อาการตาล้า (Eye fatigue) เกิดจากอาการแสบ อาการคัน และอาการเมื่อยล้าของดวงตา สามารถพบได้บ่อย และไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรง แม้บางครั้งเราอาจมีอาการตาล้าจนแทบทนไม่ได้ แต่อาการที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้ทำให้ดวงตาเสียหายแต่อย่างใด ต่อไปนี้ คือข้อแนะนำและวิธีการจัดการกับอาการตาล้า ที่ Hello คุณหมอนำมาฝาก
อาการตาล้า คืออะไร
ตาล้า เป็นอาการหนึ่งที่ไม่ใช่โรคเกี่ยวกับดวงตา มักเกิดขึ้นหลังจากการใช้สายตาเป็นเวลานาน เช่น ขับรถยนต์ ใช้คอมพิวเตอร์ และอ่านหนังสือ หากรู้สึกไม่สบายตาในขณะจ้องมองสิ่งต่างๆ นั่นอาจหมายถึงอาการสายตาล้า โดยปกติแล้ว อาการจะหายไปหลังจากได้พักดวงตา แต่ในบางกรณี สายตาล้าเป็นอาการของปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา
สาเหตุของอาการตาล้า
ปัจจุบัน สาเหตุของอาการตาล้าที่พบได้มากที่สุดคือ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใหญ่ทุกคนใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างน้อยที่สุด 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งทำให้กะพริบตาน้อยกว่าปกติ และทำให้เกิดอาการตาแห้ง
นอกจากนี้ เมื่อคุณพยายามใช้สายตาในความมืด จะทำให้กล้ามเนื้อหนังตาและใบหน้าต้องบีบตัวแน่นมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว จนเกิดอาการปวดเพราะกล้ามเนื้อดวงตาทำงานหนักเกินไปจากการใช้งานกล้ามเนื้อดวงตา และอาจทำให้เกิดอาการตาล้าได้มากขึ้น
ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ หรือมีการมองเห็นไม่ชัด อาจมีอาการแย่ลงจากปัญหาเกี่ยวกับดวงตาที่เป็นอยู่ เช่น สายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง โดยผู้ที่มีปัญหาทางสายตาจำเป็นต้องใส่แว่นสายตาเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ หากใครนอนน้อย นอนไม่พอ มักต้องทำงานภายใต้แรงกดดัน หรือมีอาการเหนื่อยล้า อาจมีอาการสายตาล้าแย่ลง
อาการตาล้าเป็นอย่างไร
อาการสายตาล้ามีดังต่อไปนี้
- ระคายเคืองดวงตา
- ตาแห้ง
- ตาแฉะ
- มองเห็นไม่ชัด
- แพ้แสง
- ปวดตา
- ตาแดง
- สายตาเปลี่ยนแปลงมากขึ้น
หากมีปัญหาดังกล่าว ควรเข้ารับการทดสอบทางจักษุวิทยา หากพักผ่อนแล้วอาการตาล้ายังไม่หายไป หรืออาจเป็นอาการของโรคเกี่ยวกับดวงตาอื่นๆ จึงควรไปพบจักษุแพทย์ทันที หากอาการเหล่านี้คงอยู่เป็นเวลานาน และเกิดขึ้นบ่อยมากขึ้น
การป้องกันอาการตาล้า
โดยทั่วไปแล้ว อาการตาล้าไม่ใช่ปัญหาที่อันตราย การป้องกันสายตาล้าเป็นเรื่องง่าย คุณสามารถทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงนิสัยที่ทำให้เกิดสายตาล้า เช่น นั่งใกล้โทรทัศน์ ใช้เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ใช้โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ดิจิทัลอื่นๆ เป็นต้น
ควรจัดสรรเวลาทำงานและเวลาพักผ่อนให้เหมาะสม รับประทานอาหารเสริมที่มีวิตามินแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับดวงตา เช่น วิตามินเอ ลูทีน เบต้าแคโรทีน ที่สำคัญคือคุณต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ผู้ใหญ่ โดยเฉพาะวัยทำงาน ควรนอนวันละ 7-9 ชั่วโมง และเข้านอนก่อน 5 ทุ่ม เพื่อปกป้องไม่เฉพาะดวงตา แต่ยังปกป้องตับของคุณอีกด้วย
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด