ประจำเดือนถือเป็นเรื่องปกติของผู้หญิง แต่ผู้หญิงบางคนอาจประสบกับปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ มาช้า หรือประจำเดือนขาด ดังนั้นอาจต้องหาวิธี ทําไงให้ ประจําเดือน มาเร็วๆ ที่อาจทำได้ด้วยการออกกำลังกาย ผ่อนคลายความเครียด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อย่างไรก็ตาม หากสังเกตว่าประจำเดือนมาช้าผิดปกติ หรือประจำเดือนขาด ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดและทำการรักษาอย่างเหมาะสม
[embed-health-tool-ovulation]
สาเหตุที่ประจำเดือนมาช้า
โดยปกติแล้ว รอบประจำเดือนจะอยู่ที่ 21-35 วัน แต่ผู้หญิงบางคนอาจเจอปัญหาประจำเดือนไม่มาตามปกติ หรือที่เรียกว่า ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) ซึ่งหากเป็นผู้หญิงที่อายุเกิน 15 ปีแล้ว แต่ประจำเดือนครั้งแรกยังไม่มา หรือผู้หญิงที่ประจำเดือนไม่มาเกิน 3 เดือนติดต่อกัน จะถือว่ามีภาวะขาดประจำเดือน ทำให้หลายคนอาจสงสัยว่าควร ทําไงให้ ประจําเดือน มาเร็วๆ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาช้า หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจเกิดจากสาเหตุ ดังนี้
- ความเครียด
- น้ำหนักตัวน้อยเกินไป หรือมากเกินไป
- มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome หรือ PCOS)
- การคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน
- มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคเซลิแอค (Celiac Disease)
- ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
- เข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน (Menopause)
- ตั้งครรภ์
ทําไงให้ ประจําเดือน มาเร็วๆ
หากประจำเดือนมาช้า หรือมีความจำเป็นต้องเร่งประจำเดือนให้มาเร็วกว่าปกติ จะทำยังไงให้เมนส์มาได้บ้าง ลองมาดูวิธีดังต่อไปนี้
วิตามินซี
บางคนเชื่อว่าวิตามินซี หรือกรดแอสคอร์บิก อาจทำให้ประจำเดือนมา เนื่องจากวิตามินซีจะเพิ่มช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจน และยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งจะส่งผลให้มดลูกหดรัดตัว ผนังมดลูกบางลง โดยสามารถเพิ่มวิตามินซีได้ด้วยการรับประทนผักผลไม้ เช่น ผลไม้รสเปรี้ยวอย่างส้ม มะนาว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ บร็อคโคลี่ ปวยเล้ง ฝรั่ง มะเขือเทศ พริกหยวกเขียว พริกหยวกแดง หรือหากรับประทานวิตามินซีในรูปแบบอาหารเสริมก็อย่ารับประทานมากเกินไป เพราะอาจเป็นอันตรายได้
กินสับปะรด
สัปปะรดมีโบรมีเลน (Bromelain) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เชื่อว่าส่งผลต่อฮอร์โมนต่าง ๆ รวมถึงเอสโตรเจนด้วย โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งเผยว่า โบรมีเลนอาจช่วยลดการอักเสบ จึงอาจช่วยแก้ปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติเนื่องจากการอักเสบได้
กินพาร์สลีย์
อีกหนึ่งอย่างที่จะทำยังไงให้เมนส์มา ก็คือ การกินพาร์สลีย์ (Parsley) ซึ่งป็นสมุนไพรที่นิยมใช้ในเมนูอาหารตะวันตก ลักษณะคล้ายผักชีแต่ใบหยิกกว่า พาร์สลีย์อุดมไปด้วยวิตามินซี และเอพิออล (Apiol) ซึ่งอาจมีส่วนช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก โดยอาจเอาใบพาร์สลีย์ (Parsley) มาทำเป็นน้ำชาดื่ม โดยนำใบพาร์สลีย์สด 2-3 ช้อนโต๊ะผสมน้ำร้อน แล้วทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีค่อยดื่ม
แม้พาร์สลีย์อาจทำให้เมนส์มา แต่การได้รับเอพิออลมากเกินไปอาจเป็นพิษได้ โดยเฉพาะในผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้หญิงในระยะให้นม หรือผู้หญิงที่ไตมีปัญหา จึงควรบริโภคอย่างระมัดระวัง
ผ่อนคลายบ้าง
บางครั้งปัญหาประจำเดือนมาช้า หรือประจำเดือนขาด อาจเป็นผลมาจากความเครียด เพราะเมื่อเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนบางชนิด เช่น คอร์ติซอล (Cortisol) อะดรีนาลีน (Adrenaline) ออกมามาก ฮอร์โมนเหล่านี้จะไปยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่ช่วยให้รอบเดือนเป็นปกติ
ดังนั้น วิธีที่จะทำยังไงให้เมนส์มาอาจทำได้ด้วยการหาเวลาพักผ่อน หรือคลายเครียด ด้วยการออกกำลังกาย เล่นโยคะ ใช้เวลากับเพื่อนหรือครอบครัว ทำงานให้น้อยลง ทำงานอดิเรก ฝึกสมาธิ หรือทำกิจกรรมคลายเครียดในแบบที่ตนเองชอบ หรือหากเครียดมากจนวิธีดังกล่าวไม่ช่วยให้หายเครียดได้ ก็อาจต้องปรึกษาคุณหมอ และอาจต้องกินยาคลายเครียด
ประคบร้อน หรืออาบน้ำอุ่น
การอาบน้ำอุ่น หรือประคบร้อนบริเวณหน้าท้อง จะช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึงตัว และช่วยผ่อนคลายความเครียดทางอารมณ์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ ความร้อนไม่เพียงแต่จะช่วยให้ผ่อนคลาย แต่ยังอาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และค่อย ๆ ช่วยเร่งให้ประจำเดือนมาได้
มีเซ็กส์
ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่า กิจกรรมทางเพศช่วยกระตุ้นให้ประจำเดือนมาได้ การถึงจุดสุดยอด หรือออกัสซั่ม (Orgasm) ไม่ว่าจะมีการสอดใส่หรือไม่มีก็ตาม จะทำให้ปากมดลูกขยายตัว และอาจช่วยให้เลือดประจำเดือนหลั่งออกมาได้ นอกจากนี้ การมีเซ็กส์แบบพอดี ยังช่วยคลายเครียด และช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนทั้งสิ้น
ออกกำลังกายให้น้อยลง
หากชอบออกกำลังกายหนัก อาจต้องเพลาการออกกำลังกายลง เนื่องจากการออกกำลังกายหนักเกินไป จะทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง จนประจำเดือนผิดปกติ มาช้า หรือประจำเดือนไม่มาได้
ใช้ยาคุมกำเนิด
หากมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติเรื้อรัง วิธีเร่งประจำเดือนที่กล่าวมา อาจไม่ได้ผล และอาจต้องใช้การคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน เพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย และทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
อย่างไรก็ดี การเร่งประจำเดือนด้วยการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมนอาจมีผลข้างเคียง ฉะนั้นจึงควรปรึกษาคุณหมอก่อนตัดสินใจใช้วิธีเร่งประจำเดือนวิธีนี้
ลดน้ำหนัก
น้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงสามารถส่งผลกระทบต่อการมีประจำเดือนได้ หากน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ก็อาจทำให้ร่างกายขาดไขมันซึ่งจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน จึงส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ และบางคนถึงขั้นประจำเดือนไม่มาเลยก็มี ไม่ใช่แค่น้ำหนักน้อย คนที่น้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือเป็นโรคอ้วนก็สามารถส่งผลต่อฮอร์โมนและการมีประจำเดือนได้เช่นกัน
ควรควบคุมน้ำหนักในอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี กินอาหารที่มีประโยชน์ อย่าควบคุมอาหาร หรือออกกำลังกายจนเกินพอดี เพื่อให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
ความเสี่ยงของการเร่งประจำเดือนที่ควรรู้
วิธีทำยังไงให้เมนส์มา อาจเป็นวิธีที่ปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายต่อผู้หญิงในวัยผู้ใหญ่ที่สุขภาพดี แต่หากมีอาการแพ้อาหาร แพ้ยา หรือสมุนไพรบางชนิด ก็ต้องระวังหรือหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้น ๆ แม้จะช่วยทำให้เมนส์มาก็ตาม แล้วหันไปใช้วิธีเร่งประจำเดือนวิธีอื่นที่ปลอดภัยกว่าแทน โดยอาจทำได้ด้วยการรับประทายสมุนไพร หรืออาหารเสริมที่ช่วยเร่งประจำ ทั้งนี้ควรปรึกษาคุณหมอก่อนรับประทานยาต่าง ๆ
การคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมนก็อาจไม่เหมาะสำหรับบางคน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด โรคหลอดเลือดสมอง หรือหัวใจวายได้ และผู้ที่สูบบุหรี่ หรืออายุเกิน 35 ปี ก็อาจความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจากยาคุมกำเนิดมากกว่า ฉะนั้น ก่อนจะหาวิธีทำยังไงให้เมนส์มา ควรปรึกษาคุณหมอ และทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด
นอกจากนี้ หากสงสัยว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ หรือมีข้อสงสัยว่า ทําไงให้ ประจําเดือน มาเร็วๆ ก็ควรปรึกษาคุณหมอก่อน โดยเฉพาะหากจะเร่งประจำเดือนด้วยยาคุมกำเนิด หรือยาขับประจำเดือน ที่นิยมเรียกกันว่า ยาสตรี เพราะอาจทำให้แท้งลูกได้
ประจำเดือนมีปัญหาแบบนี้ ควรไปพบคุณหมอ
ปัญหาประจำเดือนไม่มา หรือประจำเดือนผิดปกติ อาจเป็นผลจากสภาวะโรคบางประการ ดังนั้น หากมีอาการหรือภาวะเกี่ยวกับประจำเดือนดังต่อไปนี้ อย่านิ่งนอนใจ ควรไปพบคุณหมอ
- สงสัยว่าอาจตั้งครรภ์
- ประจำเดือนไม่มา 3 เดือนติดต่อกัน
- หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี
- อายุเกิน 55 ปีแล้วยังมีประจำเดือน
- เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
- ประจำเดือนเปลี่ยนแปลงฉับพลัน เช่น ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือไม่แน่นอน
- มีภาวะเลือดออกหลังวัยหมดระดู (Postmenopausal Bleeding) คือ มีเลือดออกติดต่อกันนานกว่า 12 เดือนหลังเข้าสู่วัยทอง
- เลือดออกขณะเข้ารับการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy)