backup og meta

นอนมากกว่าปกติ เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า และอีกสารพัดโรคร้าย!

นอนมากกว่าปกติ เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า และอีกสารพัดโรคร้าย!

คุณเคยพบว่าตัวเอง นอนมากกว่าปกติ หรือเปล่า? หากเป็นเช่นนั้น อาจเป็นผลมาจากภาวะซึมเศร้าก็เป็นได้ ปัญหาเกี่ยวกับการนอนและภาวะซึมเศร้าอาจมีปัจจัยเสี่ยง และอาการทางร่างกายแบบเดียวกัน และภาวะทั้งสองอาจมีการตอบสนองต่อวิธีการรักษาเดียวกัน ปัญหาเกี่ยวกับการนอนยังสัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าที่รุนแรงมากขึ้นด้วย

การนอนและภาวะซึมเศร้าสัมพันธ์กันอย่างไร

ปัญหาเกี่ยวกับการนอน เป็นสิ่งบ่งชี้ประการหนึ่งของภาวะซึมเศร้า คุณอาจนอนมากเกินไป หรือนอนไม่หลับ เมื่อมีภาวะซึมเศร้า สำหรับผู้ที่ทรมานจากการนอนมากเกินไป (hypersomnia) เป็นความผิดปกติทางสุขภาพอย่างแท้จริง ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยส่วนใหญ่แล้ว อาการนอนไม่หลับ (insomnia) มักพบได้ทั่วไป โดยในทางกลับกัน ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับมีความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าผู้ที่นอนหลับปกติได้ถึง 10 เท่า

โรคซึมเศร้าทำให้คุณรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง ไร้ค่า และไร้ประโยชน์ แน่นอนว่าเราทั้งหมดสามารถรู้สึกเศร้าหรือหดหู่ได้ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เมื่อคุณรู้สึกเศร้าเป็นเวลานาน และความรู้สึกดังกล่าวรุนแรงขึ้น อารมณ์ซึมเศร้าและอาการทางร่างกายที่สัมพันธ์กัน จะทำให้คุณไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ อาการซึมเศร้าอื่นๆ ได้แก่

  • รู้สึกเศร้าหรือว่างเปล่าอย่างมาก
  • รู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่า หรือรู้สึกผิด
  • รู้สึกอ่อนเพลียและเชื่องช้ามาก หรือวิตกกังวลและกระวนกระวาย
  • ขาดความสนใจในสิ่งต่างๆ ซึ่งเคยสนใจมาก่อน
  • หมดแรง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการทำสมาธิ การคิด หรือการตัดสินใจ
  • ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทำให้น้ำหนักร่างกายเปลี่ยนแปลง
  • ความอยากนอนเพิ่มขึ้นหรือลดลง

หากมีอาการเหล่านี้อย่างน้อยห้าอาการ เป็นเวลามากกว่าสองสัปดาห์ คุณควรพบแพทย์สำหรับการวินิจฉัยอย่างเหมาะสม

เหตุใดการนอนจึงสำคัญ

แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนที่นอนมากเกินไปจะมีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน สาเหตุอื่นๆ ที่เป็นไปได้ของการนอนมากเกินไป ได้แก่ การใช้สารบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ และยาที่แพทย์สั่งบางชนิด อาการอื่นๆ เช่น อาการซึมเศร้า อาจทำให้มีอาการนอนมากเกินไปได้ แต่ก็มีผู้ที่แค่ต้องการนอนมากโดยไม่ได้มีอะไรผิดปกติก็เป็นได้

อาการหรือโรคต่อไปนี้เป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับการนอน หรืออาจทำให้เกิดปัญหาการนอนได้

เบาหวาน

ผู้ที่นอนมากเกินไปหรือนอนไม่เพียง พอมีความเสี่ยงต่อเบาหวานได้มากกว่า

โรคอ้วน

น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดได้จากการนอนมากเกินไป การศึกษาหนึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการนอนและโรคอ้วนเผยว่า ผู้ที่นอนเป็นเวลา 9 หรือ 10 ชั่วโมงต่อวันทุกคืน มีโอกาสร้อยละ 21 ที่จะเป็นโรคอ้วนเป็นเวลาเกินกว่า 6 ปี มากกว่าผู้ที่นอนเป็นเวลาระหว่าง 7 และ 8 ชั่วโมง

ปวดศีรษะ

คุณอาจคิดว่าการนอนหลับสนิท สามารถรักษาอาการปวดศีรษะได้ ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า การนอนมากขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์หรือวันหยุดพักผ่อน อาจก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ในบางคน การนอนมากเกินไปอาจส่งผลต่อสารสื่อประสาทในสมอง ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ในตอนเช้า

ปวดหลัง

ย้อนกลับไปในอดีต ผู้ที่มีอาการปวดหลังมักได้รับคำแนะนำให้พักผ่อนมากขึ้น อย่างไรก็ดี วิทยาศาสตร์สมัยใหม่พิสูจน์ว่า วิธีการรักษาแบบดังเดิมนี้เป็นสิ่งที่ผิดและทำให้อาการแย่ลงได้ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมีความจำเป็นต่อการคงไว้ซึ่งความยืดหยุ่นของร่างกาย หากคุณมีอาการปวดหลัง ให้ไปพบแพทย์ แพทย์อาจแนะนำไม่ให้นอนมากเกินไป หากเป็นไปได้

โรคซึมเศร้า

ถึงแม้ว่าอาการนอนไม่หลับมักสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า มากกว่าการนอนมากเกินไป แต่ก็มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประมาณร้อยละ 15 ที่มีอาการนอนมากเกินไป ในทางกลับกัน อาจทำให้โรคซึมเศร้ามีอาการแย่ลงได้ เนื่องจากนิสัยการนอนตามปกติ เป็นสิ่งสำคัญต่อกระบวนการฟื้นฟูของร่างกาย

การเสียชีวิต

การศึกษาจำนวนมากพบว่า ผู้้ที่นอนเป็นเวลา 8 หรือ 9 ชั่วโมงต่อคืน มีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าผู้ที่นอน 7 ถึง 8 ชั่วโมงต่อคืนอย่างมีนัยสำคัญ ไม่มีการระบุเหตุผลสำหรับความสัมพันธ์ดังกล่าว แต่นักวิจัยพบว่า โรคซึมเศร้าและสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่ต่ำ มีความสัมพันธ์กับการนอนเป็นเวลานานขึ้น นักวิจัยคาดว่า ปัจจัยเหล่านี้อาจสัมพันธ์กับการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น ที่พบในการศึกษาผู้ป่วยที่นอนมากเกินไป

Hello Health Group ม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sleep and Depression. http://www.webmd.com/depression/guide/depression-sleep-disorder#1. Accessed December 17, 2016.

DEPRESSION AND SLEEP. https://sleepfoundation.org/sleep-disorders-problems/depression-and-sleep. Accessed December 17, 2016.

Sleep and Depression. http://www.webmd.com/depression/sleep-depression#1. Accessed December 17, 2016.

Why Is Sleep Important? https://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/sdd/why. Accessed December 17, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย แพทย์หญิงกนกลักษณ์ ศิริรุ่งวัฒนากุล

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

8 นิสัยแย่ๆ ที่คุณไม่ควรทำในช่วงเวลา ก่อนนอน เด็ดขาด

วัยรุ่น ควรนอนมากน้อยแค่ไหนถึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพ


เขียนโดย

แพทย์หญิงกนกลักษณ์ ศิริรุ่งวัฒนากุล

สุขภาพจิต · โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์


แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา