backup og meta

ไม่ใช่แค่ป่วยบ่อย แต่ ความเครียดจากการทำงาน ส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด

ไม่ใช่แค่ป่วยบ่อย แต่ ความเครียดจากการทำงาน ส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด

ใครที่ป่วยบ่อย ป่วยง่าย ร่างกายไม่แข็งแรง แถมนอนไม่ค่อยหลับ คุณอาจโดนความเครียดเล่นงานเข้าให้แล้ว แล้วรู้หรือเปล่าว่า ถ้ายิ่งเป็น ความเครียดจากการทำงาน ที่คุณต้องเผชิญทุกวัน ก็สามารถทำให้สุขภาพแย่ลงในระยะยาว มาดูกันว่า ความเครียดจากการทำงาน จะส่งผลต่อสุขภาพของคุณอย่างไรได้บ้าง และเราจะเตรียมพร้อมรับมือ ความเครียดจากการทำงาน กันอย่างไรดี

ความเครียดจากการทำงาน ส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด

– ความเครียดทำให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้

งานวิจัยพบว่า แม้จะเป็นเพียงความเครียดที่ไม่รุนแรง เช่น ความเครียดที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน ก็อาจทำให้เสียความสามารถในการควบคุมความกลัวและความกังวลได้

– ความเครียดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการป่วยทางจิต

ความเครียดเชื่อมโยงกับความเจ็บป่วย และการเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคปอด การฆ่าตัวตายเนื่องจากโรคซึมเศร้า นอกจากนี้งานวิจัยจากสถาบัน Johns Hopkins University  ให้ข้อมูลว่าเด็กที่เผชิญกับความเครียดเรื้อรัง มีแนวโน้มว่าจะพัฒนาอาการป่วยทางจิต หากมีความอ่อนแอทางพันธุกรรม

– ความเครียดส่งผลต่อเรื่องทางเพศ

การมีเพศสัมพันธ์อาจมีส่วนช่วยบรรเทาความเครียด แต่ความเครียดก็สามารถส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ได้เช่นกัน เนื่องจากมีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่า ความเครียดสามารถส่งผลต่อน้ำหนักตัวของผู้ชาย ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และความปรารถนาทางเพศ

– ความเครียดอาจทำร้ายสุขภาพเหงือกและฟัน

ความเครียดอาจส่งผลให้คุณมีอาการนอนกัดฟัน ขณะนอนหลับโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจทำลายสุขภาพเหงือกและฟัน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดกับโรคเหงือกด้วย

– ความเครียด ทำร้ายหัวใจ

ความเครียดสามารถสร้างความเสียหายให้กล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อฮอร์โมนเครียด หรือฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจก็จะเพิ่มขึ้นด้วย หลอดเลือดก็จะหดตัว ซึ่งส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น มากไปกว่านั้นความเครียดยังเพิ่มความดันโลหิต ถ้าคุณเป็นคนที่เครียดบ่อย โดยเฉพาะเครียดจากการทำงาน คุณอาจเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง

– ความเครียดอาจทำให้อ้วน

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยไมอามี พบว่าเมื่อกลุ่มตัวอย่างอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด พวกเขามีแนวโน้มว่าจะบริโภคอาหารมากขึ้นกว่าปกติ 40% ซึ่งอาจทำให้คุณมีน้ำหนักเกินหรืออ้วนในที่สุด

– ความเครียดทำให้ดูมีอายุ

ความเครียดเรื้อรังอาจเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้แก่ก่อนวัยอย่างมีนัยสำคัญ เพิ่มเติมไปกว่านั้น ผู้วิจัยจาก University of California ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังพบว่า ความเครียดอาจทำให้เกิดสัญญาณแห่งวัย ได้แก่ ริ้วรอย กล้ามเนื้ออ่อนแรง มองเห็นไม่ชัดเจน และอื่นๆ

– ความเครียดอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง

ยิ่งเครียดมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ซึ่งส่งผลให้คุณติดเชื้อง่าย และป่วยบ่อย ดังนั้นสมาคม The American Psychological Association (APA) จึงแนะนำให้คุณบรรเทาความเครียด เพื่อให้มีสุขภาพดีขึ้น โดยอาจใช้วิธีออกกำลังกาย หรือนั่งสมาธิ

 

วิธีที่ช่วยบรรเทาความเครียด

คุณสามารถบรรเทาความเครียดด้วยวิธีการเหล่านี้

  1. แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ควรเริ่มต้นจากการยอมรับความจริงว่าคุณเครียดเพราะอะไร เช่น เครียดเรื่องเงิน เรื่องงาน ลองแก้ปัญหาเรื่องนั้นเพื่อให้ทุกอย่างคลี่คลายลง และคุณจะรู้สึกดีมากขึ้น
  2. พูดคุยกับคนที่ไว้ใจ การคุยกับเพื่อน คนรัก หรือครอบครัว อาจช่วยให้คุณรู้สึกดีมากขึ้น เพราะได้ระบายกับคนที่ไว้ใจ
  3. ออกกำลังกายเป็นประจำ ยิ่งออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้ฮอร์โมนแห่งความสุขเพิ่มขึ้น ส่งผลให้คุณรู้สึกดีและมีความเครียดลดลง
  4. ปรึกษาแพทย์ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่ความเครียด ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของคุณ เช่น นอนไม่หลับ อารมณ์รุนแรง มีภาวะซึมเศร้า เป็นต้น

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Nine Ways Stress Is More Dangerous Than You Think. https://www.healthline.com/health-news/mental-eight-ways-stress-harms-your-health-082713#1. Accessed 16 October 2019.

How stress affects your health. https://www.apa.org/helpcenter/stress. Accessed 16 October 2019.

Workplace Stress and Your Health. https://www.webmd.com/men/features/work-stress#1. Accessed 16 October 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารคลายเครียด

คอร์ติซอล ฮอร์โมนความเครียด ที่ไม่ได้หยุดอยู่แค่ทำให้เครียด!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา