ห่วงอนามัย (Intrauterine Device หรือ IUD) เป็นอุปกรณ์สำหรับคุมกำเนิดที่ใส่เข้าไปในมดลูก ซึ่งระยะเวลาการใช้งานอาจมีระยะเวลายาวนานประมาณ 3-10 ปี ขึ้นอยู่กับห่วงอนามัยแต่ละชนิด แต่หากตัดสินใจที่จะตั้งครรภ์ก็สามารถเข้าพบคุณหมอเพื่อถอดห่วงอนามัยได้ทุกเมื่อ อย่างไรก็ตาม ห่วงอนามัยไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้น จึงไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน หรือควรใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
[embed-health-tool-due-date]
ห่วงอนามัย ทำงานอย่างไร
ห่วงอนามัยทำงานโดยกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพราะเมื่อใส่ห่วงอนามัยเข้าไปในช่องคลอด ระบบภูมิคุ้มกันจะเริ่มกระบวนการปกป้องตัวเองเปรียบเสมือนว่าห่วงอนามัยเป็นผู้รุกราน ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบจึงซึ่งสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษต่ออสุจิ ทำให้อสุจิจึงไม่สามารถเข้าถึงท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิได้ จึงทำให้ไม่เกิดการตั้งครรภ์
ห่วงอนามัย มีกี่ประเภท
ห่วงอนามัยอาจมีหลายชนิด ซึ่งชนิดที่พบบ่อยอาจมี ดังนี้
- ห่วงอนามัยหุ้มทองแดง (Copper-Containing Intrauterine Device หรือ Intrauterine Coil) ทองแดงทำหน้าที่เป็นสารออกฤทธิ์ในการคุมกำเนิด ดังนั้น ห่วงอนามัยชนิดนี้อาจมีลักษณะเป็นเส้นลวดทองแดงพันรอบแกนห่วงอนามัย ซึ่งอาจช่วยสามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-10 ปี
- ห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน (Hormonal Intrauterine Device หรือ Intrauterine System) มีฮอร์โมนเลโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) เป็นสารออกฤทธิ์ในการคุมกำเนิด ซึ่งเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่เลียนแบบฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน (Progesterone) ทำหน้าที่เป็นสารออกฤทธิ์ในการคุมกำเนิด จึงอาจช่วยสามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-6 ปี ขึ้นอยู่กับยี่ห้อชนิดของห่วงอนามัยคุมกำเนิด
ผู้ที่ควรใช้และไม่ควรใช้ห่วงอนามัย
ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงส่วนใหญ่สามารถใช้ห่วงอนามัยได้ และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีคู่นอนเพียงคนเดียว เพราะมีความเสี่ยงต่ำที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เนื่องจากห่วงอนามัยไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้
อย่างไรก็ตาม ห่วงอนามัยอาจไม่เหมาะกับบางคน ดังนี้
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
- ผู้ที่ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
- ผู้ที่เป็นมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งมดลูก
- ผู้ที่มีเลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ผู้ที่มีอาการแพ้ท้องแดง อาจไม่เหมาะกับการใช้ห่วงอนามัยหุ้มทองแดง
- ผู้ที่เป็นโรคตับหรือมะเร็งเต้านมขั้นรุนแรง อาจไม่เหมาะกับการใช้ห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน
การตรวจตำแหน่งของห่วงอนามัย
ห่วงอนามัยเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ไม่สามารถใส่ได้ด้วยตัวเอง ต้องให้คุณหมอใส่ให้เท่านั้น เมื่อใส่เข้าไปในโพรงมดลูกแล้วจะมีปลายเส้นไนลอนยื่นออกมานอกปากมดลูกเข้าไปในช่องคลอด
ผู้ที่ใส่ห่วงอนามัยอาจจะสามารถตรวจสอบตำแหน่งของห่วงอนามัยได้ด้วยตัวเอง โดยใช้นิ้วที่ถนัด ตัดเล็บให้สั้นและล้างมือให้สะอาด จากนั้นใช้นิ้วที่ถนัดสอดเข้าไปในช่องคลอดว่ายังพบเส้นไนลอนอยู่ในลักษณะเดิมหรือไม่ หากไม่พบเส้นไนลอนหรือมีขนาดสั้นกว่าทุกครั้งที่ตรวจแสดงว่าห่วงอนามัยอาจมีการเคลื่อนที่ หรือหากเส้นไนลอนยาวกว่าปกติและมีส่วนห่วงยื่นออกมาในช่องคลอดด้วยบางส่วน แสดงว่าห่วงอนามัยอาจเสี่ยงต่อการหลุด ดังนั้น จึง
ควรเข้าพบคุณหมอตรวจเพื่อตรวจสอบและแก้ไขตำแหน่งของห่วงอนามัย โดยคุณหมออาจใช้วิธีอัลตราซาวน์อุ้งเชิงกรานหรือเอกซเรย์เพื่อหาตำแหน่งของห่วงอนามัย และทำการแก้ไขให้ห่วงอนามัยกลับตำแหน่งเดิม