไม่มีความสุข รับประทานเมื่อหิว โดยธรรมชาติแล้วร่างกายจะบ่งบอกเมื่อเรารู้สึกหิว […]


การจัดการความเครียด

เทียนหอมเพื่อผ่อนคลาย จุดแล้วส่งผลดีหรือร้ายต่อสุขภาพกันแน่

หลายคนชอบจุด เทียนหอมเพื่อผ่อนคลาย เนื่องจากมีกลิ่นหอม ช่วยทำให้จิตใจของคุณสงบ และรู้สึกผ่อนคลาย แต่บางคนอาจสงสัยว่า การดมควันของเทียนหอม อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้หรือไม่ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเทียนนั้นล้วนมีสารเคมีผสมอยู่ แต่ความจริงแล้วเป็นอย่างไร ติดตามกันได้ในบทความของ Hello คุณหมอ เลยค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] การจุดเทียนเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ มีบทความมากมายบนอินเทอร์เน็ตที่อธิบายถึงอันตรายของการสูดดมควันเทียนหอม แต่บทความส่วนใหญ่ที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตจำนวนมากนั้น ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถสรุปได้ว่า ความจริงแล้วการจุดเทียนหอมเพื่อผ่อนคลายนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ในปี ค.ศ. 2003 คณะกรรมาธิการความปลอดภัยสินค้าอุปโภคบริโภคของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Consumer Product Safety Commission; CPSC) ได้ลงมติห้ามขายและผลิตเทียนที่มีไส้ตะกั่ว พวกเขายังห้ามนำเข้าเทียนที่มีส่วนผสมของตะกั่วจากประเทศอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้น ผู้ผลิตเทียนส่วนใหญ่เลิกใช้ตะกั่วในการผลิตเทียนตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1970 เนื่องจากมีความกังวลว่า ควันที่เกิดจากการจุดเทียน อาจทำให้เกิดพิษจากสารตะกั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก เทียนในยุคปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะทำจากขี้ผึ้งพาราฟิน หรือพาราฟิน แว็กซ์ (Paraffin wax) โดยขี้ผึ้งประเภทนี้ผลิตจากปิโตรเลียม ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการทำน้ำมันเบนซิน การศึกษาในปี ค.ศ. 2009 พบว่า ขี้ผึ้งพาราฟินที่ถูกเผาไหม้จะปล่อยสารเคมีที่อาจเป็นอันตราย เช่น โทลูอีน (Toluene) ออกมา อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ไม่เคยถูกตีพิมพ์ในวารสารที่ผ่านการตรวจสอบโดย The National […]


การจัดการความเครียด

จัดดอกไม้ ผ่อนคลายความเครียด รู้ไหมดอกไม้ดีต่อสุขภาพจิตมากเลยนะ

หากคุณผู้อ่านเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกว่าช่วงนี้มีชีวิตมีแต่ความยุ่งเหยิง หมดพลัง ท้อแท้ เหนื่อยหน่าย และอยากจะหากิจกรรมสนุก ๆ ทำ เพื่อปลดเปลื้องความทุกข์ในใจ ที่ไม่ใช่แค่การดูหนัง ฟังเพลง หรือไปเที่ยว Hello คุณหมอ ขอแนะนำกิจกรรมดี ๆ ที่นอกจากจะช่วยผ่อนคลายอารมณ์แล้ว ก็ยังมีส่วนช่วยสร้างสุขภาพจิตที่ดีขึ้นด้วย นั่นคือกิจกรรม จัดดอกไม้ ค่ะ แต่ การจัดดอกไม้ จะดีต่อสุขภาพจิตอย่างไรนั้น มาติดตามกันเลยค่ะ ดอกไม้ ดีต่อสุขภาพจิตอย่างไร ส่งเสริมด้านอารมณ์ มีผลการศึกษาและผลงานวิจัยหลากแขนงและหลายสถาบันที่ชี้ให้เห็นว่าดอกไม้นั้น สามารถช่วยให้สุขภาพจิตของคนเราดีขึ้นได้จริง ๆ ถึงแม้ดอกไม้ที่ปักอยู่ในแจกัน หรือช่อดอกไม้ที่เพิ่งได้รับเป็นของขวัญมา หรือแปลงดอกไม้ที่สวนหลังบ้านดูจะเป็นเพียงสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พอช่วยให้สบายตาเท่านั้น แต่จากผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) พบว่า การตื่นเช้ามาแล้วมองเห็นดอกไม้เป็นสิ่งแรกของวัน ทำให้อารมณ์ดีและมีความสุขมากขึ้น เพิ่มความชื้นในอากาศ ดร.ดัสกุปตา (Dr. Dasgupta) ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ และศาสตราจารย์ประจำ Keck School of Medicine แห่งมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (University of Southern California) เผยว่า การจัดดอกไม้ […]


การจัดการความเครียด

ความเครียดจากการตกงาน เมื่อโรคระบาด นำพามาซึ่งความซึมเศร้า

ในช่วงที่ยังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจซบเซา เนื่องจากปัญหาโรคระบาด อย่างในปัจจุบันนี้ การตกงาน ก็อาจจะเป็นปัญหาที่ยากจะเลี่ยงได้ แต่การตกงานนั้นนอกจากจะทำให้เราต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านการเงินแล้ว ยังอาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพจิต เพราะความเครียดที่รุมเร้าได้อีกด้วย Hello คุณหมอ เลยอยากจะมาแนะนำ แนวทางในการรับมือกับ ความเครียดจากการตกงาน ที่ดีต่อสุขภาพจิตของคุณกันค่ะ การตกงาน ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพจิต การตกงานนั้นจัดได้ว่าเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ ในชีวิตหลายๆ คน เพราะส่งผลโดยตรงกับปัญหาเรื่องปากท้อง ที่มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะนำไปสู่ปัญหาโรคซึมเศร้า วิตกกังวล การใช้ความรุนแรง และการฆ่าตัวตายได้ และจากสถิติพบว่า ผู้ที่ตกงานนั้นมีโอกาสสูงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิตต่างๆ มากกว่าผู้ที่กำลังมีงานที่มั่นคงอีกด้วย เหตุผลที่ว่าทำไมความเครียดจากการตกงานนั้นจึงผลอย่างรุนแรงต่อสุขภาพจิต มีดังนี้ ความยากลำบากในการหาซื้อสิ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต การที่เราจะใช้ชีวิตได้นั้นจำเป็นต้องใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็นการซื้ออาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค หรือที่อยู่อาศัย ผู้ที่ตกงานจะต้องพยายามขวนขวายเพื่อจะได้เติมเต็มความจำเป็นเหล่านั้น ทำให้เกิดความเครียด และส่งผลให้สุขภาพจิตเสียได้ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อยลง ผู้ที่ตกงานมักจะมีความอาย และพยายามหลีกเลี่ยงที่จะติดต่อพบหากับเพื่อนหรือคนรู้จัก หรือไม่มีโอกาสได้พบเจอกับคนอื่นมากเท่ากับตอนทำงาน ทำให้เกิดความรู้สึกเปล่าเปลี่ยว หดหู่ และอารมณ์ไม่ดีได้มากขึ้น ไม่มีเป้าหมายในชีวิต การทำงานนั้นเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้เรามีเป้าหมายในชีวิต มีจุดมุ่งหมายที่เห็นได้ชัดขึ้นว่าสิ่งที่ควรทำในแต่ละวันคืออะไร การตกงานจะทำให้คุณสูญเสียเป้าหมายนั้น และอาจทำให้หลายคนรู้สึกขาดความหมายในการมีชีวิต และทำให้จิตตก และสุขภาพจิตเสียได้ รับมือกับความเครียดได้ไม่ดี บางคนอาจจะรับมือกับความเครียดจากการตกงานได้อย่างไม่เหมาะสม คือแทนที่จะพยายามหางาน หารายได้ ลดรายจ่าย หรือหาวิธีที่จะให้ตัวเองหลุดพ้นจากภาวะว่างงานนั้น แต่อาจจะหันไปหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้ความรุนแรงแทน กลายเป็นการเสียทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตแทน หนทางในการรับมือกับ ความเครียดจากการตกงาน เรามีวิธีดีๆ […]


การจัดการความเครียด

ความเครียดทางการเงิน ไม่เพียงแต่ทำให้คุณร้อนใจ แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพมากมาย

ความเครียดทางการเงิน นั้นเป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนอาจเคยพบเจอ ยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจมีความย่ำแย่ ยิ่งทำให้เกิดปัญหาทางการเงินได้ง่าย จะใช้จ่ายแต่ละทีต้องคิดให้รอบครอบ ปัญหาทางการเงินนอกจากจะทำให้เกิดความร้อนใจ ไม่สบายใจแล้ว ปัญหาทางการเงิน ส่งผลต่อสุขภาพของเราได้ด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ปัญหาทางการเงินส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร พร้อมเคล็ดลับดี ๆ ที่ช่วย จัดการปัญหาเหล่านี้ ความเครียดทางการเงิน ส่งผลต่อสุขภาพ อย่างไรบ้าง ถึงแม้ว่าความเครียดจะส่งผลต่อสุขภาพของเรา แต่ปัญหาความเครียดทางการเงินนั้นส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าความเครียดอื่นๆ ความเครียดทางการเงินนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ดังนี้ มีปัญหาสุขภาพทางด้านร่างกาย ความเครียดที่เกิดจากปัญหาทางการเงินนั้น เป็นความเครียดสะสม ปัญหาทางการเงินนั้นเป็นปัญหาที่เกิดต่อเนื่อง ติดต่อกัน ความเครียดที่เกิดขึ้นเหล่านี้มีส่วนที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดไมเกรน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน รวมถึงมีปัญหาในการนอนหลับ หากปัญหาสุขภาพเหล่านี้ยังไม่ได้รับการรักษา ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดเรื้อรังจนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้น้อยลง ปัญหาทางการเงิน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ไม่ว่าจะเป็น ไมเกรน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นโรคที่มีความอันตราย ควรเข้ารับการรักษา แต่ด้วยปัญหาทางการเงิน ทำให้หลาย ๆ คนเลือกที่จะไม่เข้ารับการรักษา จากการสำรวจประชากรชาวอเมริกันพบว่า มีชาวอเมริกันจำนวนร้อยละ 29 ไม่เข้ารับการรักษาเพราะปัญหาทางการเงิน ถึงแม้การไม่เข้ารับการรักษาจะเป็นวิธีการประหยัดเงินที่ดี แต่แน่นอนว่ามันต้องแลกมาด้วยกับปัญหาสุขภาพที่ย่ำแย่ลงจนบางครั้งอาจทำให้เสียเงินรักษาแพงขึ้นเมื่ออาการหนักขึ้นก็ได้ จะยิ่งทีให้สถานการณ์รุนแรงมากขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพจิต ความเครียดจากปัญหาทางการเงินย่อมที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม